หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

ENV a72 : อะไรบ้างที่มีผลต่อการได้รับฟอสฟอรัสของร่างกาย


การแปลผลเป็นเรื่องยาก คนทั่วไปที่อยากจะรู้ว่าฟอสฟอรัสในร่างกายสมดุลหรือไม่ จึงอาจใช้สัญญาณเตือนบางอย่าง ดูแลตัวเองไปก่อน

เคยเล่าเรื่องเมนูอาหารและแหล่งพืชที่มีฟอสฟอรัสต่ำเอา ไว้ เผื่อคนที่จำเป็นต้องจำกัดฟอสฟอรัสจะได้ใช้ประโยชน์ บันทึกนี้ขอเติมต่อ เพื่อใช้ประโยชน์ในการระวังการได้รับฟอสฟอรัสสูงทางอ้อมไปด้วยกัน

ทุกอย่างในโลกมี 2 ขั้ว ขั้วหนึ่งเสริมให้ร่างกายได้รับเยอะ อีกขั้วหนึ่งขวางไม่ให้ได้เยอะเพื่อให้เกิดสมดุล เรื่องของอาหารก็มี 2 ขั้วที่ธรรมชาติสร้างไว้คานกัน  ขั้วหนึ่งเสริมการดูดซึม อีกขั้วขวางการดูดซึม

ขอเล่าด้านขั้วเสริมก่อน ตัวช่วยที่ทำให้ฟอสฟอรัสดูดซึมเข้าร่างกายได้ดี เป็นพวกเหล่านี้ :  วิตามิน ดี แคลเซียม และพาราธัยรอยด์ฮอร์โมน อาหารที่มีไขมันสูง

สภาพของการย่อยที่ป้องกันการดูดซึมไขมัน จะเพิ่มการดูดซึมของฟอสฟอรัสในลำไส้ และลดปริมาณของแคลเซียมที่ถูกดูดซึม ทำให้ความสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสผิดไป

ด้านขั้วขวางการดูดซึมก็เป็นพวกนี้ : เหล็ก อลูมินัม แมกนีเซียมที่มีปริมาณมาก  ธาตุพวกนี้พยายามรวมกับ ฟอสฟอรัสเพื่อไม่ให้ละลายน้ำ  น้ำตาลทรายขาว จะไปรบกวนความสมดุลของแคลเซียมและ ฟอสฟอรัส

ในด้านของการออกฤทธิ์ ก็มีเรื่องของ 2 ขั้วเช่นกัน สิ่งที่บริโภคแล้วทำให้ฟอสฟอรัสออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น ได้แก่  วิตามิน เอ ดี ไขมันไม่อิ่มตัว  แคลเซียม  เหล็ก  แมงกานีส และโปรตีน

ส่วนสารต้านฤทธิ์ ได้แก่ สุรา  ยาแก้สภาพกรดในกระเพาะ  ยาแอสไพริน ยาลดไข้ แก้ปวด  ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ เช่น คอร์ติโซน เพร็ดนิโซโลน เพร็ดนิโซน  ยาขับปัสสาวะ และ ยาพวกไทรอยด์

วันนี้การตรวจเลือดไม่สามารถใช้ฟอสฟอรัสตัวเดียวเป็นตัวบ่งบอกเกี่ยวกับ ฟอสฟอรัสที่ดีได้ เพราะกลไกการจัดการสมดุลของมันไม่ได้เป็นกลไกเดี่ยว แต่พ่วงอยู่กับแคลเซียมตลอดเวลา และมีการเคลื่อนย้ายเข้าออกจากเซลล์มาเกี่ยวข้องด้วย จึงมักตรวจคู่กับแคลเซียม แล้วใช้ร่วมกัน  การแปลผลมีการกลั่นกรองหลายขั้นตอนกว่าจะสรุปว่าขาดหรือเกินพอดี (สนใจลองอ่านดูที่นี่)

การตรวจปัสสาวะหาระดับฟอสฟอรัสสะท้อนบอกเพียงระดับฟอสฟอรัสจากอาหารที่ บริโภคเข้าไป และใช้ได้ในภาวะที่ร่างกายปกติเท่านั้น ในสภาวะที่ร่างกายผิดปกติใช้ไม่ได้

ด้วยเหตุที่การแปลผลเป็นเรื่องยาก คนทั่วไปที่อยากจะรู้ว่าฟอสฟอรัสในร่างกายสมดุลหรือไม่ จึงอาจใช้สัญญาณเตือนบางอย่าง ดูแลตัวเองไปก่อน

วิธีสังเกตตัวเอง สังเกตชนิดอาหาร เครื่องดื่ม และยาที่บริโภคเข้าไป  จะช่วยเตือนภัยเงียบของฟอสฟอรัสขาด-เกินได้ ตัวอย่าง เช่น  ผู้คนที่นิยมบริโภคเครื่องดื่มโคคาโคล่าที่มีกรดมดอยู่  เมื่อไรตรวจพบแคลเซียมต่ำในร่างกาย ให้สังหรณ์ใจว่าอาจจะมีฟอสฟอรัสในร่างกายตนสูงอยู่

อาการเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้น เช่น ความไม่อยากอาหาร น้ำหนักลด หรือตรงกันข้ามน้ำหนักเพิ่ม หายใจผิดปกติ เหนื่อยล้าทั้งร่างกายและจิตใจ มีความผิดปกติของประสาทที่เกิดขึ้นกับตัว ให้รับรู้ไปก่อนว่าอาจจะกำลังขาดฟอสฟอรัส และไปพบแพทย์เพื่อให้ช่วยค้นหาโรคที่เกี่ยวข้องให้ต่อไป

28 กันยายน 2554

หมายเลขบันทึก: 463187เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2011 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท