การให้คำปรึกษา


การให้คำปรึกษาเป็นการแนะนำผู้อื่นให้ตัดสินใจ ท่านไม่ตัดสินใจแต่ให้เขาตัดสินใจเขาเอง

                                   การให้คำปรึกษา 1

                                                        ประชุม โพธิกุล

การให้คำปรึกษา คือวิธีการที่จะช่วยให้ผู้อื่นพบปัญหาและแก้ปัญหานั้น การให้คำปรึกษาเป็นการทำให้เกิดความสำเร็จส่วนบุคคล ระหว่างบุคคลหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่งมิใช่เป็นสิ่งมหัศจรรย์เลยสำหรับเทคนิค วิธีการ  หลักการต่างๆในการให้คำปรึกษา ทุกคนสามารถนำไปประยุกต์ได้

           ทำสิ่งที่ถูกต้อง

      ทำไม   จุดมุ่งหมายที่ถูกต้อง

      เมื่อไร  เวลาที่ถูกต้อง

      ที่ไหน สถานที่ที่ถูกต้อง

      อะไร  วิธีการเข้าพบที่ถูกต้อง

     อย่างไร  เทคนิคที่ถูกต้อง

                               จิตวิทยาการให้คำปรึกษา

ข้อแนะนำที่จะช่วยให้ท่านได้เรียนรู้การเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี

 

_เป็นผู้แนะนำมิใช่เป็นผู้นำ บทบาทของท่านเป็นการแนะนำผู้อื่นให้ตัดสินใจ ซึ่งจะเป็นการดีที่สุดสำหรับเขา ท่านไม่ตัดสินใจแต่ให้เขาตัดสินใจเขาเอง ถึงแม้ว่าสองหัวดีกว่าหัวเดียวก็ตาม ท่านควรเล่นบทบาทเป็นรอง

_เป็นผู้ช่วยผู้อื่นแก้ปัญหา ปัญหาทำให้ผู้ขอคำปรึกษามีความยุ่งยากมิใช่ตัวท่าน เมื่อท่านช่วยให้ผู้อื่นแก้ปัญหา ท่านช่วยทำให้ความยุ่งยากนั้นลดน้อยลง ท่านไม่ต้องแบกปัญหานั้นไว้ มันเป็นสถานการณ์แบบชนะ-ชนะ เขาทั้งหลายจะรู้สึกดีขึ้น ท่านจะรู้สึกเหมือนว่าได้รับรางวัลเกี่ยวกับบทบาทของท่านที่เล่นอยู่ในกระบวนการนั้น

_ส่งเสริมความพึงพอใจ ท่านอาจจำเป็นต้องสอดใส่ความมั่นใจและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ขอคำปรึกษาก่อนที่เขาจะค้นหาหรือแก้ปัญหา ท่านต้องฟังอย่างให้ความเคารพและพูดในสิ่งที่ถูกต้อง และถูกกาละ ท่านต้องทำให้ผู้อื่นได้แสดงความสามารถ บางครั้งสิ่งนี้เป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาได้ดี

_เป็นบุคคลที่มีความคิดริเริ่ม การให้คำปรึกษาที่ใช้สิ่งสอดแทรก เป็นเรื่องที่มีความยุ่งยาก เมื่อมีคนมาขอคำปรึกษาท่านต้องแสดงความพึงพอใจในทุกส่ิง ต้องสร้างบรรยากาศที่ดี อย่างไรก็ตามเมื่อท่านต้องใส่สิ่งสอดแทรกเพราะปัญหาของบุคคลอาจทำให้เกิดความยากลำบาก(หรือผลผลิตต่ำ) ระหว่างกลุ่ม ท่านมีสิ่งท้าทายที่ยุ่งยากมากขึ้นอีก เมื่อท่านใช้สิ่งสอดแทรกในการให้คำปรึกษาสำเร็จ ทุกคนก็ก้าวหน้าต่อไป

_ส่งเสริมให้มีความเป็นอิสระไม่ต้องพึ่งพา ความคิดในการให้คำปรึกษาเป็นมิติที่แตกต่างจากสิ่งอื่น เมื่อท่านพยายามช่วยให้การนิเทศหรือให้คำปรึกษา เป็นสิ่งที่ดีที่ท่านควรมีทฤษฎีการให้รางวัลซึ่งกันและกันอยู่ในจิตใจ คือให้ท่านและผู้รับคำปรึกษามีความเข้าใจว่าทั้งสองฝ่ายได้รับรางวัลจากระบบ การวินิจฉัยในเรื่องรางวัล ระหว่างมีการประชุมให้คำปรึกษาที่เกิดผลงานขึ้น ทุกคนต้องวินิจฉัย รางวัลที่ทั้งสองได้รับ ความสัมพันธ์ที่ดีก็เกิดขึ้น การให้คำปรึกษาอาจไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

คุณลักษณะของผู้ให้คำปรึกษา

   1.มีความอดทน

   2.หยั่งรู้ และไวต่อความรู้สึก

    3. ชอบคน

    4.ไม่มีพฤติกรรมข่มขู่

   5.มีอารมณ์ขัน

   6.ปรารถนาที่จะช่วยเหลือ 

   7.มีเจตคติเชิงบวก

   8.เป็นผู้ฟังที่ดี

   9.มีบุคลิกภาพแบบให้ความอบอุ่น

  10.นักแก้ปัญหา

                       4 ขั้นตอนในการแก้ปัญหา

  1. ฐานที่1รับฟังปัญหา
  2. วินิจฉัยปัญหา ท่านอยู่ในฐานที่2 ฝ่ายวินิจฉัยและตกลงร่วมกันในปัญหาระหว่างผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา
  3. กำหนดทางเลือกให้ชัดเจน ท่านอยู่ในฐานที่3 เมื่อท่านพิจารณาและกำหนดทางเลือกชัดเจน
  4. ยอมรับวิธีการแก้ปัญหา ท่านได้แต้มคะแนน เมื่อท่านช่วยคนให้ยอมรับแนวทางแก้ปัญหา

      การทำให้เกิดความคุ้นเคยกับผู้มาขอคำปรึกษาจะทำให้ท่านเริ่มเข้าสู่ฐานที่ 1.

                      9 ขั้นตอนในฐานที่ 1

1.ใช้ภาษาท่าทางที่สื่อความเป็นกันเอง

2.ให้การต้อนรับที่อบอุ่นและจริงใจ

3.แสดงความปรารถนาดีที่จะช่วย

4.รับฟังสิ่งที่เขาพูด

5.ค้นหาส่ิงที่เขาไม่ได้พูด

6.รับรู้สิ่งที่เขาไม่สามารถพูด

7.อย่าตัดสินใจเร็วเกินไป

8.รับฟังด้วยหู เห็นด้วยตา และภาษาท่าทาง

9.ตั้งคำถามที่มีคุณภาพจะทำให้ได้เรียนรู้สถานการณ์ได้ดี

   โปรดติดตามขั้นตอนต่อไป 


หมายเลขบันทึก: 463751เขียนเมื่อ 4 ตุลาคม 2011 21:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 เมษายน 2018 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • รำพึงถึงพ้องเพื่อน
  • คำร้องเตือนมาฝากไว้
  • น้ำท่วมด้วยน้ำใจ
  • พี่น้องไทยรีบช่วยกัน .....

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท