ปฎิรูป กทม.เป้นตัวอย่าง - เลือกตั้งผุ้บริหารเขต สร้าง กทม.มีศักดิ์ศรี เมืองหลวง และ ราชธานี


เป็นกฎหมายของทุกชนชั้นและคนไทยทุกคน

ผนึกพลังสร้าง กทม. เป็น เมืองหลวง และ ราชธานี ที่มีศักดิ์ศรีแก้ พรบ.โครงสร้าง กทม. – เลือกตั้งผู้บริหารเขต ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกระดับรวบรวมหมื่นรายชื่อ เสนอ ร่าง พรบ.ต่อสภาผู้แทนในเดือน มกราคม 2555

 

 เมื่อวันที่ 23  กันยายน 2554 ณ  คณะนิติศาสตร์ นิด้า ได้มีการร่วมประชุมของผู้แทน 4  ภาคี ได้แก่ สภาองค์กรชุมชน กทม.(นายสมพงษ์ พัดปุย และ คณะทำงานยุทธศาสตร์)  พรรคการเมือง (พรรคเพื่อไทย – นายวิชาญ มีนชัยนันท์   พรรคประชาธิปัตย์ - นายกษิต ภิรมย์  นายณัฏฐ์ บรรทัดฐาน) และ สถาบันการศึกษา(ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ คณะนิติศาสตร์ นิด้า)  ภาคประชาสังคม (นายกนกรัฐ สิงหะพงษ์ มูลนิธิการพัฒนาพื้นฐาน)  ทั้งสี่ฝ่ายได้ได้มีมติร่วมกันเคลื่อนไหวเสนอแก้ พรบ.การบริหารราชการ กทม.ดังนี้

ความเป็นมา 

        เนื่องจาก กทม.จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม.ใน 15 เดือนข้างหน้า  ขณะเดียวกัน กทม.กำลังเตรียมการเสนอร่างแก้ไข พรบ.การบริหารราชการ กทม. พศ.... แต่ร่างดังกล่าวยังมีความบกพร่องหลายประการโดยเฉพาะเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน    

ความจำเป็นต้องแก้ พรบ.กทม. 

ขณะที่กรุงเทพมหานครขยายเป็นความหวังของคนไทยและมีททบาทสำคัญเป็นเมืองสากล แต่การพัฒนาติดขัดเนื่องจากปัญหาโครงสร้าง กล่าวคือองค์กรบริหาร กทม. มีระบบที่เทอะทะและรวมศูนย์ส่วนกลางมากเกินไป  ระบบราชการมีข้อจำกัดและซ้ำซ้อนก่อให้เกิดการทุจริต  การบริหารประชาชนซึ่งมีศูนย์อำนวยการอยู่ที่สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ขาดประสิทธิภาพเนืองจากผู้อำนวยการเขตมาจากการเลือกตั้งไม่สนองประชาชนอย่างที่ควรจะเป็น 

เพื่อสนองการบริการประชาชนอย่างดีเลิศและเป็นตัวอย่างท้องถิ่นปฎิรูปในแนวทาง “จังหวัดจัดการตนเอง”  จึงเห็นจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้าง กทม.ทั้งระบบ

ความคาดหวัง

จัดโครงสร้างใหม่ เพื่อส่งเสริม กทม.เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ในการสนองบริการประชาชนอย่างดีเลิศ  มีศักดิ์ศรีความเป็น เมืองหลวง และ ราชธานี   กทม.พัฒนาทันโลก เป็นตัวอย่างดีเด่นต่อสากล  และเตรียมพร้อมการเปิดประชาคมอาเชี่ยนในปี 2558

กระบวนการเสนอกฎหมาย

          ทุกกลุ่มคนใน กทม. คนไทยทุกคน  รวมทั้งผู้มคนต่างด้าวที่มาพำนักอาศัย  มีส่วนร่วมในการเสนอความเห็นเพื่อยกร่าง พรบ.กทม. เพื่อให้เป็นกฎหมายของประชาชนอย่างแท้จริง   

          ขณะเดียวกันถือเป็นโอกาสการให้ข้อมูลข่าวสาร  ความรู้  พัฒนาประชาชนสู่ความเป็น “พลเมือง”ที่ตื่นตัว

หลักการ ร่าง พรบ.กทม. 

  • เป็นการยกร่างใหม่ด้วยแนวความคิดใหม่  (ไม่ปะผุร่างเดิม) ประชาชนลงรายชื่อเสนอกฎหมายเอง
  • มุ่งได้ร่างกฎหมายที่ดี พร้อม ๆ กับ การพัฒนาขบวนการภาคประชาชน
  • ทุกฝ่ายได้เข้ามีส่วนร่วม (ประชาชน  ราชการ   ฝ่ายการเมือง  ภาคธุรกิจ  ประชาสังคม)
  • เน้นให้ความสำคัญการเปลี่ยนแปลงระดับเขต   ปรับหน้าที่บทบาทผู้ว่า กทม.ใหม่ กระจายอำนาจสู่ข้างล่าง

เนื้อหาสำคัญ พรบ.ที่ต้องการ

1)แบ่งกลุ่มเขตเป็น นครย่อย  2)ผู้บริหารเขต มาจากการเลือกตั้ง   3) สภาเขตมีอำนาจกำหนดนโยบาย ควบคุมผู้บริหารเขต  4)  กรรมการขุมชนใช้วิธีสรรหา มีอายุ 4 ปี   5)สภาองค์กรชุมชนมีบทบาทกำกับทางนโยบายสภาเขต  อยู่ในโครงสร้างทั้งระดับเขต  นคร  กรุงเทพมหานคร

ประเด็นอื่น ๆ – มีกองทุนพัฒนาชุมชน   กองทุนพัฒนาเยาวชน   โรงเรียนเป็นนิติบุคคลภายใต้การกำกับโดยประชาชน   คนต่างด้าวมีสิทธิเลือกตั้ง   นิยาม “ชุมชนใหม่”ให้มีเนื้อหากว้างขวาง เปิดการมีส่วนร่วม

คณะทำงาน 

คณะอำนวยการกลาง – ประกอบด้วยผู้แทนองค์กรภาคี ได้แก่  ภาคประชาชน  พรรคการเมือง   สถาบันการศึกษา/สโมสรนักศึกษา  ผู้แทนภาคราชการ   ภาคธุรกิจ และ องค์กรประชาสังคม

          องค์กรเครือข่าย – องค์กร/เครือข่ายชุมชนและกลุ่มกิจกรรม    มหาวิทยาลัย/สโมสรนักศึกษา   สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  กลุ่มแรงงาน  องค์กรสื่อ  Thai PBS  เครือข่ายปฎิรูปประเทศไทย   ฯลฯ

          องค์กรภาคี – คณะกรรมการปฎิรูปประเทศไทย  เครือข่ายจังหวัดจัดการตนเอง  สภาองค์กรชุมชนระดับชาติ   สภาพัฒนาการเมือง  สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)  สถาบันพระปกเกล้า

 กิจกรรมที่จะดำเนินการ (กรอบเวลา 8 เดือน)

          ก.ย.    จัดตั้งคณะทำงาน  ทำแผนงาน           

          ต.ค.-   พ.ย. เปิดตัวที่รัฐสภา    ประชาพิจารณ์ระดับเขต

          ธ.ค.    สรุปปรับปรุงร่าง  นำเสนอร่างเพื่อขอประชามติจากประชาชน

          ม.ค.55 เสนอเข้าสภาผู้แทนราษฎร์ 

         ก.พ.- เม.ย. ติดตามความคืบหน้าการพิจารณาของสภาฯ  รณรงค์

                      ในชุมชนและสาธารณะ ต่อเนื่อง

คณะประสานงานภาคประชาชน (ริเริ่ม)

          สมพงษ์ พัดปุย  มูลนิธิการพัฒนาพื้นฐาน 081-866-3596   e-mail: [email protected]

          ณัชพล  เกิดเกษม     สมัชชาสภาองค์กรชุมชน กทม.  081-433-5158   e-mail: [email protected]

          ดร.บรรเจิด  สิงคะเนติ  คณะนิติศาสตร์ นิด้า  081-444-2703  e-mail: [email protected]

            สุรศักดิ์  อินทรประสิทธิ์  สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง (กทม.)   085-322-1218   e-mail: [email protected]

สำนักงาน : คณะนิติศาสตร์   นิด้า

      ชั้น 5 อาคารบุญชนะ อัตถากร  สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

       คลองจั่น บางกะปิ  กทม.

             e-mail: [email protected]

ข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม

          http://coc.nida.ac.th/

          http://www.gotoknow.org/blog/users/localthai

          http://www.facebook.com/สภาองค์กรชุมชน กทม.

หมายเลขบันทึก: 462934เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2011 18:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท