พระครูอุดมธรรมานุกิจ
พระ พระครูอุดมธรรมานุกิจ อุตฺตโม บัวทะราช

แกรไฟด์ (graphite)


ธาตุคาร์บอน

แกรไฟด์ (graphite)

          แกรไฟด์ เป็นรูปหนึ่งของคาร์บอนเกิดจากอะตอมของคาร์บอนสร้างพันธะโคเวเลนต์กับอะตอมคาร์บอนที่อยู่ข้างเคียงอีก  3อะตอม ทำให้เกิดการยึดเหนี่ยวเป็นโครงตาข่ายเป้นชั้น ๆ มีความแข็งแรงภายในชั้นสูง ส่งผลให้แกรไฟด์มีจุดหลอมเหลว และจุดเดือดสูง ส่วนแรงยึดเหนี่ยวระหว่างชั้นเป็นแรงแวนเดอวาลส์ ซึ่งเป็นแรงยึดเหนี่ยวที่ไม่แข็งแรงนักดังนั้นแกรไฟด์จึงสามารถแตกหักและเลื่อนไหลออกเป็นชั้น ๆ ได้ง่าย

         การที่คาร์บอนมีการสร้างพันธะกับอะตอมคาร์บอนข้างเคียงเพียงแค่ 3 อะตอม ทำให้คาร์บอนแต่ละอะตอมเหลืออิเล็กตรอนอยู่อีก 1 อนุภาค ซึ่งเป็นอิเล็กตรอนที่เหลืออีก 1 อนุภาค นี้ สามารถเคลื่อนที่ไปตามอะตอมต่าง ๆ ภายในชั้นได้ทำให้แกรไฟด์สามารถนำไฟฟ้าได้ตามแนวชั้น

โพแทสเซียมไนเตรต(KNO3)

        โพแทสเซียมไนเตรต หรือเรียกว่า  ดินประสิว  เป็นสารที่มีสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบตทีเรีย ได้หลายชนิด และสามารถรักษาเนื้อสดให้แดงสดอยู่เสมอ ทำให้มักถูกใช้เพื่อทำให้เนื้อเก่าที่ถูกเก็บไว้นานแล้วดูแดงสดเสมือนใหม่ อาหารที่มักมีการใส่สารประเภทนี้ คือ อาหารพวกไส้กรอก  กุนเชียงแหนม เบคอน เพื่อให้มีสีแดงสดแม้จะเก็บไว้นานวัน

        การบริโภคสารโพแทสเซียมไนเตรต ในปริมาณมาก ๆ อาจก่อให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรง เกิดอาการตัวเขียว หายใจไม่ออกได้ (ตาย)

        จะรับประทานอาหาร เตือนให้ระวังไว้เป็นดี  ในเทศกาลนี้กินเจ ดีที่สุดครับ แต่ให้เลือกให้เหมาะกันสุขภาพตัวเอง เน้อ

จาก แบบเรียนเคมี  ม.4  (อจท.)

หมายเลขบันทึก: 462779เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2011 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 10:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขออนุโมทนา สาธุ ขอรับ

นมัสการครับ

ที่ << http://en.wikipedia.org/wiki/Graphite >> มีรูปแสดง อะตอมของคาร์บอนหนื่งอะตอม จับต่อกับ อะตอมของคาร์บอนอีกสามอะตอมได้อย่างไร โดยทั่วไปแล้ว ก็เหมือน รังผึ้ง ธรรมดา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท