ประชานิยมในละตินอเมริกา(The Populism of Latin America)


  ประชานิยมที่ใช้คำว่า (Populism) ปรากฏครั้งแรกในปลายศตวรรษที่ 19 เป็นคำที่ใช้เรียกขานพรรคการเมืองและขบวนการเคลื่อนไหวของเกษตรกรในแถบ มิดเวสต์ (Midwest) ตอนกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา มีการก่อตั้งพรรคประชาชน (People Party) ขึ้นในปี ค.ศ. 1892 และเรียกคนของพรรคนี้หรือคนนิยมพรรคนี้ว่า Populists หรือ พวกประชานิยม พวกนี้มีนโยบายมุ่งเน้นช่วยเหลือเกษตรกรและเชื่อว่า เกษตรกรที่เป็น “อิสระชน” จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยเข้มแข็ง พวกประชานิยมนี้มองว่า การเมืองถูกครอบงำโดยพรรคของกลุ่มทุนไม่ว่าจะเป็นพรรคแดโมแครตหรือพรรคริพับริกัน ประชาชนจึงควรมีทางเลือกที่สาม พรรคที่ให้ความสำคัญกับภาคชนบทและเกษตรกร

           โดยระบบประชานิยมนั้นเป็นผลกระทบที่สำคัญมากต่อประวัติศาสตร์ทางการเมืองของละ ตินอเมริกา ปรากฏออกมาครั้งแรกช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 มักจะปรากฎต่อนักการเมืองที่มีบทบาทต่อสังคม(Charismatic)1 โดยนักประชานิยม จะเป็นคนที่มีบุคลิกโดดเด่น พอที่จะสร้างศรัทธาต่อประชาชนได้ เช่น ความสามารถในการพูด เป็นผู้ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรม ซื่อสัตย์ (devotion) ชอบที่จะช่วยเหลือผู้ที่ยากจน ยากไร้ อีกทั้งคนเหล่านี้ต้องมีจิตใจที่แน่วแน่ในการแก้ไขปัญหาต่างๆของบ้านเมือง ซึ่งมีผลอย่างมากต่อความสำเร็จในการดำรงตำแหน่งผู้นำทางการเมือง ซึ่งการเมืองละติน อเมริกาขณะนั้น ผู้มีอิทธิพลของพวกชนชั้นกสิกรรม ได้ถูกรุกไล่ หรือ รังแกจากกลุ่มชนชั้นนายทุนภาคอุตสาหกรรมตลอดเวลา ซึ่งการเกิดขึ้นของกลุ่มทั้งสองกลุ่มนี้เองก็เป็นที่มาของความขัดแย้งและ เป็นที่มาของกลุ่มหัวรุนแรง (radial) ทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวา (Left wing & Right wing Politics) และกลุ่มชนชั้นต่างๆที่เป็นพวกสังคมนิยม และพวกชาตินิยม

            โดยตัวอย่างกลุ่มการเมืองที่สำคัญๆ2 ซึ่งมีบทบาทต่อการพัฒนาการด้านการเมืองของละตินอเมริกาได้แก่ กลุ่มอาพริสโม้ (Apirsmo) แห่งเปรู, กลุ่ม (MNR-Movimiento Nacionalista Revolucionario) หรือกลุ่มองค์การเพื่อการปฏิวัติชาติ แห่งโบลิเวีย และนักการเมืองที่เคลื่อนไหวจนกระทั่งมีอำนาจขึ้นมา (gravitation) ได้แก่ จาตูลิโอ วากัส (Getulio Vagas) แห่งบราซิล, ฮวน โดมิงโก้เปรอง (Juan Domingo Perón) แห่งอาเจนติน่า, ราซาโร่ คาร์เดนัส (Lázaro Cárdenas) แห่งเม็กซิโก เป็นต้น

ลัทธิ แห่งประชานิยมในละตินอเมริกานั้น กับการเน้นความสำคัญต่อการพัฒนาชาติ ภายใต้อำนาจผู้นำซึ่งเป็นรากฐานต่อการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัยใน ปัจจุบัน ซึ่งนักการเมืองประชานิยมจะมีความแตกต่างกับนักการเมืองหัวเก่า (Conservative)3 ซึ่งชอบดูถูกคนชั้นต่ำของสังคมมาก นั่นก็คือ ให้ความสำคัญต่อรากหญ้า คนยากคนจนในสังคม ก็คือคนส่วนใหญ่ของประเทศ และมักจะเป็นที่พอใจต่อคนส่วนใหญ่ จึงได้ชื่อว่าเป็น พรรคขวัญใจมวลชนแต่ สิ่งเหล่านี้ก็เป็นการทำลายกระบวนการทางการเมืองเดิมๆของประเทศ เช่นกับกลุ่ม    โพสิตีวิส (Positivism) อย่างออกัส คัมท์ (August Comte) ซึ่งเป็นโพสิตีวิสที่มีบทบาทมากในขณะนั้น

ประชา นิยมต้องมีความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างกลุ่มชนชั้นนายทุน กับกลุ่มแรงงานซึ่งที่ผ่านมายอมรับการปฏิรูปทางสังคมโดยทั้งสองกลุ่มนี้มี สิทธิ์ที่จะได้รับผลประโยชน์ แต่ทว่ากลุ่มที่ด้อยสิทธิทางการเมืองมากที่สุดก็คือกลุ่มที่ใช้แรงงาน ซึ่งแน่นอนว่าก็อาจจะมีมากหรือน้อยทั้งในด้านภาครัฐและภาคเอกชนก็ได้

 

ฮิโปลิโต อิริโกเยน (Hipólito Yrigoyen)4 นักการเมืองในละตินอเมริกาที่นำแนวความคิดประชานิยมมาใช้เป็นครั้งแรกตัว เข้าเกิดที่เมืองบัวเอโนสไอเรส ประเทศอาเจนติน่า (Buenos Aires, Argentina) โดยเขานั้นมีฉายาว่า “เจ้าพ่อแห่งความจน” (the father of the poor) ตัวเขาแรกเริ่มมีอาชีพเป็นผู้ใช้แรงงานธรรมดาคนหนึ่ง ซึ่งมีแนวคิดที่ต้องการปฏิรูปสังคมให้ก้าวหน้า รวมทั้งการปรับปรุงสภาพโรงงานอุตสาหกรรม ข้าราชการประจำ ลูกจ้างรายชั่วโมง อีกทั้งยังต้องการปฏิรูปการศึกษาอีกด้วย

                หลังจากนั้นเขาก็เริ่มมีบาทบาททางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั้งเขาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี ขึ้นดำรงตำแหน่งถึงสองวาระคือครั้งแรกในปี ค.ศ.1916 ครั้งที่สอง ในปีค.ศ.1928 โดยในช่วงของการดำรงตำแหน่งของเขานั้น บ้านเมืองยังคงมีความไม่สงบ ลักษณะการเมืองยังถูกควบคุมโดยฝ่ายตรงข้าม วุฒิสภาได้รับการแต่งตั้งโดยสภานิติบัญญัติ(legislatures)ของแต่ละจังหวัด และด้วยเหตุนี้เองเขาจึงต้องอาศัยการแทรกแซงรัฐบาลกลางจากหลายจังหวัดโดยการ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยประกาศกำจัดข้าราชการหัวเก่าๆออก รวมทั้งผู้ที่ผูกขาดที่ดินทำกินของประชาชนซึ่งเป็นระบอบทุนเก่า จนหมดไป

กล่าวโดยสรุปก็คือ

แนว ความคิดประชานิยมเริ่มนำมาใช้กันเป็นครั้งแรกในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 และได้ขยายตัวไปทั่วละตินอเมริกา เป็นที่แพร่หลายขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนที่จะถูกทหารยกเลิกไปในปี 1960

ประชานิยมรุ่นแรกเกิดก่อนปี 1930 เรียกว่า ประชานิยมรุ่นแรก มีแนวคิดดังนี้คือ

1. ให้สิทธิทางการเมืองแก่ผู้ด้อยโอกาส ได้แก่ สตรี เด็ก คนชรา ผู้ทุพพลภาพ

2.ผู้นำมีแนวความคิดแบบชาตินิยม ก็คือ มีความรักและหวงแหนในความเป็นชาติ

3.ยอมรับสิทธิอันชอบธรรมของผู้ใช้แรงงานภาคอุตสาหกรรม กรรมมาชีพ คนยากคนจนตามชนบท หรือ ผู้ใช้แรงงานระดับรากหญ้า 

ส่วนประชานิยมยุคต่อมาก็คือ เริ่มขึ้นในปลายทศวรรษ 1930 มีแนวคิดคือ

1.เน้นการแก้ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ การขยายตัวของชนบทสู่เมือง การขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม

2.จากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมก็ทำให้จำนวนผู้ใช้แรงงานมีมากขึ้้น จึงมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานขึ้นมา

3.นักวิชาการ นักคิด นักเขียน แนวความคิดแบบเสรีนิยมเกิดขึ้นอย่างมาก เรียกได้ว่าเป็นพวกหัวใหม่

4.นักการเมือง(ประชานิยม) เริ่มที่จะเสนอผลประโยชน์ให้แก่คนรุ่นใหม่ ด้วยการ

 4.1 การจัดหางาน สร้างอาชีพ ให้สิทธิเสรีภาพทางความรู้ความสามารถ

 4.2 การกระจายผลประโยชน์(ที่ดิน,แรงงาน)จากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ๆ

โดย สรุป นักการเมืองประชานิยม เน้นที่รัฐสวัสดิการ โดยให้รัฐเป็นผู้นำการปฏิรูปทางด้านเศรษฐกินและสังคม รวมทั้ง การนำแนวคิดของกลุ่มสังคมนิยมและพวกเสรีนิยมหัวรุนแรง หรือพวกซ้ายจัดมาเป็นแนวทาง

เชิงอรรถ

1.Guillermo A. O'Donnell, Bureaucratic authoritarianism: Argentina, 1966-1973, in comparative perspective. Bekeley: (University of California Press, 1988), pp. 9-10

2.Ibid., pp. 10-11

3.John D. French, The Brazilian workers' ABC: class conflict and alliances in modern São Paulo. (University of North Carolina Press, 1992), p. 4

4.David.ROCK, Argentina, 1516-1987 ,Buenos Aires: Alianza, 1988, p.129

ที่มาของภาพ

1.http://en.wikipedia.org/wiki/Hipólito_Yrigoyen

หมายเลขบันทึก: 465733เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2011 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท