ต่อเรือใช้เองช่วยน้ำท่วม


รับมือน้ำท่วมด้วยการทำเรือใช้เอง

ในยามที่น้ำเอ่อท่วมล้น จนไม่สามารถใช้รถยนต์ในการเดินทางได้ 'เรือ' จึงกลายเป็นพาหนะซึ่งเข้ามาแทนที่ เพราะเป็นของคู่กับน้ำ วันนี้คอลัมน์เกร็ดความรู้ ขอเสนอวิธีทำเรือ ไอเดียดีๆจากผู้อ่านเดลินิวส์ เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ประสบอุทกภัยได้ต่อเรือไว้ใช้ ไม่ต้องง้อเรือแพงๆ หรือค่าจ้างรับ-ส่งขูดเลือดแนวคิดการต่อเรือนี้ ผู้อ่านทางบ้านซึ่งไม่ประสงค์ออกนามบอกว่า ประยุกต์มาจากทุ่นลอยน้ำที่เคยเห็น โดยแนะนำให้ใช้วัสดุในการต่อเรือ ประกอบด้วย ท่อพีวีซีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว ความยาว 3เมตร จำนวน 2-4 ท่อ ไม้กระดานหรือบานประตูที่น้ำหนักเบา กาวทาท่อพีวีซี และน็อตขั้นตอนในการต่อเรือนั้นไม่ยาก ให้ขันน็อตเพื่อยึดท่อพีวีซีให้ติดกับไม้กระดานหรือบานประตู ทากาวปิดปากท่อด้วยฝาปิดท่อพีวีซีป้องกันน้ำเข้าท่อ (เพื่อความเข้าใจ ดูภาพประกอบ)ทั้งนี้ สามารถขยายขนาดความยาวของท่อและแผ่นไม้ได้ อีกทั้งยังสามารถติดเครื่องยนต์แบบเรือหางยาว เพิ่มความเร็วและทุ่นแรงแทนการแจวเรือด้วยไม้พายก็ย่อมได้.

ขอขอบคุณ ทีมเดลินิวส์ออนไลน์  http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=goirish2011&month=21-10-2011&group=2&gblog=58

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 466077เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2011 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มกราคม 2014 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เยี่ยมครับ

ใช้งานได้แน่

พัฒนาต่อได้อย่างไรบ้างครับ

Thank you for the poly pipe raft "plan".

One question: "ขันน็อต" by putting studs (and nuts) through the pipe to fix the board to the pipes, would we not make holes in pipes and reduce their floating ability (buoyancy)? Furthermore, poly pipes are not strong enough to take the strains (twists and shears), one sudden movement of the raft under load may crack or break the pipes.

Perhaps tying the board to the pipes with "ropes" may help.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท