“ทักษะชีวิต..ทักษะจำเป็นในการดำรงชีวิต”


Journal  ครั้งที่ 12

เรื่อง   “ทักษะชีวิต..ทักษะจำเป็นในการดำรงชีวิต”

 

@กราบเรียน     ท่านอาจารย์ ดร.ประเสริฐ  มงคลที่เคารพรัก

           

                        การดำรงอยู่ในสังคมในบทบาทของครูหรืออาจารย์ ควรจะต้องมีความเท่าทันและเรียนรู้ร่วมกันกับสังคม เพราะบทบาทของครู อาจารย์สิ่งหนึ่งคือการจัดประสบการณ์และกระตุ้นผู้เรียนพัฒนาศักยภาพทั้งทางความรู้ ทักษะและค่านิยมเพื่อจะนำไปใช้ได้จริงในสังคม เราจึงปฏิเสธไม่ได้ถึงสถานการณ์หรือการขับเคลื่อนต่างๆ  ในสังคมเพราะ ครูเป็นผู้หนึ่งที่ดูแลผลผลิตนั่นก็คือ เด็ก/เยาวชน ที่จะเติบโตเป็นพลังสังคมต่อไป

หนูได้มีโอกาสอ่านบทความของ อ.นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์ เรื่อง “ความรุนแรงในสังคมไทย” ที่พูด

ถึง การที่นักวิชาการหลายคนกล่าวว่า สังคมไทยมีพลังวัฒนธรรมที่ระงับความรุนแรง เพียงแต่ว่าเราไม่ได้นำพลังนั้นมาใช้ระงับหรือหลีกเลี่ยง จะเห็นว่าจากเหตุการณ์บ้านเมืองที่มีความรุนแรงเกิดขึ้น ประชาชนรากหญ้าถูกดึงเข้ามาเพิ่มพลังมวลชนในเหตุการณ์ความรุนแรงหลายเหตุการณ์  ในบทความกล่าวถึงชนชั้นกลางที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังกระบวนการ ที่ปฏิเสธที่จะระงับความรุนแรงแต่ตอกย้ำและทำเหมือนเป็นสิ่งที่ต้องเกิดเพื่อยุติข้อขัดแย้งทั้งหมด ขณะนี้วัฒนธรรมเดิมของคนไทยโดยชุมชนและสังคมถูกแยกออกจากกัน ดังนั้นฐานรากของสังคมสมัยใหม่จึงไม่ได้ก่อเกิดจากวัฒนธรรมไทยดั้งเดิม ความรักในชาติบ้านเมืองของเราหายไป สิ่งที่บทความได้พูดไว้

 

เราควรจัดการศึกษา (ทั้งในแบบและนอกแบบ) ให้เอื้อต่อสำนึกถึง “สังคม”

ที่เปิดกว้างและรังเกียจความรุนแรง”

 

จากข้อความข้างต้นและจากสรุปบทความดังกล่าวทำให้หนูได้สะท้อนคิดในเรื่องของการ

ปลูกฝังที่จริงจัง..เสียทีในเรื่องของความมี  ทักษะชีวิต  เพราะ คุณลักษณะนี้เป็นหนึ่งในสมรรถนะของเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ที่กระทรวงศึกษาธิการระบุไว้ สมรรถนะนี้เองประกอบไปด้วย ทักษะหลัก คือทักษะระหว่างบุคคลและเข้าใจตนเอง (Interpersonal & Self-Directional Skills) ทักษะย่อย คือทักษะระหว่างบุคคลและการร่วมมือร่วมใจ (Interpersonal and Collaborative Skills) ,  ทักษะการเข้าใจและรู้ทิศทางของตนเอง (Self-Direction), ทักษะในการปรับตัว (Accountability and Adaptability) และ ทักษะในฐานะเป็นสมาชิกของสังคม (Social Responsibility) 

 

 

 

ปัจจุบันทักษะเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นและคนที่เป็นครู อาจารย์พึงให้ก่อเกิดในศิษย์ เพราะ

จะเป็นภูมิคุ้มกันชีวิตในการแสดงพฤติกรรมทุกสิ่งทุกอย่างในสังคมได้อย่างเหมาะสมตามสิทธิและหน้าที่ของตน ในครั้งนี้คงจะเป็นเรื่องที่หนักสำหรับครูแต่อย่างไรก็แล้วแต่ความรับผิดชอบต่อสังคมก็เป็นสิ่งที่ครู อาจารย์พึงสังวรณ์อย่างยิ่ง

 

 

 

ด้วยความเคารพรักอาจารย์อย่างสูง

น.ส.สุจิตรา ปันดี  54253910

ศิษย์สาขาหลักสูตรและการนิเทศ 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ทักษะชีวิต
หมายเลขบันทึก: 463110เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2011 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 03:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดิฉันเข้ามาอ่านเพราะคำ "ทักษะชีวิต"

เข้าใจว่าอาจารย์เขียนบันทึกนี้เพื่อบอกว่า ครูควรสอนทักษะชีวิตให้แก่นักเรียน - ดิฉันเห็นด้วยประเด็นนี้  ทักษะชีวิตเริ่มในเมืองไทยกว่า 10 ปี แต่ไปได้ช้า เพราะสอนยากประการหนึ่ง

สอนยากเพราะ การสอนทักษะชีวิตเน้นที่ "กระบวนการคิด"

และที่สำคัญ ตัวแบบในสังคมเราหายากขึ้นทุกวัน สื่อลบ สื่อรุนแรง มากและไม่มีการควบคุม  แม้ครูสอนดีอย่างไรก็ทานไม่อยู่ค่ะ

เสริมคุณ nui

ครูสอนดีอย่างไร ครูคนเดียวทานไม่อยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท