ทำไมกุ้งโดนความร้อนแล้วตัวสีแดง


ทำไมกุ้งโดนความร้อนแล้วตัวสีแดง

ทำไมกุ้งโดนความร้อนแล้วตัวสีแดง?~~~

ในเปลือกกุ้งหรือกระดองของสัตว์พวกเดคาพอด (decapod เช่น กุ้ง ปู) จะมีโปรตีนชื่ออัลฟา-ครัสตาไซยานิน (α-crustacyanin) เป็นส่วนประกอบ ภายในโมเลกุลนี้จะมีรงควัตถุสีแดงชื่อแอสตาแซนธิน (astaxanthin) อยู่ภายใน แอสตาแซนตินเป็นรงควัตถุในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับรงวัตถุชื่อแคโรทีนที่เราพบในแครอท การเกาะกันระหว่างโปรตีนและรงควัตถุนี้ทำให้เป็นโปรตีนเชิงซ้อน (carotenoprotein) จะทำให้ค่าการดูดกลืนแสงสูงขึ้นอยู่ในช่วงแสงสีเขียว-ม่วงในสัตว์ทะเล นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงเห็นกุ้งหรือปูมีสีเขียวน้ำเงินหรือสีน้ำตาล การที่สัตว์เหล่านี้มีสีเช่นนี้ก็เพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและลดความเสี่ยงในการถูกจับกิน และการมีแอสตาแซนธินจะมีผลต่อการเจริญของสัตว์นั้นๆ อีกด้วย
นอกจากเปลือกกุ้ง (โดยเฉพาะลอบสเตอร์) มีอัลฟา-ครัสโตไซยานินแล้ว ชั้นนอกสุดของเปลือกยังมีโปรตีนที่ให้สีเหลืองที่ชื่อว่าครัสโตคริน (crustochrin) และในไข่กุ้งลอบสเตอร์ที่มีสีเขียวเกิดมาจากโปรตีน (lipoglycoprotein) ชื่อว่าโอโวเวอร์ดิน (ovoverdin)
เมื่อโดนกับความร้อน โปรตีนเชิงซ้อนนี้จะเกิดการเสียสภาพธรรมชาติ (denature)
ทำให้แอสตาแซนตินที่อยู่ภายในวิ่งออกมาข้างนอกและเปลี่ยนเป็นสีแดงตามปกติของมัน นี่แสดงให้เห็นว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่โปรตีนเสียสภาพ เราจะเห็น เปลือกกุ้ง มีสีแดง นี่เป็นเหตุผลเดียวกับการบีบมะนาวลงในกุ้งเต้น หลายคนคิดว่าการบีบมะนาวลงไปและทำให้กุ้งมีแดงนั้นหมายถึงว่ากุ้งมันสุกแล้ว ที่จริงมันยังไม่สุกเปลือกมันแค่แดงเฉยๆ สรุปก็คือปัจจัยที่ทำให้โปรตีนเกิดการเสียสภาพธรรมชาติไปคือ อุณหภูมิสูงและความเป็นกรด-ด่างที่สูงหรือต่ำเกินไป
เรายังสามารถพบรงควัตถุแอสตาแซนธินได้ในเนื้อสีแดงสวยของปลาแซลมอนและขนสีชมพูในนกฟลามิงโกอีกด้วยครับ สัตว์เหล่านี้ไม่สร้างมันขึ้นมาเองหรอก แต่มันได้รับมาจากสาหร่ายและแพลงค์ตอนนั่นเอง

ทำไมกุ้งโดนความร้อนแล้วตัวสีแดง?~~~


ในเปลือกกุ้งหรือกระดองของสัตว์พวกเดคาพอด (decapod เช่น กุ้ง ปู) จะมีโปรตีนชื่ออัลฟา-ครัสตาไซยานิน (α-crustacyanin) เป็นส่วนประกอบ ภายในโมเลกุลนี้จะมีรงควัตถุสีแดงชื่อแอสตาแซนธิน (astaxanthin) อยู่ภายใน แอสตาแซนตินเป็นรงควัตถุในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับรงวัตถุชื่อแคโรทีนที่เราพบในแครอท การเกาะกันระหว่างโปรตีนและรงควัตถุนี้ทำให้เป็นโปรตีนเชิงซ้อน (carotenoprotein) จะทำให้ค่าการดูดกลืนแสงสูงขึ้นอยู่ในช่วงแสงสีเขียว-ม่วงในสัตว์ทะเล นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราถึงเห็นกุ้งหรือปูมีสีเขียวน้ำเงินหรือสีน้ำตาล การที่สัตว์เหล่านี้มีสีเช่นนี้ก็เพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและลดความเสี่ยงในการถูกจับกิน และการมีแอสตาแซนธินจะมีผลต่อการเจริญของสัตว์นั้นๆ อีกด้วย
นอกจากเปลือกกุ้ง (โดยเฉพาะลอบสเตอร์) มีอัลฟา-ครัสโตไซยานินแล้ว ชั้นนอกสุดของเปลือกยังมีโปรตีนที่ให้สีเหลืองที่ชื่อว่าครัสโตคริน (crustochrin) และในไข่กุ้งลอบสเตอร์ที่มีสีเขียวเกิดมาจากโปรตีน (lipoglycoprotein) ชื่อว่าโอโวเวอร์ดิน (ovoverdin)
เมื่อโดนกับความร้อน โปรตีนเชิงซ้อนนี้จะเกิดการเสียสภาพธรรมชาติ (denature)
ทำให้แอสตาแซนตินที่อยู่ภายในวิ่งออกมาข้างนอกและเปลี่ยนเป็นสีแดงตามปกติของมัน นี่แสดงให้เห็นว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่โปรตีนเสียสภาพ เราจะเห็น เปลือกกุ้ง มีสีแดง นี่เป็นเหตุผลเดียวกับการบีบมะนาวลงในกุ้งเต้น หลายคนคิดว่าการบีบมะนาวลงไปและทำให้กุ้งมีแดงนั้นหมายถึงว่ากุ้งมันสุกแล้ว ที่จริงมันยังไม่สุกเปลือกมันแค่แดงเฉยๆ สรุปก็คือปัจจัยที่ทำให้โปรตีนเกิดการเสียสภาพธรรมชาติไปคือ อุณหภูมิสูงและความเป็นกรด-ด่างที่สูงหรือต่ำเกินไป
เรายังสามารถพบรงควัตถุแอสตาแซนธินได้ในเนื้อสีแดงสวยของปลาแซลมอนและขนสีชมพูในนกฟลามิงโกอีกด้วยครับ สัตว์เหล่านี้ไม่สร้างมันขึ้นมาเองหรอก แต่มันได้รับมาจากสาหร่ายและแพลงค์ตอนนั่นเอง

ขอขอบคุณจาก : teenee.com

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 467095เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2011 16:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท