สินรินทร์สเตชั่น
อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

เปิดเส้นทางสู่ดินแดนหัตถกรรม ชุมชนโบราณนมัสการพระศักดิ์สิทธิ์ที่เขวาสินรินทร์


เปิดเส้นทางสู่ดินแดนหัตถกรรม ชุมชนโบราณนมัสการพระศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนเขวาสินรินทร์

ชุมชนเขวาสินรินทร์  จังหวัดสุรินทร์  เมื่อเอ๋ยถึงนักท่องเที่ยวหลายคนรู้จัก ซึ่งเป็นชุมชนที่ขึ้นชื่อในการท่องเที่ยว   ผู้คนจะเดินทางมาเลือกชมและซื้อสินค้าหัตถกรรมผ้าไหมและที่สำคัญเครื่องเงิน หรือปะเกือมนั่นเอง  ซึ่งที่นี่จะมีภูมิปัญญาด้าน

หัตถกรรมอยู่ทุกหมู่บ้าน  เมื่อก่อนสุภาพสตรีก่อนออกเรือนก็จะต้องทอผ้าไหมเป็น  การผลิตสินค้าเพื่อใช้เอง รวมทั้งผลิตเพื่อการจำหน่ายในยุคปัจจุบัน  จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้มาเยือนและท่องเที่ยวชมนั่นเอง  ณ วันนี้เอง แหล่งผลิตผ้าไหมเขวาสินรินทร์ได้เปิดตัวการท่องเที่ยวอย่างเต็มความภาคภูมิ เป็นหมู่บ้านทอผ้าไหมนาตัง (Thai Silk Village) และเป็นหมู่บ้านโฮมเสตย์เพื่อรองรับการท่องเที่ยวอีกด้วย  ซึ่งหากท่านจะเดินทางมาเยือนเขวาสินรินทร์ จึงขอแนะนำเส้นทางการท่องเที่ยว ในดินแเดนหัตถกรรมแห่งนี้  รวมทั้งพาไปชมชุมชนโบราณ  แวะนมัสการพระศักดิ์สิทธิ์ที่ชุมชนโบราณบ้านพระปืด วัดปราสาทแก้ว  ปราสาททอง


เราเริ่มจากการเดินทางออกจากตัวเมืองสุรินทร์   ตามทางหลวง หมายเลข 214 สายสุรินทร์ - ร้อยเอ็ด  มาถึงกิโลเมตรที่ 14 เลื้ยวขวาตรงแยกป้อมยามตำรวจ   เข้าสู่อำเภอเขวาสินรินทร์ประมาณ 1 กิโลเมตรแยกซ้ายมือ จะเป็นหมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านนาตัง (Thai Silk Village) ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อไม่นานนี้เองเป็นหมู่บ้านโฮมเสตย์ และพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมีเที่ยวชมวิถีชุมชน  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งที่นี่มีการย้อมไหมสีธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวเป็นชุมชนแรกๆในการทอผ้าไหมโฮลที่สวยงาม ก่อนที่จะนำไปขยายการผลิตไปยังชุมชนอื่นๆ  นอกจากท่านจะได้ชมผ้าไหมลายต่างๆพร้อมฐานการเรียนรู้การผลิตแล้ว  ยังมีกลุ่มหัตถกรรมจากเครื่องประดับ


ทองเหลือง เครื่องเงินโบราณให้ท่านได้ชมและเลือกซื้อ  ซึ่งเป็นเครื่องประดับตกแต่งใส่กับชุดผ้าไหมดูโดดเด่นได้อย่างลงตัว   นอกจากนี้แล้วที่นี่ยังเป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับที่ส่งออกไปขายยังประเทศเพื่อนบ้าน  ลาว เขมร  เวียตนาม และพม่าอีกด้วย   บางทีสินค้าที่ท่านซื้อจากช่องผ่านด่านประเทศเพื่อนบ้าน  สินค้าบางชิ้นก็อาจจะมาจากที่นี่  อีกแห่งที่นี่ยังมีบ้านสมุนไพรไทย เป็นบ้านโฮมเสตย์สัมผัสบรรยากาศที่เป็นกันเองของเจ้าของบ้าน และบรรยากาศกลิ่นไอธรรมชาติแห่งท้องทุ่ง  ควรแ่ก่การเดินทางมาพักผ่อน


จากนั้นเดินทางต่อ  ก่อนถึงบ้านเขวาสินรินทร์ จะผ่านหมู่บ้านนาโพธิ์ ซึ่งบ้านนี้มีกลุ่มอาชีพผลิตสินค้าจากผ้าเป็นศิลปประดิษฐ์แจกันดอกไม้ไว้ประดับตกแต่งภายในบ้านที่สวยงาม  และมีแหล่งผลิตผ้าไหมสีธรรมชาติเป็นกลุ่มอาชีพ บ้านแม่ฮิ่ง  อุนัยบัน  กลุ่มนี้ก็จะมีการเดินทางไปขายและออกร้านในที่ต่างๆอย่างสม่ำเสมอ  แต่ถ้ามาแวะชมเลือกซื้อที่นี่ก็จะได้ราคาพิเศษ  ซึ่งมีผ้าลายต่างๆให้เลือกชมเป็นการผลิตจากภูมิปัญญาของคนที่นี่เอง
เข้าสู่บ้านเขวาสินรินทร์  หน้าทางเข้าหมู่บ้านนี้ด้านซ้ายมือ  ซึ่งขึ้นเนินมาจะเห็นวัดเก่าแก่ของที่นี่  ชื่อว่าวัดโพธิ์รินทร์วิเวก  วัดแห่งนี้ยังมีความสำคัญได้สร้างขึ้ันตั้งแต่ พ.ศ.2247  สมัยพระสุทธิ์  สินรินทร์เป็นเจ้าอาวาส  เมื่อผ่านมาประมาณ 800 เมตรทางขวามือจะเห็นอาคารหลังใหญ่เป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าOTOP เขวาสินรินทร์ ที่นี่

 

จะมีร้านค้าของชุมชนจากกลุ่มผู้่ผลิตในแหล่งผลิตต่างๆของชุมชน มาเปิดขายสินค้าหัตถกรรมและของที่ระลึก ทั้งผ้าไหม เครื่องเงิน เครื่องประดับ เสื้อผ้าและของที่ระลึกมากมายหลายร้าน  ท่านสามารถเลือกชมและซื้อได้ตามอัธยาศัย  ซึ่งนักท่องเที่ยวส่วนมาก ก็จะเดินทางตรงมาที่นี่แห่งเดียว หากไม่มีเวลาเดินทางไปชมในแหล่งผลิตอื่นๆ   แต่ถ้ามีเวลาอีกหน่อยก็อยากให้เดินทางไปชมแหล่งผลิตเครื่องเงินโบราณที่มีชื่อเสียงของเขวาสินรินทร์  คือเครื่องเงินโบราณบ้่านลุงป่วน  เจียวทอง ซึ่งท่านเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น  ได้รับเกียรติยกย่องเป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 6 ในการทำเครื่องเงินโบราณ  ต่อจากนั้นเดินทางไปชมบ้านภูมิปัญญาทอผ้าไหม แม่เอือม  แยบดี  ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 3 ด้านการทอผ้าไหม ซึ่งมีลูกศิษย์ที่ท่านได้ถ่ายทอดความรู้การทอผ้าหลายรุ่น  เยี่ยมบ้านแม่บุญเกื้ัอ  คงดี หรือ ร้านแดงบุหงา เป็นภูมิปัญญาด้านร้อยเครื่องเงิน



ประยุกต์  เพราะว่าเมื่อก่อนเมื่อมีการผลิตเครื่องเงินที่เรียกว่า ปะเกือมแล้ว แม่บุญเกื้อ เป็นบุคคลที่ริเริ่มนำสินค้าหัตถกรรมเครื่องเงินชิ้นที่ได้มาสร้างสรรค์คุณค่าให้เข้ากับยุคสมัย  โดยการร้อยเครื่องเงินประยุกต์หรือมีการบวกกับหินสีเพื่อให้ใส่ได้กับชุดไปรเวท  นอกเหนือที่จะใส่กับชุดผ้าไหมอย่างเดียว
ภูมิปัญญาทั้ง 3 ท่านนี้ล้วนได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ทั้งสิ้น
หลังจากที่ได้เลือกชมและซื้อสินค้าของภูมิปัญญาที่นี่แล้ว  ก็เดินทางต่อไปนมัสการพระศักดิ์สิทธิ์  ตามเส้นทางบ้านเขวาสินรินทร์ - บ้านแร่ ประมาณ 5 กิโลเมตร  จะถึงชุมชนโบราณบ้านพระปืด ตำบลบ้านแร่ อำเภอเขวาสินรินทร์ มีลักษณะสถาพทั่วไปของชุมชนเป็นกำแพงคันดินที่ล้อมรอบหมู่บ้าน   ซึ่งนักท่องเที่ยวเองจะไม่ค่อยมีใครทราบว่าที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ที่ยังคงทิ้งร่องรอยหลักฐานประวัติศาสตร์  ความเจริญทางด้านวัฒนธรรม จากการขุดค้นพบโบราณวัตถุ  กระดูกมนุษย์โบราณ เศษภาชนะดินเผาต่างๆมากมาย   ชุมชนโบราณบ้านพระปืดเป็นชุมชนที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบที่มีสภาพสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่ง  มีตำนานท้องถิ่นที่น่าสนใจ  มีโบราณสถานเก่าแก่ และมีวัตถุโบราณที่ค้นพบใหม่เป็นจำนวนมาก   นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเริ่มตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์  สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น  สมัยลพบุรีและัแบบเขมร  สมัยล้านช้าง - อยุธยา หรือแบบท้องถิ่นและสมัยปัจจุบัน
ที่นี่มีพระศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่บ้านคู่เมือง ชุมชนโบราณบ้านพระปืด ที่ประดิษฐานในองค์ปราสาทแก้ว  ซึ่งพุทธลักษณะสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมล้านช้างผสมกับศิลปกรรมแบบท้องถิ่น  ในพุทธศวรรษที่ 21 - 24 และลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์



และมีพระอีกองค์ที่อยู่ในวัดปราสาทแก้ว คือ พระเสี่ยงทาย หรือพระปราสาทแก้ว เดิมเคยประดิษฐานอยู่คู่กับพระปืดภายในปราสาืทแก้ว  ปัจจุบันทางวัดได้นำมาไว้บนศาลาการเปรียญ  ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ถูกคนร้ายขโมยไป ถึง 2 ครั้ง  แต่ก็เอาไปไม่ได้  ครั้งแรกชาวบ้านไปพบที่หนองน้ำบ้านบึง ซึ่งอยู่ในละแวกเดียวกัน  และครั้งที่สอง ไปพบที่ในทุ่งนา บ้านหนองตะครอง   บรรดาชาวบ้านที่ไปพบนั้น ไม่มีใครสามารถยกองค์พระขึ้นได้  จึงพากันไปนิมนต์เจ้าอาวาสวัดปราสาทแก้ว ที่บ้านพระปืด  แล้วอธิษฐานว่าหากเป็นพระคู่บ้านพระปืดจริง  ขอให้ยกองค์พระประสาทแก้วขึ้นได้   พอตั้งจิตอธิษฐานแล้ว หลวงพ่อก็สามารถยกขึ้นได้โดยง่าย  และนิมนต์กลับมาไว้ที่วัดปราสาทแก้วเหมือนเดิม    ซึ่งเ้หตุการณ์ครั้งนั้นจึงเป็นที่มาของความเชื่อและแรงศรัทธาต่อองค์พระ  ท่านศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่ยึดเหนี่ยวพึ่งพึงทางใจของชาวบ้านได้   ผู้คนส่วนมากจะเดินทางมากราบนมัสการ ขอพรท่านและเสี่ยงทายโดยการยกองค์ท่าน   ขั้นตอนเพียงจุดธูป 3 ดอกก้มลงกราบ 3 ครั้ง  แล้วนั่งพนมมือตั้งจิตอธิษฐานเสี่ยงทาย  โดยนั่งคุกเข่าใช้สองมือยกองค์พระ   ซึ่งหลักการยกองค์พระโดยส่วนมากจะนิยมยก 3 ครั้ง  โดยยกครั้งแรกเป็นการขอยกดูน้ำหนักท่านก่อน



เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในการยกครั้งต่อไป   ครั้ังที่สอง เป็นการอธิษฐาน ว่าถ้าสิ่งที่เป็นไปได้ดั่งคำที่เราอธิษฐานนั้นๆ ก็ขอให้ยกองค์หลวงพ่อนั้นขึ้นได้ เมื่ออธิฐานเสร็จแล้วก็ยกขึ้น   หลัีงจากนั้นในครั้งที่สาม  เป็นการอธิษฐานแบบเดิม  แต่ครั้งนนี้ถ้าเป็นไปดั่งคำอธิษฐาน  ก็ขออย่าให้ยกองค์หลวงพ่อขึ้นได้
หลังจากยกทั้่งสามครั้งแล้ว  ก็าจะเห็นความแตกต่างทันที ที่เราไ้ด้อธิษฐานไป   ยกครั้งแรกจะยกท่านได้่  เพราะ้เป็นการยกดูน้ำหนักท่าน  ยกครั้งที่สอง หากเป็นไปดั่งคำอธิษฐานนั้น ก็จะเห็นว่ายกท่านขึ้นได้  แต่ถ้าไม่เป็นไปดั่งคำอธิษฐานจะยกองค์พระไม่ขึ้น   ส่วนครั้งที่สาม  อธิษฐานขออย่าให้ยกท่านขึ้น ถ้าครั้งที่สองยกขึ้นได้ครั้งที่สามก็จะยกท่านไม่ขึ้น    และอีกอย่างบางคนที่อธิษฐานหรือเกินความจริงไปก็อาจจะเสี่ยงทายไม่ติด  ซึ่งการงานบางประการขึ้นอยู่ที่ตัวของเราเอง   ซึ่ีงหลายคนที่ได้เดินทางไปกราบนมัสการต่างศรัทธาต่อองค์หลวงพ่อท่าน พระเสี่ยงทายแห่งวัดปราสาทแก้ว ชุมชนโบราณบ้านพระปืด
เมื่อได้กราบนมัสการองค์หลวงพ่อ เสร็จเรียบร้อยแล้ว  หากมีเวลาก็อาจจะเดินชมตัวปราสาทแก้ว ซึ่งเป็นโบราณสถานของที่นี่  และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งคือ "ตาคฤห์" อยู่ใกล้กับปราสาทแก้วนั่นเอง หากท่านชอบสถานที่ท่องเที่ยวโบราณสถานอีกแห่งที่นี่คือ ปราสาททอง ตั้งอยู่บ้านแสรออ  หมู่ 8 ต.ปราสาททอง  อำเภอเขวาสินรินทร์ ซึ่งเป็นโบราณสถานร่วมสมัยเดียวกับปราสาทแก้ว และมีพื้นที่ใกล้กันกับปราสาทเมืองที ต.เมืองที อ.เมืองสุรินทร์  ซึ่ีงปราสาทเหล่านี้นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าสร้างซ้อนทับโบราณสถานขอมสมัยลพบุรี  ซึ่งในอดีตชุมชนโบราณเหล่านี้ยังคงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด


ดินแดนหัตถกรรมผ้าไหมงามและเครื่องเงินโบราณแห่งนี้  พร้อมรอรับท่านที่เดินทางมาเที่ยวชมด้วยไมตรี ซึ่งในแต่ละปีจะมีงานสืบสานศิลปะวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นที่นี่ ในงาน "นุ่งผ้าไหม  ใส่ปะเกือม  เรือมกันตรึม" เป็นงานที่แสดงถึงคุณค่าของวัฒนธรรมแห่งภูมิปัญญาที่ยังคงเป็นอัตลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว ดังคำขวัญที่ว่า "เขวาสินรินทร์ดินแดนหัตถกรรม  เลิศล้ำภูมิปัญญา  ตระการตาผ้าไหม  ระบือไกลประคำสวย  ร่ำรวยประเพณี  มีปราสาทโบราณ  สืบสานเพลงกันตรึม" สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่กศน.เขวาสินิรนทร์ 044-582315

หมายเลขบันทึก: 465105เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2011 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท