ระยะห่างของความสัมพันธ์ โดย นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์


ระยะห่างของความสัมพันธ์ โดย นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์


     โจทย์ของผมคือ ศิลปินนอกพื้นที่ภาคอีสาน เป็นคำถามแรกในใจว่า ผมจะหาคำตอบได้ที่ไหนอย่างไร แล้วมันมีทางใหนที่ผมสามารถที่จะติดต่อ หรือพูดคุยกับศิลปินท่านนั้นได้อย่างง่ายและรวดเร็ว เพราะการที่จะไปสัมภาาณ์ศิลปิน ที่มีชื่อเสียงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายมากนัก โดยเฉพาะเรื่องเวลาและสถานที่ สิ่งที่ผมสามารถที่จะติดต่อกับคนอื่นได้ง่ายและรวดเร็ว คือโลกแห่งไซเบอร์ออนไลน์ที่เรียกง่ายๆว่าแซท นั้นเอง ประเด็นแรกที่ผมสนใจ คือศิลปินท่านนั้นจะต้องมีลักษณะแนวงานที่เรากำลังศึกษาอยู่ ผมจึงเลือก อาจารย์ นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ หัวหน้าภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
 

    ผม : หวัดดีครับอาจารย์

    อาจารย์ นิพันธ์ : ครับ หวัดดีครับ

    ผม : ผมเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัย มหาสารคามครับ ตอนนี้ทำงานเรื่องสัมภาษณ์ศิลปิน ผมสนใจในผลงานอาจารย์ก็เลยเลือกที่จะสัมภาษณ์อาจารย์ นิพันธ์ครับ

    อาจารย์ นิพันธ์ : ครับ แต่วันนี้เราง่วงมาก

    ผม : เหรอครับ เหนื่อยเหรอครับ

                   อาจารย์ นิพันธ์ : ไปทำธุระกับแม่กับญาติทั้งวันเลยครับ

       

      ผม : อืมมครับ

                     อาจารย์ นิพันธ์ : วันนี้เลยก็ได้ครับ!!! แต่ไม่มั่นใจว่าจะตอบไรได้นะครับ
         

          เพราะหลังจากนี้ต้องเตรียมงานไปเกาหลี เดี๋ยวไม่มีเวลา

          ผม : งั้นอาจารย์ช่วยเล่าประวัติ อาจารย์ ให้ฟังหน่อยได้มั้ยครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ : เกิดที่รพ.วชิระครับ แล้วย้ายไปๆมาๆกรุงเทพชัยภูมิ

          ผม : อ้าวอาจารย์เป็นคนอีสานเหรอครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ : ประมาณนั้น เอาเป็นว่าเป็นคนชัยภูมิแล้วกันครับ

          ผม : แล้วอาจารย์ชอบศิลปะหรือเริ่มเรียนศิลปะตอนไหนครับและ ในช่วงเด็กๆอาจารย์มีแรงบันบาลใจอะไรถึงได้มาเรียนศิลปะ

          อาจารย์ นิพันธ์ ชอบวาดรูปตั้งแต่เด็ก แรงบันดาลใจสำคัญคือการได้เรียนกับครู(จบเพาะช่าง)ตอนมศ. 1-3 ที่ชัยภูมิครับ แกเป็นต้นน้ำของผมหลายอย่าง ทำให้ตัดสินใจเรียนศิลปะที่เทคโนโคราช

          ผม : พอจบจากโคราชอาจารย์ไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นเลยรึเปล่าครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ : ป่าวครับ เรียนปวช แผนกศิลปกรรมที่เทคโนโคราช ช่วงนั้นได้เรียนกับใครหลายคน ทำให้อยากเข้าจิตรกรรมศิลปากร ก็มาเรียนที่ศิลปากร จบภาพพิมพ์ครับ

          ผม : ครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ : พอจบป.ตรี แล้วไปทำงานที่มสธ.(สุโขทัยธรรมาธิราช)ปีนึง สอนช่างศิลป์สามปี ค่อยไปสอบทุนญี่ปุ่นครับ จริงๆก่อนสอบทุนญี่ปุ่น(ตอนสอนช่างศิลป์)ผมเรียนโทที่ศิลปากรด้วย

          ผม : ครับ แล้วเรียนที่ญี่ปุ่น กี่ปีครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ : อยู่ที่ญี่ปุ่น 6 ปีครับ เรียนภาพพิมพ์นี่ล่ะ จบโทก็ต่อเอกเลยครับ

          ผม แล้วการเรียนการสอนศิลปะที่นั้นแตกต่างจากที่ไทยมากน้อยแค่ไหนครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ :  มันไม่เหมือนเรียนนะ การเรียนของเราขึ้นตรงต่อโปรเฟสเซอร์ครับ โดยเฉพาะตอนป.โท เค้าปล่อยเราทำงาน ผมตื่นเช้าไป มหาลัย เปลี่ยนชุดทำงานถึงเย็นทุกวัน เว้นเสาร์และวันอาทิตย์

          ผม :  เหรอครับ แล้วอาจารย์มีเพื่อนคนไทยไปเรียนด้วยกันเปล่าครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ :  มีรุ่นน้องครับ ที่ไปเรียนด้วย ที่ตามไปตอนหลังที่เห็นก็คือ อาจารย์ วิมลมาลย์ ขันธะชวนะ แต่ที่สถาบันอื่นก็มีอีกคนนะ

          ผม : ตอนนั้นการเป็นอยู่ยากลำบากมั้ยครับ และส่งผลต่อการทำงานศิลปะมากหรือเปล่าครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ : ผมได้ทุนครับ เลยไม่ค่อยลำบากครับ แต่ถ้าต้องหาตังค์เอง..น่าจะลำบากอยู่ครับ

          ผม : แล้วอาจารย์ได้กลับบ้านปีละกี่ครั้งครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ :  ครั้งแรกที่กลับนั้นเกือบสองปีครับถึงกลับ...หลังจากนั้นปีละหนครับ ^^

          ผม : โห้!!!นานมากครับ คิดถึงบ้านแย่สิครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ : ทุนส่วนนึงหมดไปกับค่าโทรศัพท์  ^^!

          ผม : ฮ่าๆๆ ^^

          ผม : แล้วภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากมั้ยครับ กับการติดต่อสื่อสาร และเวลาส่งงาน

          อาจารย์ นิพันธ์ : แน่นอนครับ แต่ของทางผมนี่ทางโน้นเค้าก็เข้าใจอะฮะ ผมเลยไม่เอาเป็นเอาตายกับภาษามากเท่าไร 

          ผม : แล้วงานช่วงที่เรียนอยู่ญี่ปุ่นอาจารย์ทำงานแนวไหนครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ : งานที่แสดงอยู่ ที่ มศว.ตอนนี้คืองานที่ทำที่นั่นครับ แต่ให้พูดว่าทำไรนี่ยาวแน่ ^^

          ผม :  ที่เกี่ยวกับเรื่องข้าวใช่เปล่าครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ :  ครับ นั้นเป็นงานช่วงหลังๆครับ ก่อนหน้านั้นทำภาพพิมพ์อย่างเดียว เบื่อมาก ไม่ไหว เลยหาทางออก

          ผม :  เรียนที่นั้นเค้าแบ่งแยกเรื่องเชื้อชาติมั้ยครับ ทั้งในการเรียน และในการเป็นอยู่

          อาจารย์ นิพันธ์ : ไม่มีนิครับ นอกจากเราจะรู้สึกไปเอง ผมก็รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนต่างชาตินะ แต่ไม่ได้รู้สึกแปลกแยกครับ ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้ ไม่รู้นะ!!!

          ผม : แล้วอาจารย์เรียนจบที่ญี่ปุ่น อาจารย์กลับมาเป็นอาจารย์ที่ ม.กรุงเทพเลยหรือเปล่าครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ : ครับ ก่อนไปผมก็เป็นอาจารย์ช่างศิลป์ลาดกระบังครับ แล้วตอนนี้อยู่ ม.กรุงเทพครับ ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ครับ

          ผม : งานอาจารย์ในปัจจุบัน ส่วนมากเป็นแนวไหนครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ : ก็เป็น conceptual based อ่ะครับ แต่งานที่ทำตอนนี้ก็มีหลายอย่างที่โตมาจากการเรียนภาพพิมพ์ ครับ

          ผม : แล้วตอนนี้ได้ทำงานภาพพิมพ์บ้างหรือเปล่าครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ : ไม่ค่อยได้ทำพิมพ์แล้วครับ นอกจากสอน

          ผม : เห็นงานอินสตอเรชั่น อาจารย์ ชุด city of ghost

          อาจารย์ นิพันธ์ : นั่นงานที่เริ่มทำประมาณปี 2005 ครับ แล้วพัฒนาคิดต่อ ทำต่อมาเรื่อยๆครับ

          ผม :  อาจารย์คิดว่าศิลปะ แนวอินสตอเรชั่น หรือแนวใหม่ๆมันมีความยากง่ายในความเข้าใจต่อผู้มาชมมั้ยครับ ที่จะทำให้เค้าเข้าใจในตัวงานเรา

          อาจารย์ นิพันธ์ :  งานอะไรก็ยากครับ หมายถึงยากต่อการทำความเข้าใจ.. ไม่ได้หมายความว่าอะไรยากกว่าอะไร.. คำว่างานแนวใหม่นี่ไม่แน่ใจว่าคืออะไรนะครับ ผมกำลังคิดว่ามันไม่มีอะไรใหม่ อยากให้เข้าใจว่าแม้แต่งานวาดเส้น เราก็ต้องการการเข้าถึงอะครับ ฉะนั้นไม่ใช่ปัญหายากง่ายเก่าใหม่กว่ากันนะครับ

          ผม : ครับ

          ผม : แล้วงานในชุดต่อไปอาจารย์ จะออกมาในรูปแบบไหนครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ :  กำลังคิดอยู่ครับ ธันวามีงานเดี่ยว g23 มศว ครับ ตอนนี้กำลังเตรียมงาน เสไนเปอร์ไปแสดงที่เกาหลี ครับ

          ผม : เป็นงานแสดงเดี่ยวหรือเปล่าครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ :  งานที่เกาหลีเป็นงานกลุ่มครับ เค้าให้เอางานไปชิ้นเดียวส่วนของเดือนธันวา ยังบอกไมได้จริงๆ ยังไม่แน่ชัดครับ

          ผม : อาจารย์ไปแสดงงานต่างประเทศบ่อยมั้ยครับ

          อาจารย์ นิพันธ์ : ไม่มากครับ หลังๆ ปีละหนสองหน แล้วแต่จังหวะครับ

          ผม : งานที่จะไปแสดงที่เกาหลีนี้ เป็นงานเกาหลีกับไทยรึเปล่าครับ เป็นระดับนานาชาติ หรือเป็นกลุ่มศิลปะเกาหลี

          อาจารย์ นิพันธ์ : ไม่แน่ใจครับ..รู้แต่เจี๊ยบจิมทอมสันเป็นคนคิวเรต ไปที่ Seoul Museum of Art

           

            ผม : ดีจังครับ ได้ไปเจอศิลปินต่างชาติได้ดูงานศิลปะด้วย

            อาจารย์ นิพันธ์ : ​ ^^

            ผม :  แล้วงานชุดนี้อาจารย์ต้องไปดูพื้นที่ติดตั้งงานก่อนมั้ยครับ

            อาจารย์ นิพันธ์ :  ไม่ครับ แต่ก็ให้รูปแบบการติดตั้งไป เพราะมันต้องทำผนังซ้อนขึ้นมาผนังนึงเลย

            ผม :  คนดูมองเข้าไปได้เปล่าครับ ตรงเลน ผมดูข้างในเหมื่อนมีอะไรอยู่ข้างในครับ เหมื่อนรูปถนนหรือคนยืนอะไรสักอย่าง

            อาจารย์ นิพันธ์ :  ครับ คือมีสามรู ผมใช้ภาพสามแบบอะครับ "อำนาจ"ภาพถ่าย พื้นที่ริมฟุตบาทในซอยรางน้ำ จากหน้าข่าวทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และอินเตอร์เนต นึกถึงคำ 4 คำ "อยู่" / "หาย" - "จริง" / "กลบ"

            "ระยะห่าง"
            ภาพถ่ายที่ผมถ่ายจากชั้นที่ 14 โรงพยาบาลจุฬาฯ กับระยะห่างระหว่างจุดที่ผมยืนและภาพร่มรื่นของสวนลุมพินี "การเฝ้ามอง"
            ภาพเคลื่อนไหวผ่าน CCTV ของ(ด้านหลัง)ผู้ดูงาน

                   

               

                    

               

                       อาจารย์ นิพันธ์ :  ใช้ภาพสามลักษณะดังที่ว่าครับ

                  ผม : คำว่าsniperนี้คือการเฝ้ามองหรือเปล่าครับ

                  อาจารย์ นิพันธ์ :​ คำว่า sniper หมายถึง พลซุมยิง ครับ ผมเอาทั้งความจริง ปรับแต่ง และอุปมาของมันมาใช้ แต่มีคนบอกว่าโหดอะครับ และน่าจะมีคนคิดว่าผมเป็นเสื้อแดง^^'

                    ผม :  ผมว่าไม่เหรอกครับ คนมีส่วนร่วมในงานด้วยครับ

                    อาจารย์ นิพันธ์ :  งานผมส่วนใหญ่มีkey word อยู่ที่คำว่า "ระยะห่าง" น่ะครับ แม่แต่ city of ghost "ระยะห่าง"ที่ว่าเป็นเชิงอุปมา ครับ ประเด็นสำคัญของผมคือการ พิจารณา สำเหนียกรู้ ตรึกตรอง สิ่งทั้งหลายอยู่ในพื้นที่"ระหว่าง"นั้น  แต่ก็บ่อยๆที่ผมใช้กายภาพและการเคลื่อนตัวเข้าออกของคนดูกับตัวผลงาน หรือการให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไปของระยะระหว่าง คนดูกับงาน เป็นกลวิธีในการขับเคลื่อนงาน ครับ 

                    อาจารย์ นิพันธ์ :  นี่อีกชิ้นครับ..ก่อนหน้านั้น

                    อาจารย์ นิพันธ์ :  เป็นงานปรุกระดาษใช้เพลงยาวอยุธยาเป็นเนื้อหา

                    ผม :  งานชิ้นนี้ ทำไมต้องวางไว้ที่พื้นอ่ะครับ ที่เป็นตัวหนังสือ!!

                    อาจารย์ นิพันธ์ :  อย่างที่บอกอะครับ "เล่น" กับระยะการดูของคนดู คนดูต้องก้มและนั่น ผมคิดว่ามันทำให้ระยะห่างของคนดูงานและเนื้อหาน่าจะถูกไตร่ตรอง

                     

                      อาจารย์ นิพันธ์ : อันนี้อีกนิทรรศการครับ

                              อาจารย์ นิพันธ์ :  การปรุกระดาษ ก็นำเอาวิธีคิดมาจากอักษรเบลล์ มาใช้ในงาน แต่นี่คนตาบอดอ่าน(สัมผัส)ไม่ออก คนตาดีก็ยังต้องเข้าไปใกล้ๆ เพราะอ่านลำบาก คนต้องก้มและเพ่งดูครับ

                              เพราะงั้นผมถึงบอกวามันเป็นทั้งการอุปมาและการเล่นกับกายภาพ(การเคลื่อนที่ซึ่งทำให้"ระยะห่าง"เปลี่ยน)ของคนดูกับงาน

                              ผม :  มันเป็นเม็ดอะไรครับใสๆ ทำเป็นเหมืื่อนหยดน้ำอ่ะครับ

                              อาจารย์ นิพันธ์ :  ทำด้วยเรซินครับ!!! ข้างในเป็นภาพถ่าย

                               

                              ผม :  งานชิ้นนี้แสดงที่ไหนครับ ทำในช่วงปีไหนครับ

                               

                                อาจารย์ นิพันธ์ :  ที่ฮ่องกง สองปีก่อนมั้งครับ..ถ้าจำไม่ผิด มีcity of ghost ด้วย

                                 

                                  ผม : งานอาจารย์มีหลากหลายมากในแต่ล่ะปีหรือเปล่าครับ

                                  อาจารย์ นิพันธ์ : แล้วแต่จังหวะครับ ^^

                                  ผม : แล้วอาจารย์จะกลับไปทำงานภาพพิมพ์อีกหรือเปล่าครับ

                                   

                                  อาจารย์ นิพันธ์ : ไม่รู้ดิครับ อาจจะไม่นะ เพราะสอนทุกอาทิตย์ ไม่มีไอเดียอ่ะครับ ตอนอยู่ญี่ปุ่น ภาพิมพ์ตอนหลังๆ ของผมเอาวิธีคิดของงานอินสตอเรชั่นไปทำอะครับ ทำเร็วมาก ไม่มีการปรุงแต่ง

                                  ผม :  ทั้งสอนด้วย แล้วอาจารย์ เอาเวลาว่างตอนไหนทำงานศิลปะครับ เพราะงานอาจารย์มีแต่ชิ้นใหญ่ๆ คงต้องใช้เวลาในการจัดการมาก

                                   

                                  อาจารย์ นิพันธ์ :  ตามวาระครับ หาเวลาทำจนได้ สอนอย่างเดียวไม่ไหวหรอกครับ ผมใช้ทั้งการวางแผนและสัญชาติญาณ

                                  ผม :  คงเหนื่อยมากนะครับอาจารย์

                                  อาจารย์ นิพันธ์ : เหนื่อยมากครับ ^^

                                  อาจารย์ นิพันธ์ :  นี่เป็นงานที่ใช้ภาพพิมพ์ด้วยชิ้นหลังๆ ทำขำๆอะครับ ปี 2008 เอ๊ย !!!2007ระยะห่างอีกแล้ว ระยะห่างจากดางจันทร์ถึงโลก 384403 กม. ให้คนนั่งเขียนถึงดวงจันทร์แลกเปลี่ยนกับงานภาพพิมพ์1 ชิ้นจริงๆ งานมันเป็นโต๊ะกาแฟอ่ะครับ .ถาวร ตอนนั้นเค้าชวนทำงานบนโต๊ะกาแฟ ผมก็ทำหนุกๆ

                                   

                                           

                                  ผม : อาจารย์ไม่ง่วงนอนเหรอครับ พรุ่งนี้ต้องสอนนิครับ ผมรบกวนอาจารย์มากๆ

                                  อาจารย์ นิพันธ์ : นอนประมาณตีหนึ่งครับ ตามสบายครับ

                                  ผม : แล้วเวลาอาจารย์คิดงานนี้ยากมั้ยครับ 

                                      

                                      อาจารย์ นิพันธ์ :  ยากครับ ยากมาก ทุกวันนี้ก็ยาก แต่ทำครับ..ต้องทำก่อน!!

                                      ผม :  อาจารย์คงพูดภาษาญี่ปุ่นได้ ใช่เปล่าครับ เพราะอยู่ตั้งหกปี

                                      อาจารย์ นิพันธ์ : ประมาณนึงครับ

                                      ผม :  แล้วมีโครงการจะกลับไปแสดงงานกับเพื่อนๆที่เรียนด้วยกันที่ญี่ปุ่นอีกหรือเปล่าครับ

                                      อาจารย์ นิพันธ์ : ไม่มีเลยครับ..เคยเจอเพื่อนที่เรียนด้วยกัน ด้วยความบังเอิญครั้งเดียวเมื่อปี 2008 ที่ปูซานเบีนนาเล....ดีใจชะมัด ^^

                                      ผม : ครับผม

                                      ผม : ต้องขอบคุณอาจารย์นิพันธ์มากๆ ที่ให้ผมสัมภาษณ์ในครั้งนี้ ทำให้ผมได้รู้และเข้าใจในตัวงานวิธีการคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะด้วยครับ ขอบคุณครับ

                                      อาจารย์ นิพันธ์ : ไม่เป็นไรครับ ตามสบายนะครับมีไรก็คุยกันได้เสมอ ครับ

                                      ผม : ครับ

                                      อาจารย์ นิพันธ์ :  ครับผม ^^

                                      จากที่ผมได้พูดคุยกับอาจารย์ทำให้ได้รู้ถึงวิธีการจัดการและการสร้างสรรค์ผลงาน วิธีคิด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์ผลงานของตัวผมเองในอนาคต

                                        คำสำคัญ (Tags): #ระยะห่าง
                                        หมายเลขบันทึก: 462767เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2011 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


                                        ความเห็น (1)
                                        พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
                                        ClassStart
                                        ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
                                        ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
                                        ClassStart Books
                                        โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท