การจัดตั้งกลุ่มชุมชนเคมีที่สถาบันบำราศนราดูร


ความกังวล กลัว และท้อแท้

บันทึกวันนี้ขอนำเสนอผลงานของหน่วยงานศัลยกรรมนรีเวชของสถาบันบำราศนราดูร

ผลงาน  การจัดตั้งกลุ่มชุมชนเคมีที่สถาบันบำราศนราดูร

ผู้นำเสนอผลงาน   ตึกศัลยกรรมนรีเวช สถาบันบำราศนราดูร             

ที่มา  มะเร็งเป็นสาเหตุอันดับต้นๆในประชากรไทย และมีการเพิ่มปริมาณผู้ป่วยมากขึ้น จากอายุขัยเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น และสภาพสุขลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบตะวันตก โรคมะเร็งเป็นโรคที่ไม่หายขาด นอกจากนี้การรักษามักมีผลแทรกซ้อนที่รุนแรง และใช้ระยะเวลานาน ผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัวส่วนใหญ่มีความกังวล กลัว และท้อแท้  บางครั้งถึงกับสิ้นหวัง  ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยมะเร็งนอกจาการดูแลทางด้านร่างกายแล้ว ทีมสุขภาพควรมีการดูแลแบบองค์รวม และมีความต่อเนื่อง เพื่อประคับประคอง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

วัตถุประสงค์1.  เพื่อพัฒนาทีมสหวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา เภสัช โภชนากร เจ้าหน้าที่อื่นๆ รวมถึงญาติผู้ป่วย 2.  เพื่อพัฒนากลุ่มการพึงพาตนเองโดยผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัว และผู้ป่วยมะเร็งอื่นๆ 3.  เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถดูแลตนเอง มีความเข้าใจโรคมะเร็ง การดูแล การรักษา และการป้องกันสภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาได้อย่างถูกต้อง 4.   เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง และ ความพึงพอใจของผู้ป่วย และญาติต่อการมารับการรักษาในสถาบันบำราศนราดูร

วิธีการ 1.ประชุม และจัดตั้งทีมสหวิชาชีพเพื่อดูแลผู้ป่วยมะเร็ง แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา เภสัช โภชนากร เจ้าหน้าที่อื่นๆ รวมถึงญาติผู้ป่วย 2.จัดสถานที่ เอกสารความรู้ วางแผนกิจกรรม เพื่อกิจกรรมรวมกันแบบสหวิชาชีพ และกลุ่มผู้ป่วย3.จัดกิจกรรมกลุ่มการพึ่งพาตนเองโดยผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัว ร่วมกับเจ้าหน้าที่ และผู้ป่วยอื่นๆ เช่น กิจกรรมการให้ความรู้ทางโภชนาการ กิจกรรม การถักหมวกไหมพรม กิจกรรมการเยี่ยมบ้าน ฯลฯ 4.ผู้ป่วยมะเร็งทุกรายจะมีการมอบหมายพยาบาลเจ้าของไข้ ดูแลอย่างใกล้ชิด อธิบายและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ซักถามข้อสงสัย แนะนำให้ได้รู้จักกับผู้ป่วยรายอื่นที่ได้รับยาเคมีบำบัด  5. สอบถามความเข้าใจในการดูแลตนเอง และประเมินความพึงพอใจในการร่วมกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งและญาติ

พบว่า ผู้ป่วยมะเร็ง และญาติมีความเข้าใจในโรคมะเร็ง การให้ความร่วมมือในการรักษา  และพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมกลุ่ม ในระดับดีมากถึงร้อยละ 97 และมีการประเมินเชิงคุณภาพโดยทำจดหมายขอบคุณเป็นจำนวนมาก

บทเรียนที่ได้รับ กระบวนการดูแลผู้ป่วยยังไม่ครอบคลุมทุกด้าน ทางกลุ่มจะดำเนินการพัฒนาเพิ่มเติมให้ดียิ่งๆขึ้นไป

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ความสามัคคีของเจ้าหน้าที่ตึกศัลยกรรมนรีเวชในการให้คำแนะนำ การเก็บข้อมูล และการได้รับความร่วมมีอจากผู้ป่วยและญาติในการให้ข้อมูลต่างๆ

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร   กระตุ้นและสนับสนุนให้หน่วยงานมีการพัฒนางานคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ (Tags): #มะเร็ง
หมายเลขบันทึก: 464644เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2011 15:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท