ผู้อารักขา..ที่ดี


ผู้อารักขา คือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลหรือรับผิดชอบสิ่งต่าง ๆ

'มีเจ้านายองค์หนึ่งไปเมืองไกล เพื่อจะรับอำนาจมาครองแผ่นดิน แล้วจะกลับมา ท่านจึงเรียกทาสสิบคนมามอบเงินไว้แก่เขาสิบมินา สั่งว่า 'จงเอาไปค้าขายจนเราจะกลับมา' เมื่อท่านได้รับอำนาจครองแผ่นดินกลับมาแล้ว ท่านจึงเรียกทาสทั้งหลาย ที่ท่านได้ให้เงินไว้นั้นมา เพื่อจะได้รู้ว่า เขาทุกคนได้กำไรกี่มากน้อย

  ฝ่ายคนแรกมาทูลว่า 'พระเจ้าข้า เงินมินาหนึ่งของพระองค์ ได้กำไรสิบมินา' พระองค์จึงตรัสกับเขาว่า 'ดีแล้ว เจ้าเป็นทาสที่ดี เพราะเจ้าสัตย์ซื่อในของเล็กน้อย เจ้าจงมีอำนาจครอบครองสิบเมืองเถิด'
  คนที่สองมาทูลว่า 'พระเจ้าข้า เงินมินาหนึ่งของพระองค์ ได้กำไรห้ามินา' พระองค์จึงตรัสกับเขาเหมือนกันว่า 'เจ้าจงครอบครองห้าเมืองเถิด'
  อีกคนหนึ่งมาทูลว่า 'พระเจ้าข้า นี่เงินมินาหนึ่งของพระองค์ ข้าพระบาทได้เอาผ้าห่อเก็บไว้ เพราะข้าพระบาทกลัวฝ่าพระบาท ด้วยว่าฝ่าพระบาทเป็นคนเข้มงวด ฝ่าพระบาทเก็บผลซึ่งฝ่าพระบาท มิได้ลงแรง และเกี่ยวที่ฝ่าพระบาทมิได้หว่าน' พระองค์จึงตรัสตอบเขาว่า 'อ้ายข้าชั่วช้า เราจะปรับโทษเจ้าโดยคำของเจ้าเอง เจ้าก็รู้หรือว่า เราเป็นคนเข้มงวด เก็บผลซึ่งเรามิได้ลงแรง และเกี่ยวที่เรามิได้หว่าน ก็เหตุไฉน เจ้ามิได้ฝากเงินของเราไว้ที่ธนาคารเล่า เมื่อเรามา จะได้รับเงินของเรา กับดอกเบี้ยด้วย'
แล้วพระองค์ตรัสสั่งคนที่ยืนอยู่ที่นั่นว่า 'จงเอาเงินมินาหนึ่งนั้นไปจากเขา ให้แก่คนที่มีสิบมินา' คนเหล่านั้นทูลว่า 'พระเจ้าข้า เขามีสิบมินาแล้ว'
'เราบอกเจ้าทั้งหลายว่า ทุกคนที่มีอยู่แล้ว จะเพิ่มเติมให้เขาอีก แต่ผู้ที่ไม่มี แม้ว่าซึ่งเขามีอยู่นั้น จะต้องเอาไปจากเขา'

ดังนั้น ไม่ว่าเราได้รับสิ่งใดมาให้เราดูแลหรือต้องรับผิดชอบ เราต้องอารักขาหรือดูแลเป็นอย่างดี เสมือนหนึ่งว่าสิ่งนั้นเป็นของเราเอง เพราะเมื่อเจ้านายให้เรารับผิดชอบ นั่นหมายความว่าเค้าไว้วางใจเรานั่นเอง

คำอุปมาข้างต้น  "เรื่องเงินสิบมินา"

1.  เจ้านายสนใจท่าทีของเรามากกว่าผลลัพท์ที่ออกมา

     คือ การรับผิดชอบงานอย่างเต็มที่ และอย่างไรถึงเรียกว่าเต็มที่

     1.1  คนที่ำทำเต็มที่จะคิดเสมอว่าทำอย่างไรถึงจะดีกว่านี้

     1.2  คนที่ทำเต็มที่จะตั้งเป้าอย่างท้าทาย

     1.3  คนที่ทำเต็มที่จะทำงานนั้นอย่างดี

2.  คนที่สัตย์ซื่อในสิ่งเล็กน้อย จะได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบ

     งานที่สูงขึ้น  คือ ไม่ว่างานจะใหญ่หรืองานเล็กน้อยเราก็ต้องทำออกมา

     ให้สมกับที่เจ้านายได้ไว้วางใจมอบให้เราทำ และทำไมไม่อยากทำงาน

     ที่ดูเป็นสิ่งเล็กน้อย

     2.1  คิดว่าไม่สำคัญและไม่มีผลในชีวิตในอนาคต

     2.2  เพราะใจร้อนจึงไม่สนใจเรื่องพื้นฐาน

     2.3  ความเย่อหยิ่ง คิดว่าน่าจะทำสิ่งที่ใหญ่กว่านี้

3.  คุณค่าของชีวิตเรา คือ ได้รับความไว้วางใจให้รับผิดชอบมากขึ้น  คือ

     คนเราเมื่อได้รับผิดชอบงานที่มากขึ้นก็อาจะกลัวในความผิดพลาด

     หรือคิดว่างานมีมากเกินไปเอาให้คนอื่นทำบ้าง และทำไมคนไม่ชอบ

     ทำงานท้าทายมากขึ้น

     3.1  ความเกียจคร้าน

     3.2  คิดว่างานที่ทำอยู่มากอยู่แล้ว จึงคิดว่าเหนื่อย

     3.3  คิดว่าทำไม่ได้ ไม่มีความสามารถ

     3.4  คิดว่างานที่ได้รับนั้นไม่สำคัญ จึงอยากทำงานที่สำคัญรองลงมา

            หรืออยากทำงานที่อยากทำมากกว่างานที่ได้รับ

ที่สำคัญ  คือ  เพราะเราไม่รู้จักตัวเอง 

คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 465571เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2011 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท