Research-able through Problem-Based Learning


ความสามารถในการทำวิจัย การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

                                                                            

Research-able through Problem-Based Learning

ความสามารถในการทำวิจัย การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 

 

โครงการวิจัยนี้อธิบายถึงความหมาย มีเป้าหมายที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ผ่านสตอรี่บอร์ดโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมในด้านวิชาการ  วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือ การวิเคราะห์แนวความคิดของนักศึกษาด้วยการเรียนรู้ผ่านสตอรี่บอร์ดเรียนรู้จากประสบการณ์ และพัฒนาการวิธีการประเมินที่สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถของผู้เรียน      

ผลการศึกษาพบว่าความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ระหว่างวัฒนธรรมอยู่ในระดับสูง

คำสำคัญ : การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง,การวางแผนกิจกรรมการเรียนรู้ (storyboard) เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร และความสามารถในการศึกษาค้นคว้า

 

บทนำ

งานวิจัยนี้เป็นกรณีศึกษาเพื่อพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยโดยผ่านการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมและวิธีการเรียนรู้แบบใหม่ ๆ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาเกิดแรงจูงใจและมีความสามารถในการศึกษาค้นคว้าด้วยกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

เครือข่ายมหาวิทยาลัยทางไกล (RUN) เพื่อพัฒนาศักยภาพมนุษย์ ได้พัฒนางานวิจัยร่วมและโครงการพัฒนาเทคโนโลยีและการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก(GU) ประเทศสวีเดนและมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด(SU)ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับการสนับสนุนทุนจาก Wallenberg Global Learning Network (www.wgln.org) ในโครงการนี้นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก (GU) และ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัย แสตนฟอร์ด(SU) จะได้เข้าร่วมในหลักสูตรชีววิทยามนุษย์ ซึ่งในหลักสูตรนี้ที่มหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก (GU)ได้จัดการเรียนรู้ เรื่อง"ชีวกลศาสตร์และการพัฒนาศักภาพมนุษย์ (รหัส7,5 ECTS) โดยได้รับความร่วมมือจากสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น เภสัชกรรม (กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา), วิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย และการเรียนการสอน และที่มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด(SU)จัดการเรียนการสอนเรื่อง"กายวิภาคศาสตร์มนุษย์" ในภาควิชาชีววิทยามนุษย์ ซึ่งวิชานี้มีความเด่นอยู่ที่มีการใช้ทฤษฏีการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยเน้นที่กระบวนการและในแง่ของการใช้ปัญหาเป็นฐาน

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการจัดการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมนั้นจะเน้นการบรรยายและการสอบเป็นหลักแต่ในรายวิชานี้ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่ค้นหาข้อมูลที่ต้องการด้วยตนเองโดยใช้การศึกษาค้นคว้าโดยใช้ทีมเป็นฐาน และข้อดีของการเรียนรู้ในรายวิชานี้คือ คุณภาพที่ได้รับความรู้ด้านเนื้อหานั้นจะเพิ่มขึ้น

เพราะเนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศเป็นที่ปรึกษา อีกทั้งผู้เรียนยังได้รับความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ๆ ต่างวัฒนธรรมอีกด้วย ซึ่งจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้กำหนดไว้ดังนี้

“หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับวิธีการเคลื่อนไหวของมนุษย์ที่เน้นทางด้านกีฬา สุขภาพและประสิทธิภาพของการทำงาน ในหลักสูตรนี้ได้รวบรวมเอาหลักการของสาขาวิชาต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน เช่น ชีวกลศาสตร์พื้นฐาน กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการเรียนรู้การทำงานอย่างเป็นอิสระและการทำงานร่วมกับสมาชิกอื่น ๆ ในกลุ่ม และเพื่อการแสวงหาความรู้ใหม่ๆ โดยใช้อุปกรณ์การสอนที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน และการใช้ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ”

การออกแบบการจัดการเรียนการสอน (Design and organization of the course)

ในหลักสูตรนี้ถูกออกแบบให้เข้าร่วมกันเป็นเวลา 5สัปดาห์โดยโครงการนี้ว่าเรียกว่า (RUN) หรือ เครือข่ายมหาวิทยาลัยทางไกล สถานที่ที่ใช้ในการศึกษาคือ มหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก(GU) ประเทศสวีเดนและมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด (SU)ประเทศสหรัฐอเมริกา ในระหว่างฤดูใบไม้ผลิ ปี 2007 หลักสูตรนี้ได้รับความร่วมมือกับทีมงานที่มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด (SU)และมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก(GU)  ในระหว่างการดำเนินการในหลักสูตรนี้ นักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัย จะได้เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญ แหล่งข้อมูลออนไลน์ต่างๆ และ วิธีการเรียนรู้เพื่อการศึกษาชีวกลศาสตร์และประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์

แนวคิดและการออกแบบหลักสูตรนี้ได้รับการออกแบบโดย Rydmark ซึ่งแสดงไว้ในรูปที่ 1 และ 3 ส่วนประสบการณ์ต่าง ๆที่ได้รับจากโครงการ เลินเอเบิล(LearnAble)  ที่ ซาเกรินสกา(Sahlgrenska Academy) มหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก(GU)  นั้นเป็นความรู้พื้นฐานของหลักสูตร (Hultberg et al. 2008 และ Kjellgren et al. 2008) ส่วนการแนะนำและการสอบนั้นได้ดำเนินการแยกต่างหาก โดยแต่ละสถาบันจะใช้แนวทางการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาในรูปแบบของตัวเอง


ขั้นนำ (Introduction)

เป้าหมายของสัปดาห์แรกคือการจัดตั้งกลุ่มของนักศึกษาก่อนจากนั้นก็จะมีการจัดปฐมนิเทศเพื่อทำความเข้าใจในด้านการออกแบบหลักสูตร เทคโนโลยี การมีส่วนร่วมของคณาจารย์ให้แก่สมาชิกในแต่ละกลุ่มได้เข้าใจตรงกัน จากนั้นนักศึกษาจากแต่ละสถาบันต้องตั้งกลุ่ม 3-4 กลุ่มเลือกตามความพอใจของตนเอง ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะได้ทำงานร่วมกันทั้งที่อยู่ในสถาบันเดียวกันและต่างสถาบันโดยแต่ละกลุ่มจะต้องเป็นพี่เลี้ยงให้กันและกันเองในระหว่างการทำโครงการ โดยรวมแล้วมีนักศึกษาที่เข้าร่วมจาก มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด (SU) จำนวน 40 คน และจากมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก(GU) จำนวน 68 คน โดยแบ่งเป็นเพศหญิง 63.1%และเพศชาย 36.9%

ขั้นวางแผนการจัดกิจกรรม (Storyboards)

ในแต่ละสตอรี่บอร์ดที่ได้รับการออกแบบให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการตามนั้น  เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ที่ต้องการสื่อนวัตกรรม การทำงานร่วมกัน การออกแบบการค้นคว้าและการดำเนินการต่างๆในห้องแลบ ซึ่งขั้นนี้นักศึกษาจะถูกปล่อยให้มีการวางด้วยตนเองอย่างอิสระ  และตลอดห้าสัปดาห์ของการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้นักศึกษาจะต้องบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อช่วยในการผลิตผลงานวิชาการที่อาจนำไปสู่​​การวิจัยต่อไป ทั้งนี้นักศึกษายังสามารถเลือกประเภทของสตอรี่บอร์ด  4-6 ที่แตกต่างกันได้เช่น : ข้อเท้า, ไหล่, เข่า, หลัง, หรือการดำเนินเศรษฐกิจ 

ขั้นการบรรยายพิเศษ (Keynote lectures)

ในขั้นนี้จะมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องจากมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก(GU) และ มหาวิทยาลัย      แสตนฟอร์ด จะบรรยายพิเศษประมาณ 15-30 นาที ซึ่งจะเป็นการบรรยายเกี่ยวกับเนื้อหาที่ไม่สามารถพบได้ในตำราทั่วไป ซึ่งในขั้นนี้นักศึกษาสามารถดูการบรรยายสดได้ผ่านทาง Marratech (การประชุมผ่านทางวิดีโอ video conference system) หรือดูได้จากวิดิโอที่เผยแพร่ในอินเทอร์เนตโดยจะต้องใช้ผ่านลิงก์-ของ PingPong (ระบบการจัดการเรียนรู้ website)

 

ขั้นทรัพยากรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Resources for Information and Communication Technologies)

มหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมเครื่องคอมพิวเตอร์,ไมโครโฟน,กล้องเวบแคมและจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่ไว้สำหรับการประชุมและการปฏิบัติงานในห้องแลบ อีกทั้งยังมีแผนกที่พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือโดยมีการออนไลนท์เพื่ออำนวยความสะดวกตลอดเวลาสำหรับการประชุมและการปฏิบัติงานในห้องแลบ

 คณะที่ปรึกษา(Faculty Consultants)

คณาจารย์ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับกลุ่มนักศึกษานั้น นอกจากจะตอบจดหมาย(e-mail)แล้ว พวกเขายังสามารถพบปะพูดคุยกับนักศึกษาแบบตัวต่อตัว(face to face) ได้ โดยผ่านการออนไลน์ได้ที่ Marratech (การประชุมผ่านทางวิดีโอ video conference system)   โดยกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมานั้นต้องเป็นไปตามเวลาที่กำหนดไว้ หรือหลังจากการทำข้อตกลงเกี่ยวกับการนัดหมายก่อนล่วงหน้าทาง e – mail ก็ได้ ดังนั้นในขั้นนี้ทรัพยากรหรืออุปกรณ์ต่างที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินโครงการนั้นจะถูกจัดไว้ให้ทั้งหมดเพื่อการให้คำปรึกษานั้นจะเป็นไปอย่างสมบูรณ์และมีคุณภาพ

บทความบนเวบล็อกสะท้อนความคิด (Reflective Blog)

นักศึกษาต้องบันทึกผลสะท้อนความคิดหรือประสบการณ์จากการศึกษาค้นคว้าของตนในบล็อกตลอดหลักสูตร  โดยใช้เวบไซต์ PingPong ซึ่งบล็อกนี้จะถือว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการเรียนรู้ในการสะท้อนถึงวิธีการศึกษาของนักศึกษา และจากผลการสะท้อนของนักศึกษาทั้งหมดจะถูกนำมาใช้เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาได้นำประสบการณ์ของตัวเองไปใช้เพื่อการค้นพบ และในตอนท้ายของหลักสูตรนักศึกษาจะต้องทำการทบทวนข้อมูลเกี่ยวกับความคิดและประสบการณ์ในบล็อกของตนเพื่อนำไปสรุปผลการศึกษาค้นคว้าต่อไป

 

ขั้นการประเมินผลที่ มหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก(GU) (Assessment at GU)

ในขั้นนี้นักศึกษาจะต้องให้เกรดตัวเอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเขาได้ตั้งเกณฑ์หรือวัตถุประสงค์ตั้งแต่แรกว่าตนจะได้อะไรจากการเรียนรู้ในครั้งนี้  และการประเมินผลของแต่ละบุคคลนั้นจะถูกนำไปเสนอภายในกลุ่มเพื่อสนทนาพูดคุยเกี่ยวผลการประเมินในครั้งนี้เป็นลำดับต่อไป และคะแนนในช่วงท้ายของนักศึกษาจะเป็นคะแนนที่ได้มาจากการประเมินผลจากนำเสนอการศึกษาค้นคว้าของกลุ่ม และคะแนนจากการสอบข้อเขียน(เพียงเล็กน้อยเท่านั้น)

ขั้นการประเมินผลที่ มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด (SU) (Assessment at SU)

นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ดจะทำการทดสอบกลางภาค ปลายภาคและการนำเสนอโครงการโดยใช้เพาเวอร์พ้อยต์หรือผ่านทางโปสเตอร์

ขั้นนำเสนอ (Presentation of Storyboard work)

นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะต้องส่งรายงานเมื่อสิ้นสุดหลักสูตรและต้องทำรายงานไม่เกิน 5-8 หน้ากระดาษเท่านั้น    โดยจะต้องนำเสนอความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ที่ได้จากการทดลองในห้องแลบประกอบกับเหตุผลที่ได้จากการทดลอง ทั้งนี้นักศึกษาจะได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นนักศึกษาต้องนำผลการศึกษาค้นคว้าที่พบ  นำเสนอด้วยวาจาผ่านทางเพาเวอร์พอยต์หน้าชั้นเรียน และนักศึกษาจะได้เกรดหลังจากสิ้นสุดหลักสูตรโดยเกรดจะเป็น “ผ่านยอดเยียม” “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน”

 

 

 ขั้นนำเสนอด้วยบอร์ดหรือป้ายโปสเตอร์ (Posters)

 

ในขั้นนี้นักศึกษาต้องจัดเตรียมการนำเสนอเป็นโปสเตอร์หรือในรูปแบบเพาเวอร์พ้อยต์ในงานสัมมนานานาชาติ สำหรับเกณฑ์การให้คะแนนโปสเตอร์นั้นจะตัดสินโดย เนื้อหา การออกแบบ และการนำเสนอด้วยวาจา จากนั้นจะมีการประเมินให้เกรดคือ “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน”

ขั้นทดสอบ Examination

ในช่วงท้ายของหลักสูตร คะแนนต่างๆ ที่จะนำมาพิจารณาในการให้เกรด คือคิดจากการนำเสนอ การประเมินตนเองและการปฏิบัติงานในกลุ่ม

สรุปผลการดำเนินโครงการ RUN (Pedagogical approach and learning outcomes)

ผลจากการตอบแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ของทั้งสองมหาวิทยาลัยพบว่านักศึกษากว่า 78% ชอบการออกแบบหลักสูตรและทำให้พวกเขามีความกระตือรือร้นเป็นอย่างมากในการใช้วิธีการการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานก่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กัน การทำงานร่วมกัน และที่สำคัญการที่ได้รู้จักกับนักศึกษาจากประเทศอื่น ๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ในเนื้อหาเดียวกันนั้นถือเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาอย่างยิ่ง

 

หมายเลขบันทึก: 462502เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2011 00:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท