ศาสตร์ คืออะไร


ศาสตร์ คืออะไร

ศาสตร์ คืออะไร

ศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Science  คือ กระบวนการค้นหาความรู้ความจริง อย่างเป็นระบบ ระเบียบ

 ความหมายคร่าว ๆ ของศาสตร์  คือ การประมวลเอาความรู้ระดับเบื้องต้นทั้งหลายรวมทั้งประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เช่น การเอาไม้แห้งเสียดสีทำให้เกิดความร้อน ฯลฯ มาเป็นระบบที่สอดคล้องกัน  มีลักษณะทั่วไปที่ใช้วิเคราะห์ได้กับทุกเหตุการณ์ในหมวดหมู่ของมัน เช่น เราพบว่าเอาของแห้งไม่ว่าจะเป็นไม้แห้ง หญ้าแห่ง มาเสียดสี หรือเอาหินกระทบกันให้เสียดสีมันก็เกิดความร้อน เราก็เอาความรู้และประสบการณ์ทั้งหลายมาประมวลได้เป็นข้อความคิดทั่วไปว่า การเสียดสีของของแข็งที่แห้งทำให้เกิดความร้อนได้  

ในแต่ละศาสตร์ก็จะมีทฤษฎี  ซึ่งเป็นองค์ความรู้ในศาสตร์แต่ละแขนงที่ใช้ในการหาคำตอบของปัญหาในหมวดหมู่นั้นๆ  ต่อเมื่อออกมาเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้จึงมาเป็นกฏในศาสตร์สาขานั้นๆ ศาสตร์อาจแบ่งออกเป็นสามแขนงใหญ่  คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องราวที่เป็นธรรมชาติ  ซึ่งแบ่งแยกออกเป็นวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์  เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เช่น วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิศวกรรม  จุดเด่นของการศึกษาด้านนี้คือมีกระบวนการพิสูจน์ทราบความรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์  และความรู้นั้นก็ได้มาอย่างมีเหตุผลน่าเชื่อถือ  ความน่าเชื่อถือนี้มีมากจนสามารถใช้เป็นจุดขาย และดูถูกศาสตร์สาขาอื่นได้ว่าไม่มีความเป็นศาสตร์ ข้อน่าคิดคือ คณิตศาสตร์เป็นเรื่องว่าด้วยตัวเลข ในธรรมชาติมีตัวเลขหรือไม่ มันไม่มี มันเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้น
อีกแขนงคือศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องที่ไม่ใช่ธรรมชาติสร้างขึ้น  หรือกล่าวในอีกทางคือศึกษาเรื่องที่มนุษย์กุขึ้นมาเอง  จุดนี้บางคนแบ่งออกเป็นสองสาย คือมนุษยศาสตร์คือการศึกษาสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  ศึกษาเพื่อให้มีความเป็นมนุษย์ยิ่งขึ้น  เช่นพวกวรรณกรรม ดนตรี ศิลปศาสตร์ทั้งหลาย  และสาขาสังคมศาสตร์ เป็นการศึกษาสภาพสังคม ในยุคหลังที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์เริ่มตั้งแง่ว่าสังคมศาสตร์จะนับว่าเป็นศาสตร์ได้หรือไม่  เพราะไม่มีวิธีพิสูจน์ความรู้อย่างเป็นระบบและเป็นเหตุผล  ดังนั้นนักสังคมศาสตร์จึงเริ่มใช้กระบวนวิธีการพิสูจน์อย่างวิทยาศาสตร์ทำให้สังคมศาสตร์พัฒนาอย่างมากในช่วยศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมา  จำพวกนี้เช่น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การบัญชี  และส่วนสุดท้ายคือนิติศาสตร์ เป็นศาสตร์ก้ำกึ่งระหว่างมนุษยศาสตร์กับสังคมศาสตร์  คือ กฎหมายเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เราศึกษากฎหมายในเรื่องการสร้าง การตีความ ดังเช่นนักอักษรศาสตร์วิเคราะห์วรรณกรรม แต่กฎหมายไม่ใช่เรื่องราวที่ทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์  แต่เป็นเรื่องราวของการศึกษาพฤติกรรมสังคมอยู่ด้วย เห็นได้ชัดจากการศึกษาสังคมศาสตร์กฎหมายที่วิเคราะห์ผลของกฎหมายต่อสังคม  วิชานี้ก็เป็นสาขาหนึ่งของนิติศาสตร์  ด้วยความก้ำกึ่งนี้หากจะกล่าวให้ถูกต้องนิติศาสตร์จึงแยกออกมาเป็นอีกแขนงหนึ่งต่างหาก ต่อมาส่วนสุดท้ายของศาสตร์คือองค์ความรู้ในการศึกษาความเป็น หรือปรัชญานั่นเอง  แบ่งย่อยเป็นสี่แขนง คือ อภิปรัชญาศึกษาว่าอะไรคืออะไร ญาณปรัชญา ศึกษาความเป็นอย่างไร จริยปรัชญาศึกษาคุณค่าความดีงาม และสุนทรียปรัชญาศึกษาเรื่องความงามเป็นเช่นไร
นี่คือสิ่งที่ตกค้างอยู่บ้างในหัว

คำสำคัญ (Tags): #ศาสตร์ คืออะไร
หมายเลขบันทึก: 463422เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2011 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เอานำ้ใส่ขวดกระทิงแดงให้เต็มแล้วเอานิ้วโป้งแย่เขาไปที่ขวดแล้วดิ้งออกเร็วทำให้ตูดขวดกระทิงแดงแต่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท