ถ่ายทอดบทเรียนจาก “มหกรรมละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง”


ละคร

ละครสะท้อนความจริง 

ถ่ายทอดบทเรียนจาก มหกรรมละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง

 

คงไม่ต้องโฆษณาอะไรให้ใครต้องอิจฉาอีก สำหรับความสนุกสนานและเสียงหัวเราะในมหกรรมละครเพื่อการเปลี่ยนแปลง นัดส่งท้ายเมื่อต้นกันยายนที่ผ่านมา ณ หอจดหมายเหตุพุทธทาสฯ สวนรถไฟ กรุงเทพ

แต่สำหรับมุมความรู้และประสบการณ์ที่วิทยากรด้านสื่อสร้างสรรค์แถวหน้าของเมืองไทยต่างสกัด และ สรุป ผ่านวงการสัมมนาในห้องย่อย ที่บรรยายและแลกเปลี่ยนกันอย่างออกรสควรค่าต่อการแบ่งปันด้วยประการทางปวง ประหนึ่งการบอกต่อๆถึงเรื่องราวดีๆระหว่างกัน

หากละครของพวกเขามิใช่เพียงแค่ความบันเทิง ค่าที่ว่ามันได้ช่วยสะท้อนความจริง ก่อนสร้างปัญญาอันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง 

ระหว่างทางจากสองตา หนึ่งสมอง ก่อนเป็นท่าทางที่กลางเวที ลองมาฟังดูว่าพวกเขาได้อะไรมาบ้าง

ปองจิต สรรพคุณ หรือเจ๊จ๋อนของน้องๆมะขามป้อม พูดในวงสนทนาในหัวข้อ สร้างสันติภาพด้วยศิลปะ   

ทำให้เราเป็น หนึ่งเดียวกับชุมชน

การ ทำละครร่วมกับชุมชนนั้นมีหัวใจที่สำคัญก็คือ การทำความรู้จักชุมชนนั้นๆอย่างแท้จริง ต้องมีการลงพื้นที่ เก็บข้อมูล สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างตัวเรากับชุมชน เพื่อหาประเด็นในชุมชน ซึ่งการลงไปในชุมชนเราจะไปดูแต่ปัญหาของชุมชนไม่ได้ เราต้องลงไปศึกษาปัญญาหรือของดีในชุมชนด้วย ซึ่งการลงชุมชนที่ถูกวิธีจะต้องคุยเรื่องดีๆ หรือใช้ทักษะในการมอง เพื่อจะเปิดหัวในการคุยอย่างไร จึงจะได้ข้อมูลที่กรองที่สุด และที่สำคัญก็คือเราจะลงชุมชนแค่ครั้งเดียวไม่ได้ เพราะการลงชุมชนต้องลงหลายครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน ครั้งต่อไปก็เริ่มผลิตละคร เพื่อที่จะจัดแสดงในชุมชน

ก่อน การเริ่มแสดงเราจะต้อง มีการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ชาวบ้านได้รับรู้ ซึ่งการเข้าไปของมะขามป้อมจะเข้าไปเชิญชวนเพื่อความเป็นการกันเอง กระบวนการตีฆ้องร้องเป่า ก็เป็นการเรียกความสนใจที่ดี ซึ่งแสดงถึงความเป็นกันเอง เมื่อชาวบ้านเริ่มมาดูละครแสดง ก็ต้องมีการสร้างสัมพันธ์ เช่นกิจกรรมสันทนาการ การเตรียมคนดู สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ทำความรู้จักกับคนดู เพราะการนำเสนอละครบางเรื่องเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความเป็นกันเองให้เกิดขึ้นก่อน หลังจากนั้นก็เริ่มการแสดง และกระบวนการสุดท้ายก็คือ การพูดคุยหลังละครจบหรือการเสวนา อาจจะเป็นการตั้งคำถามกับชุมชน เพื่อให้เกิดการพูดคุยในชุมชน หลังจากนั้นก็คือกระบวนการถอดบทเรียน

ละคร ชุมชนของมะขามป้อมจะเริ่มจากความสนุกสนาน และความยืดหยุ่น ซึ่งเรื่องบางเรื่องก็เกินการควบคุมจึงจะต้องเผื่อความยืดหยุ่นเข้าไปด้วย และในขั้นตอนนี้เราจะได้ทักษะของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และสิ่งที่มะขามป้อมจะเรานำเสนอก็คือ การมีส่วนร่วม และความหลากหลาย เพราะมะขามป้อมคือพื้นที่เปิดสำหรับทุกเพศทุกวัย ผลที่เกิดขึ้นของกระบวนการนี้ก็คือ พื้นที่การยอมรับในตัวของกลุ่มเยาวชน ชุมชนยอมรับในตัวของเยาวชน เยาวชนสามารถผลิตสื่อในชุมชน


สฤญรัตน์  โทมัส (พี่เจีย) นักละครบำบัด กับหัวข้อ ละครบำบัด

เรื่องที่ค้างในใจ ใช้ละครพูดแทน

กับ ความสงสัยที่ว่า ละครจะช่วยบำบัดอาการซึมเศร้า สมาธิสั้น ออทิสติค ความเหงาหรืออาการของคนเก็บกดได้อย่างไรนั้น พี่เจียเริ่มจากตัวเองก่อนที่ได้ลองเล่นละครแล้วทำให้รู้สึกว่า การได้เล่นละครนั้นทำให้สามารถนำสิ่งที่อยู่ข้างในออกมาได้จริงๆ ด้วยการแสดงออกมาทางร่างกาย มันสามารถสื่อสารได้โดยการไม่ต้องพูดก็ทำให้เล่าเรื่องราวที่อยากจะบอกได้ เช่นกัน ที่สำคัญคือทำให้รู้ว่าละครนั้นมันทำให้อาการเหล่านั้นหายไปและดีขึ้น เรื่อยๆ ซึ่งพอได้เคยร่วมงานกับแพทย์ นักจิตวิทยาและนักจิตบำบัดได้เรียนรู้ในศาสตร์ต่างๆ จึงทำให้ได้รู้ว่าการทำจิตบำบัดได้มีการใช้การแสดงบทบาทรวมกับเทคนิคในละคร บางอย่างทำร่วมกันมานานแล้ว และมีประสิทธิภาพที่สามารถช่วยให้เข้าถึงผู้ที่ต้องการการบำบัดได้เร็ว มีความนุ่มนวลขึ้นด้วย

 แต่ ทั้งหมดทั้งมวลก็ใช่ว่าการใช้ละครบำบัดนั้นจะรักษาได้เร็วเสมอไป ซึ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่อาการของผู้ที่เข้ามารับการบำบัดว่ามีอาการหนักเบา ต่างกันไป เพราะถ้าผู้ที่มีอาการที่หนักมากก็ต้องมีการใช้เวลาที่จะทำความเข้าใจก่อน และที่สำคัญที่สุดคือการทำให้ผู้มารับการบำบัดเกิดความเชื่อใจในตัวเราให้ ได้ เพราะถ้าไม่สามารถผ่านตรงนี้ไปได้ผู้ต้องการบำบัดก็จะไม่เปิดก็จะทำให้ไม่ สามารถบำบัดได้ แต่การรักษาหรือบำบัดด้วยวิธีใดก็ตามแต่ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ มากแค่ไหนแต่สิ่งที่จะทำได้ดีที่สุด สำคัญที่สุดในการบำบัดก็คือ การสังเกตุ สายตา เข้าใจ และให้เวลากับมัน

สิ่ง ที่อยู่ข้างในบางอย่างไม่สามารถพูดออกมาได้ แต่อยู่ในโลกละครโดยการใช้เทคนิคของมันสะท้อนกลับไปและกระตุ้นกลับไป ถ้าใจเราไม่นิ่งมันจะสะท้อนอะไรออกมาเองแล้วปล่อยให้กระบวนการทั้งหมดนำออก มาเอง

           

           .อรรถพล อนันตวรสกุล ที่ปรึกษาและผู้ก่อตั้ง “ชมรมละครครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับหัวข้อ “ชมรมละครกับการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น”

รู้การทำงานจริง

            เรียนรู้จากการทำงานจริง ผ่านกระบวนการเผชิญสถานการณ์ และการเรียกร้องให้ลงมือปฏิบัตินี่ คือสิ่งสำคัญที่คนทำละครจะได้รับ ละครจะช่วยให้พวกเขาเกิดการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่ไม่ใช่แค่ทักษะทางละครเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงทักษะในการวางแผนการทำงาน การเปิดใจเรียนรู้ เรื่อยไปจนถึงความเป็นมนุษย์ที่รู้จักตนเองและยอมรับผู้อื่น สิ่งเหล่านี้จะเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเติบโตไปในอนาคต

สุมณฑา ปลื้มสูงเนิน  เครือข่ายเยาวชนเพื่อการพัฒนา กับ การใช้ละครเพื่อการพัฒนาเยาวชน

หัวใจของละครไม่ได้อยู่ที่ผลงาน แต่คือกระบวนการ

กลุ่มไม้ขีดไฟเริ่มต้นตั้งกลุ่มจากการทำงานในรูปแบบกระบวนการค่าย หรือกิจกรรมแบบกลุ่มเป็นหลัก  หลังจากนั้นเมื่อทำงานมาได้ระยะหนึ่งก็มีโอกาสพบปะกับกลุ่มพี่ๆ ที่ทำงานเยาวชนเหมือนกัน  และ ได้มีโอกาสทำความรู้จักกับเครื่องมือละครที่มีความน่าสนใจมาก และเมื่อได้มีโอกาสได้เรียนกับมืออาชีพจากประเทศฟิลิปินส์ ก็ทำให้พบว่ากระบวนการละคร เป็นเครื่องมือที่ทำงานตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด เพราะเด็กและเยาวชนต่างก็ใช้อารมณ์ในการเรียนรู้ ละครก็เช่นเดียวกัน


ละคร เริ่มต้นจากการเรียนรู้ที่อารมณ์ เพื่อนำไปสู่เหตุและผล โดยสามารถสื่อสารเนื้อหาได้ปริมาณมาก ประทับอยู่ในใจของผู้ชมได้ยาวนาน กลุ่มไม้ขีดไฟจึงนำกระบวนการละครมาเป็นกระบวนการหลักในการทำงานกับเด็กและ เยาวชน

หัวใจ ของการทำละครไม่ได้อยู่ที่ผลงานที่ได้ แต่อยู่ที่กระบวนการ เพราะกระบวนการทำละครทำให้เด็กได้ฝึกคิด รู้จักการแก้ปัญหา เรียนรู้การจัดการต่างๆ และที่สำคัญมันเป็นการเรียนรู้แบบบูรณาการทางศิลปะ ซึ่งเปิดพื้นที่ให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้ ที่ถ้าจะเรียกเป็นวิชาการหน่อยก็คือ พหุปัญญานั่นเอง


ใน การทำละครแต่ละเรื่อง จะมีอยู่ด้วยกันหลายหน้าที่ ใครถนัดแสดงท่าทางก็มาเป็นนักแสดง ใครที่ไม่ชอบพูดแต่ชอบออกแบบก็มาเป็นฝ่ายเสื้อผ้า ใครที่มีทักษะเรื่องศิลปะก็มาทำฉาก ทุกคนจึงมีส่วนร่วมได้ทั้งหมด ดังนั้นจะทำละครให้สำเร็จได้ก็ต้องมีความเป็นทีม นี่จะทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้จากการทำงานโดยที่เค้าไม่รู้ตัว สิ่งเหล่านี้พี่เอให้คำอธิบายว่ามันเป็นกลวิธีที่แนบเนียน ที่เราไม่ต้องมานั่งออกแบบเป็นขั้นตอนหนึ่ง สอง สาม แต่ทุกคนจะรู้จักขั้นตอนของการทำงานด้วยตัวเขาเอง อีกทั้งกระบวนการฝึกซ้อม การทำซ้ำ ย้ำทวนบ่อยๆ จะนำไปสู่ความเข้าใจ เกิดการตระหนักที่จะพาไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สร้างมุมมองในคุณค่าของตนเอง เคารพตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะนำพาไปสู่การเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตอย่างแท้จริง

ใครชอบแบบไหนเอาไปเป็นประสบการณ์ตามใจชอบ

คำสำคัญ (Tags): #ละคร
หมายเลขบันทึก: 463401เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2011 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท