อด


อดและอดและก็...อด

     อารมณ์คนเราจะว่าไปแล้วมันไม่แน่นอนไปซะทุกอย่าง หากว่าไปทางธรรมะก็มักจะพูดกันว่ามันเป็นอนิจจัง แต่สำหรับเราเองการห่างหายไปจากการไม่ได้มาบันทึกเปลี่ยนความรู้กันตรงนี้ก็เพราะว่าภาระกิจการงานในศูนย์ฟื้นฟูฯ,ภารกิจต่อวัด,ภารกิจต่อหลวงปู่,และส่วนตัวที่มากทำให้เป็นความเหนื่อยล้า บางคนอาจจะบอกว่าฉันยิ่งทำงานทั้งประเทศยังอดทนเลยมันเหนื่อยคนละรูปการ การเหนื่อยที่เราจะมาบอกให้ฟังคือการเหนื่อยทุกส่วนประกอบ ถ้าจะพูดกันไปอีกทางพุทธศาสนาเราอธิบายกันว่าชีวิตเราประกอบด้วย ขันธ์ห้า อันประกอบด้วย รูป,เวทนา,สัญญา,สังขาร,วิญญาณ หรือเราจะย่อกันให้สั้นลงคือ รูป-นาม แต่ไอ้ส่วนประกอบที่จะว่ากันตรงนี้อย่างแรกคือ รูปที่เรามีกันมันก็คือร่างกายเราเอง สิ่งที่เราต้องใช้ในการขับเคลื่อนร่างกายเราคือแรงกาย การที่ต้องใช้ชีวิตแบบกินน้อยนอนน้อยทำงานมาก ยิ่งต้องใช้พลังงานมากเป็นหลายเท่ากว่าคนปกติหลายเท่าตังนัก กิจกรรมในแต่ละวันก็ต้องพาสมาชิกทำ ต้องบอกทำ สอนทำ พาทำ พาแก้ปัญหา โชว์ออฟในบางอย่างให้เกิดการยอมรับ (อันนี้ยกตัวอย่าง บางคราวพาสมาชิกต่อไฟฟ้า เราจะให้สมาชิกใช้อุปกรณ์ให้เกิดความปลอดภัยแต่สมาชิกชอบมักง่ายทำให้เกิดความยุ่งยากในการทำงานเช่นอุปกรณ์เก่าควรเปลี่ยนก็ไม่เปลี่ยน เอาแค่พอผ่านๆ เราเลยลองต่อไฟฟ้าจากสายเมนโดยไม่ใช้คีม ปอกสายไฟฟ้าแล้วใช้มือเปล่าผันสายไฟฟ้าเลย งงกันไปใหญ่ สมาชิกมักงงแต่เราก็อธิบายว่าทำงานมักง่ายชอบสบายก็ทำเป็นแต่ไม่เรียบร้อยแล้วก็เอาคีมมาบีบเข้าอีกให้รู้ว่าใช้อุปกรณ์ทั้งปลอดภัยและเรียบร้อย แต่วิธีการนี้เป็นความสามารถเฉพาะตัวแล้วต้องเช็คให้เรียบร้อยด้วยว่ากระแสไฟฟ้ารั่วหรือเปล่าตัวเราเปียกน้ำหรือสัมผัสกับอะไรหรือเปล่าเพราะสายไฟฟ้าสองกระแสถ้ามันไปถึงกันไม่ได้มันก็ไม่เป็นไร ร่ายซะยาว) จากที่กล่าวมาต้องใช้กำลังกายในการทำงานด้วยจะว่าไปก็ประมาณเป็นกรรมกรทำงานไปด้วย

    ส่วนกำลังในส่วนที่สองที่ต้องใช้ "ความคิด" ในที่นี้ต้องกล่าวว่าใช้ทั้งอย่างหยาบและอย่างละเอียด อย่างหยาบ ก็เป็นประมาณการบริหารการจัดการในส่วนต่างในการพาทำกิจกรรมต่างไม่ให้ส่งผลทางไม่ดีและเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางดี รวมถึงการบริหารจัดการงบประมาณที่น้อยจนไม่มีเหมือนในรุ่นที่ 21นี้ไม่มีงบประมาณแต่เราก็รับมาเพื่อช่วยงานในวัดและรักษาองค์ประกอบกิจกรรม

   ความในแบบละเอียดหน่อยหรือกลางก็ประมาณสมาชิกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรกิจกรรมในช่วงนี้พอดีไหมขาดสิ่งใดเพิ่มสิ่งใดตัดสิ่งใดออกเพื่อสมาชิกในรุ่นนี้ ต้องใช้การตริตรองพอสมควรว่าควรทำประการใดเพราะสมาชิกมาแต่ละรุ่นจะมีความไม่เหมือนในความเหมือนของพวกเขา(จะมาเล่าให้ฟังในวันหลังนะมันยาว)

  ความคิดที่ละเอียดเลยคือสภาพจิตใจของเด็กพวกนี้กับสภาวะรอบด้านที่ประกอบกันในแต่ละช่วง ต้องสามารถประคองให้มันไปด้วยกันอย่างไม่มากและน้อยต่างๆกันเกินควร ให้ใจเด็กพวกนี้มากก็ไม่ดีจะสบายเกินตัวให้ใจชาวบ้านมากเด็กพวกนี้ก็ลำบาก ให้ใจพระในวัดมากเด็กพวกนี้ก็สะเปะสะปะไม่เป็นชิ้นเป็นอันแถมเราลำบากอีก ปวดหัว

   สุดท้าย จิตวิญญาณที่ต้องต่อสู้และอดทนกับทุกสิ่งทุกอย่างจะเรียว่า พลังใจ ก็น่าจะได้ ใหนความนิสัยไม่ดีของเด็กพวกนี้ก็มากแถมความคิดไม่ดีเท่าไรอีก ทัศนะคติความคิดที่ไม่ดีของคนรอบข้างอีกที่มันจะเป็นแรงกดดันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างใครไม่เข้าใจอยากให้ได้ตามใจเขาอย่างไรเราก็ไม่สนหรอกเราเองก็ต้องอดทนปรับก็ปรับตามความเหมาะสมและนโยบายจากหลวงปู่ให้พอดีพองาม

  เหนื่อยจริงๆนะแค่นี้แหละอาจไม่ได้ดังกันไปทั้งประเทศแต่ก็เหนื่อยใช้ทั้งกำลังความคิด ลงมือทำ อดทนในจิตตนเองอีก การทำงานแบบคิดเองทำเองรับเองแต่คนอื่นได้รับผลนี้มันยากจะทานทน

อดและอดและก็....อด

หมายเลขบันทึก: 464988เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2011 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท