การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู นายบัณฑิต ฉัตรวิโรจน์


Problem identification คือ การกำหนดปัญหา/สิ่งที่ต้องเรียน โดยจะต้องมีการค้นหาความรู้ (Knowledge identification)

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้

เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

 

นายบัณฑิต  ฉัตรวิโรจน์

 

วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชาอุดมศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปีการศึกษา 2550

ลิขสิทธิ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

บทที่ 1

บทนำ 

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 

                งานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู มีวัตถุประสงค์เพื่อ

                1. ศึกษาสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

                2. พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

                3. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

 

ขอบเขตของการวิจัย 

                1. ประชากรศึกษาเฉพาะคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ปีการศึกษา 2549-2550

                2. เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชา EDUC 105 การพัฒนาความเป็นครูวิชาชีพ (Teacher Professional Development)จำนวน 5 หน่วยกิต โดยทดลองใช้จำนวน 12 ครั้ง ๆ 4 ชั่วโมงในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 นักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร         

                3. ตัวแปรที่ศึกษา

                                - ตัวแปรต้น ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้

                                - ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาครู และสมรรถนะการสอน

 

คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย 

                การพัฒนารูปแบบ หมายถึง การดำเนินการศึกษาและพัฒนาแบบแผนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีบูรณาการองค์ความรู้ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แล้วนำเสนอเป็นรูปแบบขั้นตอนของการจัดการเรียนการสอน

                รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง แบบแผนการจัดการเรียนการสอนที่อาศัยหลักปรัชญา ทฤษฎี แนวคิด หรือความเชื่อต่างๆ โดยจัดให้มีองค์ประกอบของการเรียนการสอน ได้แก่ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน การประเมินผลไว้อย่างเป็นระบบแสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้

                การจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่อาศัยขั้นตอนจากการสังเคราะห์กระบวนการจัดการความรู้เป็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามขั้นตอน PPCA ของการจัดการความรู้ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ

                1. Problem identification คือ การกำหนดปัญหา/สิ่งที่ต้องเรียน โดยจะต้องมีการค้นหาความรู้ (Knowledge identification)

                2. Plan คือ การวางแผนและตั้งเป้าหมายการเรียน โดยการสร้างและการแสวงหาความรู้ และจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge creation acquisition and organization)

                3. Co-Create คือ การดำเนินการและสร้างความรู้ โดยการประมวลและกลั่นกรอง/ การเข้าถึงความรู้และการแบ่งปัน/แลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge codification, refinement, access and sharing) ด้วยกระบวนการกลุ่มและการร่วมมือ

                4. Apply คือ การนำเสนอและนำความรู้ไปใช้โดยอาศัยกระบวนการเรียนรู้ (Learning)

                รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ หมายถึง แบบแผนการเรียนการสอนโดยใช้วิธีบูรณาการองค์ความรู้แนวคิดและกระบวนการของการจัดการความรู้กับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมี 4 ขั้นตอน คือ การกำหนดปัญหา/สิ่งที่ต้องเรียน (problem) การวางแผนการเรียน (Plan) การสร้างความรู้ (co-create) และการนำความรู้ไปใช้ (apply)

                นักศึกษาครู หมายถึง นักศึกษาภาคปกติชั้นปีที่ 3-4 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 40 แห่ง ประจำปีการศึกษา 2549-2550

                สมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู หมายถึง ความสามารถของนักศึกษาครูในการดำเนินการกระบวนการด้านการเตรียมการสอน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการวัดผลประเมินผลการเรียนการสอน ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

                                การเตรียมการสอน หมายถึง กระบวนการเตรียมการก่อนการจัดการเรียนการสอนประกอบไปด้วย การเขียนแผนการสอน การเตรียมกระบวนการจัดการเรียนการสอน การเตรียมวิธีการและเครื่องมือในการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้

                                การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบูรณาการกิจกรรมที่เน้นการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                                การวัดผลประเมินผลการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ประกอบด้วย แฟ้มสะสมผลงาน เครื่องมือประกอบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ต่างๆ เช่น แบบสังเกต แบบประเมินผลต่างๆ เป็นต้น

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 

                1. ได้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู ที่เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการจัดการศึกษาสาขาการศึกษา ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ไปปรับใช้กับรายวิชาอื่นๆ ตามความเหมาะสม

                2. นักศึกษาครูได้รับการเสริมสร้างสมรรถนะการสอนสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อการเป็นครูมืออาชีพ

                3. ได้แนวทางในการนำไปใช้พัฒนาสมรรถนะด้านอื่นของนักศึกษาครู ครู บุคลาการทางการศึกษา

                4. เป็นแนวทางสำหรับครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในการนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ไปใช้ในการเสริมสร้างคุณลักษณะอื่นๆ ของผู้เรียน

บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

 

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                1. การจัดการความรู้

                2. สมรรถนะการสอน

                                - การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                                - การเรียนแบบร่วมมือ

                                - กระบวนการกลุ่ม

                3. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน

                4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

บทที่ 3

วิธีดำเนินการวิจัย 

 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 

                ประชากรสำหรับการศึกษาสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู 

                                ประชากรประกอบด้วยอาจารย์นิเทศ และนักศึกษาครู ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 40 แห่ง ประจำปีการศึกษา 2549

                กลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษาสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

                                กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย

                                อาจารย์นิเทศ และนักศึกษาครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 40 แห่ง โดยการเลือกแบบชั้นภูมิ (stratified sampling) ตามภูมิภาคต่างๆ ประกอบด้วย ภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคใต้ และกรุงเทพมหานคร แล้วจึงสุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (simple random sampling) จากชั้นภูมิที่กำหนด ภาคละ 1 มหาวิทยาลัย รวมทั้งสิ้น 7 มหาวิทยาลัย โดยศึกษาจากประชากรของนักศึกษาครูของมหาวิทยาลัยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 960 คน และอาจารย์นิเทศ จำนวน 130 คน

 

ขั้นตอนการวิจัย 

                การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู มีขั้นตอนการวิจัย ดังนี้

                ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์สมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

                                1.1 ศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวกับสมรรถนะการสอน

                                1.2 ศึกษาสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

                ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู มีลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้

                                2.1 ค้นคว้า ศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนการสอน

                                2.2 สร้างรูปแบบการจัดการเรียนการสอน

                                2.3 ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนการสอน

                                2.4 แก้ไขปรับปรุง

                ขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบการเรียนการสอนไปทดลองใช้ในสภาพการเรียนจริง มีลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้

                                3.1 ดำเนินการทดลองใช้รูปแบบ

                                3.2 ประเมินสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

                                3.3 ประเมินความรู้ด้านสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและวิเคราะห์สมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

                1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะการสอน โดยได้ศึกษารวบรวมข้อมูลจากผลงานวิจัย ตำรา และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการจัดการศึกษาของการฝึกหัดครู สมรรถนะการสอนแล้วนำมาวิเคราะห์ และสรุปสาระสำคัญเพื่อให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของการฝึกหัดครู ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำมาใช้กำหนดเป็นแนวทางในการศึกษาสมรรถนะการสอน และแบบทดสอบด้านความรู้เกี่ยวกับสมรรถนะการสอนแบบปรนัย ชนิดตัวเลือก 4 ตัวเลือก จำนวนทั้งสิ้น 60 ข้อ โดยแบบทดสอบนี้ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครูที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการทดลองเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการสอนระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้

                1.2 ศึกษาสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู โดยใช้แบบสอบถามสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู จำนวน 2 ฉบับ จากนักศึกษาครูจากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศทั้ง 40 แห่ง จำนวน 960 คน และอาจารย์นิเทศจำนวน 130 คน

ขั้นตอนที่ 2  พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู มีลำดับขั้นตอน ดังต่อไปนี้

                2.1 การค้นคว้า ศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้านการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อนำไปสู่การสร้างรูปแบบการสอน มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาและวิเคราะห์ทฤษฎี แนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสังเคราะห์เป็นข้อมูลสำหรับพัฒนารูปแบบการสอน โดยผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูล ดังต่อไปนี้

                                1. ข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดองค์ประกอบและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้

                                2. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ประกอบด้วยรายละเอียดที่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ ได้แก่ ความหมายและความสำคัญของการจัดการความรู้ แนวคิดและหลักการในการจัดการความรู้ รูปแบบและกระบวนการจัดการความรู้ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้

                                3. ข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะการสอน ทักษะการสอนการศึกษาข้อมูลด้านต่างๆ เหล่านี้ใช้ในการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา บทความ และงานวิจัยต่างๆ นำมาศึกษา วิเคราะห์ และสรุปสาระสำคัญของข้อมูล ซึ่งรายละเอียดของข้อมูลประกอบด้วย แนวคิดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาการเรียนแบบร่วมมือ กระบวนการกลุ่ม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสื่อสารความรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอน

                2.2 ร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ ดำเนินการดังนี้

                                1. สร้างกรอบแนวคิดด้านการจัดการเรียนการสอนและการจัดการความรู้ สรุปรายละเอียดของข้อมูลและสาระสำคัญที่ได้ศึกษาว่ามีประเด็นได้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรูปแบบ

                                2. วิเคราะห์ข้อมูลทั้งทฤษฎีและแนวคิดมาสังเคราะห์ประเด็นหลัก เพื่อบูรณาการระหว่างการจัดการความรู้และการจัดการเรียนการสอน

                                3. สังเคราะห์กระบวนการจัดการความรู้จากแนวคิดทฤษฎี เพื่อกำหนดขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้

                                4. บูรณาการแนวการจัดการเรียนการสอนเข้ากับขั้นตอนการจัดการความรู้ด้วยการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบรูปแบบการสอนและจัดทำเอกสารประกอบการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 6 เรื่อง

                                5. ได้ร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดกาความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

 

บทที่ 4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

 

                ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศเกี่ยวกับสภาพของสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

                ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของนักศึกษาครูเกี่ยวกับสภาพของสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

                ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์และนักศึกษาครูเกี่ยวกับสภาพของสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

                ตอนที่ 4 ผลการสังเคราะห์ข้อมูลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

                ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครู

บทที่ 5

สรุปผลการวิจัย

 

                ผู้วิจัยจึงเชื่อว่ารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ที่สร้างขึ้นมีความเป็นไปได้สูงในการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามแนวการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยผลการเรียนรู้จะดีมากที่สุดหากมีการนำรูปแบบนี้ไปใช้กับสาระความรู้ที่เป็นรูปธรรม อีกทั้งก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้อย่างเห็นได้ชัด

                สรุปได้ว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้ KML ตามขั้นตอน PPCA มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทำให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ ดังนั้น การนำรูปแบบการสอนนำไปใช้จำเป็นต้องประยุกต์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของนักศึกษา ประสบการณ์และแหล่งเรียนรู้ของแต่ละสถาบัน แต่ผู้วิจัยเชื่อว่า กระบวนการเรียนการสอนแบบการจัดการความรู้สามารถเสริมสร้างทักษะและความรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างแท้จริง

หมายเลขบันทึก: 462501เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2011 00:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท