jenasheta
นาง สุจิตรา สุ จันทรัตน์

โภชนาการบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง


โภชนาการบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

ย่อความเรื่อง   โภชนาการบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

ผู้แต่ง                ชนิดา    ปโชติการ

หนังสือ            หญิงไทย

                      โภชนาการบำบัดมีความสำคัญต่อการเสริมประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง  ซึ่งขณะป่วย  สารอนุมูลอิสระ

ต่างๆ ที่อยู่ในร่างกายจะแย่งอาหารที่รับประทานเข้าไป  และทำให้ได้รับสารไม่เพียงพอ  ผู้ป่วยจึงต้องเตรียมพร้อมในการป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายโดยการรับประทานอาหารที่ให้โปรตีน  และพลังงานสูง  เพื่อช่วยต้านสารอนุมูลอิสระ

โดยเฉพาะอาหารสร้างภูมคุ้มกันจะช่วยทำลายอนุมูลอิสระชะลอการขยายตัวของเซลมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร

                       ทั้งนี้เซลมะเร็งส่วนใหญ่มาจากสารเคมีต่างๆเช่น ไนโตรซามีน พบมากในเนื้อสัตว์ ยาฆ่าแมลง สารพวกนี้มีโอกาสก่อให้เกิดเนื้องอก และมะเร็งที่หลอดอาหาร สารไฮโดรคาร์บอน พบมากในอาหารรมควันมักก่อให้เกิดมะเร็งช่องปาก

                       รักษาโดยการผ่าตัด ให้ยาเคมีบำบัด ใช้รังสีรักษา ทั้งหมดมีโอกาสทำลายเซลมะเร็งและเซลปกติ  ที่อยู่ใกล้ๆ

เซลมะเร็ง  เช่น เนื้องอก หรือมะเร็งที่หลอดอาหาร  การผ่าตัดบริเวณหลอดอาหาร  และส่วนของเนื้องอกเอง จะส่งผลถึง

ประสิทธิภาพการทำงาน  การย่อยและการดูดซึมอาหารได้

อาหารต้านอนุมูลอิสระ  พบมากในผัก   5  สี

  1. วิตามิน อี  พบมากในมะม่วงเขียวเสวย  ทั้งสุกและดิบ
  2. ซิลิเนียม   พบมากในกระเทียม และบล็อกโคลี
  3. ฟลาโวนอยด์  พบมากในองุ่นดำ  มะละกอ และพริกหวานแดง
  4. สารไฟโตรเอสโตรเจน พบมากในเต้าหู้  น้ำนมถั่วเหลือง

อาหารสร้างภูมิคุ้มกัน  พบมากในกลุ่มอาหารเหล่านี้

  1. น้ำมันปลา  ควรรับประทานปริมาณ 0.3 กรัมต่อวัน หรือปริมาณที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์เพราะถ้ารับประทานมากอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า เมื่อมีแผลจะทำให้หยุดยาก
  2. วิตามินบี 6 กรดโฟลิก วิตามินซี  วิตามินอี
  3. กลูตามีน เป็นโปรตีนที่มีความสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็ง

คำแนะนำในการรับประทานอาหารสำหรับผุ้ป่วยมะเร็ง

  1. การเตรียมอาหารต้องสะอาด
  2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่  ทุกมื้อ
  3. รับประทานอาหารเหลว  หรืออาหารอ่อนจะช่วยให้ย่อยง่าย
  4. แบ่งอาหารให้เป็นหลายมื้อ และแต่ละมื้อปริมาณน้อยลง
  5. งดอาหารหมักดอง หรือ อาหารสำเร็จรูป
  6. งด  ชา กาแฟ  เพราะจะทำให้ผู้ป่วยรับรสได้ไม่ดี
  7. หลีกเลี่ยงเนื้อแดง
  8. ควรงดไขมัน และแอลกอฮอล์ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม และงดสูบบุหรี่ในผู้ป่วยมะเร็งปอด
  9. ผู้ป่วยที่ต้องให้ยาเคมีบำบัด จะมีผลข้างเคียง อาการคลื่นไส้อาเจียน แสบคอ แนะนำให้ จิบอาหารเหลวบ่อยๆ
  10. ถ้ามีท้องผูก แนะนำให้ทานผัก  ผลไม้ ซึ่งเป็นอาหารที่มีกากใยสูง เช่น กล้วยหอม  ฝรั่ง  ผักคะน้า  บล็อกโคลี

นอกจากนี้ผู้ป่วยมะเร็ง  ควรให้ความสำคัญกับสภาวะจิตใจ  โดยลดความกังวลเกี่ยวกับโรค    และการ

เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น  การเตรียมตัวและจิตใจให้พร้อมควบคู่ไปกับโภชนาการการบำบัดจะส่งผลให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 466171เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2011 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท