จันทมณี
นางสาว จันทมณี ขวัญ แก้วมณี

ในทศวรรษหน้า ในทศวรรษหน้า


ทศวรรษหน้า


บริบทใหม่การศึกษาไทย ในทศวรรษหน้า

บริบทของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่
11 (2555-2559)

                 
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กำลังระดมทรัพยากรของประเทศทุกส่วนเข้าสู่การกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-2559)โดยมองไปข้างหน้าถึงวิสัยทัศน์ พ.ศ.2570เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต อย่างน้อย 15 ปีเอกสารการนำเสนอส่วนหนึ่งได้วิเคราะห์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืนโดยเสนอให้ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นทางเลือกของเศรษฐกิจไทย” เพื่อให้ประเทศไทยปรับโครงสร้างเศรษฐกิจจากการพึ่งพิงปัจจัยการผลิตราคาถูก (Factor-driven Economy) ไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างนวัตกรรม(Innovation-driven Economy) โดยมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทย ในช่วง 4ปีที่ผ่านมา มีสัดส่วน ร้อยละ 14-17 ของรายได้ประชาชาติ ถือว่าไม่น้อยทีเดีย เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CreativeEconomy) เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้การศึกษา การสร้างสรรค์งาน และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เชื่อมโยงรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคมและเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ มรดกทางวัฒนธรรมศิลปะ สื่อ และงานสร้างสรรค์ตามลักษณะงาน โดยสภาพัฒน์ได้เสนอแนวทางพัฒนาออกมาถึง19  ประเภทอุตสาหกรรมหลักด้วยกัน

1.การโฆษณา

2. สถาปัตยกรรม

3.การออกแบบ

4.แฟชั่น

5.ภาพยนตร์และวิดีโอ

6.ฮาร์ดแวร์

7.ท่องเที่ยว

8.วรรณกรรม

9.ดนตรี

10.พิพิธภัณฑ์

11.การพิมพ์-สื่อสิ่งพิมพ์

12.ซอฟต์แวร์

13.กีฬา

14.ศิลปะการแสดง

15.การกระจายเสียง

16.วิดีโอเกม

17.ทัศนศิลป์ การถ่ายภาพ งานฝีมือ

18.อาหาร

19.การแพทย์แผนไทย

       สภาพัฒน์ยังได้สรุปปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับการศึกษาไว้ส่วนหนึ่งว่า“หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ค่อนข้างน้อย เช่น กระทรวงศึกษาธิการยังมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในระดับมหภาคจึงขาดการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตรายสาขา” ซึ่งสถาบันการศึกษาจะต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างองค์ความรู้การวิจัยและพัฒนา เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบนั่นเอง

        เห็นได้ชัดเจนว่าในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 จะต้องมุ่งนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพราะมีตัวเลขของมูลค่าทางเศรษฐกิจที่สามารถพัฒนาต่อยอดได้สูงยิ่ง กับมี BestPractice ทั้งในสหราชอาณาจักร
ออสเตรเลีย และฮ่องกง ที่เน้นทั้งโครงสร้างและระบบประสบผลสำเร็จมาแล้ว
ไม่ต้องอื่นไกล ดูจากญี่ปุ่นที่เป็นต้นแบบสินค้าชุมชนเกาหลีเป็นต้นแบบของอุตสาหกรรมสื่อ อาหารและวัฒนธรรมอย่างโดดเด่นมาแล้ว เช่นกันสำหรับประเทศไทยมรดกทางวัฒนธรรมมีล้นเหลือ ควบคู่ไปกับภูมิปัญญาชาวบ้านและท้องถิ่นมากพอจะพัฒนาได้ แต่ต้องจัดโครงสร้างให้เป็นระบบและมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบ โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการคงต้องปรับเปลี่ยนทิศทางการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ดังกล่าวด้วย

         ดังนั้นแผนการศึกษาชาติ แผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว
แผนการจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษา รวมถึงทศวรรษที่ 2 ของการปฏิรูปการศึกษา
พึงต้องขยายหรือเน้นการศึกษาและวิจัยใน 5 เรื่องใหญ่ๆ เช่น

 1.มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาและความหลากหลายทางชีวภาพ

 2.เอกลักษณ์ศิลปะและวัฒนธรรม

 3.งานช่างฝืมือ และหัตถกรรม

 4.อุตสาหกรรมสื่อ บันเทิงและซอฟต์แวร์

 5.การออกแบบและพัฒนาสินค้าเชิงสร้างสรรค์

           
        การจัดการศึกษาพึงได้บูรณาการ จัดทรัพยากรให้เกิดคลัสเตอร์ ที่จะนำไปสู่ “นวัตกรรม” ที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โดยมีงบประมาณจากภาครัฐ สนับสนุนและกำหนดตัวชี้วัดให้เห็นเป็นรูปธรรม
โดยเฉพาะงบประมาณไทยเข้มแข็ง 45,389 ล้านบาท ที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับ
พึงต้องแบ่งมาให้สถาบันที่จัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไว้ด้วย

       
       เป้าหมายของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษหน้า   เห็นเพียงโครงการพัฒนาครูยุคใหม่เท่านั้นที่พอมองเห็นเค้าโครง ส่วนการสร้างคนยุคใหม่
การสร้างแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่และการจัดการศึกษายุคใหม่ ยังมองไม่เห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนหากจะนำบริบทของการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจใหม่ในอนาคตผนวกไว้ในโครงการพัฒนาไว้ด้วยน่าจะส่งผลสัมฤทธิ์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ได้มากทีเดียว



 ดร.วิชัย พยัคฆโส  (2553)บริบทใหม่การศึกษาไทยในทศวรรษหน้า. วิชาการ

หมายเลขบันทึก: 462533เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2011 07:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท