การศึกษาในศตวรรษที่ 21


การศึกษาในทศวรรษที่ 21

      การสร้างความเข็มแข็งให้เยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติให้ได้มาตรฐาน   เรียนรู้   คิดเป็น   สร้างนวัตกรรมได้  เพื่อความอยู่รอดของชาติและเผ่าพันธุ์ตนเองที่แท้จริงในอนาคต 

 

          ในสังคมใหม่มีการกล่าวถึงคำว่า “ การครอบโลก” คือการสั่งการโดยอำนาจทางเศรษฐกิจของมหาอำนาจต่าง  ๆ  พิเชียร  คุระทอง  (2541:2)  กล่าวว่าเห็นด้วยกับ  กมล  กมลตระกูล  ที่ได้ให้ความหมายด้านมืดของโลกาภิวัฒน์ (Globalization)  ว่าเป็น  “การครอบงำโลก”   ถ้าไม่มองโลกาภิวัฒน์  2  ด้าน  แล้วไม่สร้างภูมิต้านทานให้ตนเองหลงใหลตามกระแสโลกทั้งหมด  ประเทศโลกที่ 3 ที่ยากจนจะถูกระแสโลกฉุดกระชากไปสู่ความหายนะ   อนาคตความอยู่รอดของชาติและเผ่าพันธุ์ของชาติ  กลับแปรเปลี่ยนเป็น  “ทรัพยากรมนุษย์”  ที่ต้องมีความรู้รอบด้านและมีสมรรถนะด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีต่าง ๆ  ที่ทันสมัยและสามารถแสวงหาความรู้ได้เองจากสื่อทุกประเภท  เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่  ความรู้ใหม่  โดยการวิจัยทดลอง  การลองผิดลองถูกเพื่อเป็นทรัพย์สมบัติของชาติตน  ดังแนวทางของชาวยุโรปได้เคยกระทำมาแล้วในอดีตเมื่อ  100  กว่าปีที่ผ่านมาลองผิดลองถูก  ทำการวิจัยตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ผลที่ได้เป็นศาสตร์ใหม่ นวัตกรรมใหม่และทุกคนยอมรับเป็นมาตรฐานสากล 

 

          ดังนั้นการดำเนินการพัฒนาดังกล่าว  ครูและบุคลากรทางการศึกษาจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญโดยตรงและโดยอ้อมที่จะถ่ายทอดความรู้ความสามารถแก่ศิษย์ทั้ง 4 ด้าน  คือ  ด้านความรู้  ความคิด  หรือพุทธพิสัย (Cognitive  Domain)  ด้านความรู้สึก  อารมณ์  สังคมหรือด้านจิตพิสัย ( Affective  Domain)   ด้านทักษะปฏิบัติหรือทักษะพิสัย (Psychomotor  Domain)   ด้านทักษะการจัดการหรือทักษะกระบวนการ(Management  Skill)  ซึ่งเป็นความจำเป็น  4  ประการในการพัฒนามนุษย์ให้มีคุณภาพ  และประสิทธิภาพ

หมายเลขบันทึก: 464579เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2011 23:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท