หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ENV a80 : จะใช้อีเอ็มจัดการน้ำที่มีฟอสเฟตปนเยอะดีมั๊ย


ความสามารถย่อยสลายวัตถุอินทรีย์ที่ทำให้สารประกอบโมเลกุลใหญ่เล็กลงจนปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ได้นี้และเรื่องฟอสฟอรัสกับสุขภาพที่ รู้ๆอยู่ เตือนให้ใคร่ครวญว่าก่อนนำอีเอ็มไปใช้กับน้ำเสียตรงจุดไหนก็ตาม ควรที่จะรู้เสียก่อนว่าน้ำเสียนั้นมีฟอสเฟตปนอยู่มากน้อยแค่ไหน

เมื่อเดินเข้าไปใกล้น้ำเสีย ของเสียจากขบวนการผลิต ส้วม โรงอาหารมักจะมีกลิ่นเหม็น  นักวิชาการเขาว่าเป็นเพราะไม่มีระบบย่อยสลายของเสียต่างๆก่อนทิ้ง หรือมีระบบแต่มีจุลินทรีย์ที่สามารถย่อยอยู่น้อยไป แถมยังเป็นจุลินทรีย์ที่ย่อยไม่สมบูรณ์แบบซะอีกด้วย

จะจัดการกับกลิ่นจึงจำต้องเข้าใจธรรมชาติของระบบย่อยสลายของเสีย รู้จักจุลินทรีย์ที่ทำงานย่อยสลายของเสียให้มากไว้

เท่าที่ลองใช้อีเอ็มจัดการกับความเหม็นมาแล้ว ก็ได้ผลว่าควบคุมกลิ่นได้ จนมารู้ว่าอีเอ็มมีจุลินทรีย์อยู่ 3 กลุ่ม โดยมีกลุ่มใหญ่ชอบเฮตามผู้นำ ก็รู้สึกว่ายิ่งต้องรู้จักจุลินทรีย์ให้มากขึ้น เพื่อจะได้เลือกใช้ให้เหมาะควรในระบบจัดการของเสียที่หลากหลายของรพ.

เพิ่งรู้ว่าระบบบำบัดของเสียที่มีอยู่หลากหลายออกแบบไว้รองรับการผลิต จุลินทรีย์เพื่อการย่อยสลายทั้งนั้น และจุลินทรีย์เหล่านี้มีกลุ่มหนึ่งใช้ออกซิเจน และอีกกลุ่มไม่ใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย

ในอีเอ็มก็มีจุลินทรีย์ 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งใช้อากาศ อีกกลุ่มไม่ใช้ ทั้ง 2 กลุ่มอยู่ร่วมกันได้และพึ่งพาอาศัยกันและกัน

เมื่อเจาะลึกลงไปดูความสามารถของการย่อยสลาย ก็พบความหลากหลายของจุลินทรีย์ในอีเอ็มสูตรต่างๆอยู่ 5 ก๊ก (Families) 10 ตระกูล(Genus) 80 ชมรม (Species) ทีเดียวเชียว มาทำความรู้จักกับมันด้วยกัน

กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน มี 2 ก๊ก คือ ก๊กเชื้อราที่มีเส้นใย  และก๊กสังเคราะห์สารอินทรีย์

ก๊กแรกทำหน้าที่เป็นตัวเร่งการย่อยสลาย ทำงานได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน ทนความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ

ก๊กหลังทำหน้าที่สังเคราะห์สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน กรดอะมิโน  น้ำตาล วิตามิน ฮอร์โมน และอื่นๆเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน

กลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจน มี 3 ก๊ก คือ ก๊กหมัก ก๊กจัดการกับไนโตรเจน และก๊กสร้างกรดแลกติก

ก๊กหมัก จะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ดินต้านทานโรค ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิดของพืชและสัตว์ สามารถบำบัดมลพิษในน้ำเสีย ที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆได้

ก๊กตรึงไนโตรเจน มีทั้งพวกที่เป็นสาหร่าย (Algae) และพวกแบคทีเรีย (Bacteria) ทำหน้าที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศเพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการ เจริญเติบโต เช่น โปรตีน กรดอินทรีย์ กรดไขมัน แป้ง ฮอร์โมน วิตามิน ฯลฯ

ก๊กสร้างกรดแลคติก มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรียที่เป็นโทษ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดินเน่าเปื่อยหรือดินก่อโรค ให้เป็นดินที่ต้านทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชที่มีจำนวนนับแสน หรือทำให้หมดไป และยังช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุ์พืช ช่วยให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย

จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิต มันก็ต้องการที่อยู่ ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็น เกินไป อยู่ในอุณหภูมิปกติ  ต้องการอาหารจากธรรมชาติที่ไม่เป็นอันตรายต่อมัน

ในที่ที่มีน้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่นๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอยู่มาก จุลินทรีย์ในอีเอ็มก็เพิ่มจำนวนได้มาก สภาพเดียวที่มันอยู่ร่วมไม่ได้ก็คือสารเคมีและยาฆ่าเชื้อต่างๆ ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงไม่ใช้น้ำประปาจากก๊อกมาผลิตอีเอ็ม

การเพิ่มจำนวนเป็นไปได้ดีเมื่อไร้แสง เวลาทำงานที่เหมาะกับมันจึงเป็นช่วงเย็นของวัน ยิ่งระบบจัดการของเสีย มีพื้นที่รองรับให้มันอยู่ได้มาก การย่อยสลายของเสียของจุลินทรีย์ก็ยิ่งทำได้ดี อย่างนี้นี่เล่าเมื่อมันได้ลงไปอยู่ในลำคลอง หนอง บึง เมื่อมันสามารถเพิ่มจำนวนได้ มันจึงส่งผลให้เห็นทันตา

อายุของอีเอ็มเมื่อปลอดออกซิเจน ไม่ทิ้งไว้กลางแดด ไม่จับแช่เย็น ไม่ปล่อยให้มีศัตรูจากภายนอกเข้าไปรุกราน อยู่ที่ 1 ปี  จะรู้ว่าอีเอ็มยังอยู่หรือตาย ดูที่กลิ่นและสี สีดำ กลิ่นเหม็นเน่า ไม่เห็นฝ้าขาวๆ ไม่เห็นฟองน้ำขาวๆเมื่อนำไปขยายเชื้อ แปลว่ามันตายหมดแล้ว

แบคทีเรียในน้ำหมักชีวภาพทำให้ฟอสเฟตซึ่งพืชใช้ประโยชน์เป็นธาตุอาหารพืชไม่ได้เปลี่ยนเป็นฟอสฟอรัสที่พืชใช้ประโยชน์ได้

ความสามารถย่อยสลายวัตถุอินทรีย์ที่ทำให้สารประกอบโมเลกุลใหญ่เล็กลงจนปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ได้นี้และเรื่องฟอสฟอรัสกับสุขภาพที่ รู้ๆอยู่ เตือนให้ใคร่ครวญว่าก่อนนำอีเอ็มไปใช้กับน้ำเสียตรงจุดไหนก็ตาม ควรที่จะรู้เสียก่อนว่าน้ำเสียนั้นมีฟอสเฟตปนอยู่มากน้อยแค่ไหน

8 ตุลาคม 2554

หมายเลขบันทึก: 464508เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2011 07:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Thank you.

I can't see why this series of stories on your waste water treatments should not be used as study material in schools.

To me, the content is very full and useful for dealing with waste water in local areas like homes, wats, schools and hospitals. No text book I have seen covers "practical examples and in-depth research information".

How about making this an ebook, g2k-team?

  • คุณ sr ค่ะ
  • ขอบคุณกับสัมผัสที่รู้ใจหมอนะคะ
  • ......
  • ใช่เลยค่ะ series นี้หมอเขียนขึ้น
  • เพื่อให้ใครก็แล้วแต่
  • สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
  • กับน้ำใกล้ตัว
  • ......
  • ภัยจากน้ำเป็นเรื่องใกล้ตัว
  • ที่คนไม่ใคร่ให้ความสนใจกัน
  • ......
  • กว่าจะรู้ตัวก็รับภัยเงียบนั้น
  • เข้าไปเต็มๆ
  • ......
  • เข้าใจและลงมือจัดการน้ำ
  • ให้เสียน้อยที่สุด
  • เท่าที่จะทำได้เมื่อไร
  • เมื่อนั้น....สถิติการเป็นโรคมะเร็ง
  • จะลดลงอย่างรวดเร็วค่ะ
  • ......
  • มีชีวิตอยู่ในยุควิทยาศาสตร์
  • ก็ควรใช้วิทยาศาสตร์
  • ในด้าน"ให้คุณ"ให้เป็น
  • ......
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท