สมมุติฐาน คือ


สมมุติฐาน คือ ข้อความที่เสนอคำอธิบายปรากฏการณ์ สมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์มาจากการสังเกตในครั้งก่อนๆที่ยังไม่สามารถอธิบายได้ดีพอด้วยทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว สมมุติฐานและทฤษฎีจะใช้แทนกันได้ในบางครั้งแต่สมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์ก็ไม่เหมือนกับทฤษฎีเชิงวิทยาศาสตร์ สมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์ต้องสามารถใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถทดสอบได้ ชนิดสมมุติฐาน 1 สมมุติฐานการวิจัย 2 สมมุติฐานทางสถิติ ตัวแปร คือ คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ที่มีค่าหรือลักษณะแปรเปลี่ยนแตกต่างกันไปตามแต่ละหน่วยของสิ่งนั้นๆ โดยค่าการวัดที่ได้หรือลักษณะของสิ่งเหล่านั้นจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิจัย ประเภทของตัวแปร แบ่งตามลักษณะ 1 ตัวแปรไม่ต่อเนื่อง คือตัวแปรที่มีค่าเป็นจำนวนเต็มไม่ต่อเนื่องกัน แบ่งแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน เมื่อใช้เครื่องมือวัดไม่สามารถแสดงในรูปของกลุ่มย่อยๆ ได้ 2 ตัวแปรต่อเนื่อง คือ ตัวแปรที่มีค่าการวัดออกมาเป็นตัวเลข ออกมาเป็น Scale หรือ degree เช่น ผลการเรียนรู้ น้ำหนัก ส่วนสูง แบ่งตามลักษณะของตัวแปร 1 ตัวแปรเชิงปริมาณ เป็นตัวแปรที่มีคุณลักษณะที่แสดงออกมาเป็นหน่วยการวัด เป็นปริมาณ เช่น รายได้ อายุ คะแนน 2 ตัวแปรเชิงคุณภาพ เป็นตัวแปรที่มีคุณลักษณะที่วัดในเชิงปริมาณไม่ได้ แต่ระบุความแตกต่างของคุณลักษณะได้ แบ่งตามการจัดกระทำตัวแปร 1 ตัวแปรมีลักษณะกายภาพ เป็นตัวแปรที่มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่เกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติหรือที่ติดตัวมาแต่เกิด เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยไม่สามารถจัดกระทำได้ 2 ตัวแปรจัดกระทำ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยสร้างหรือกำหนดคุณลักษณะต่างๆ ที่สนใจจัดกระทำขึ้นมาเอง แล้วศึกษาผลที่เกิดขึ้น ส่วนมากพบในการวิจัยเชิงทดลอง แบ่งตามการทดลอง 1 ตัวแปรที่กำหนดขึ้นหรือจัดให้มีขึ้น เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยจัดขึ้นในการทดลอง 2 ตัวแปรที่กำหนดขึ้นเพื่อวัดผล เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัย แบ่งตามความสัมพันธ์ของตัวแปร หรือแบบแผนการวิจัย 1 ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรต้น เป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อน เป็นตัวเหตุทำให้เกิดผล เมื่อตัวแปรอิสระเปลี่ยนค่าทำให้เกิดการเปลี่ยนค่าในอีกตัวแปรหนึ่ง คือ ถ้า X เกิดแล้ว Y จึงเกิดขึ้น 2 ตัวแปรตาม เป็นตัวแปรที่เป็นผลตามมาเกิดขึ้นจากตัวแปรอิสระ 3 ตัวแปรกลาง เป็นตัวแปรอิสระอีกตัวแปรหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาในการวิจัย แต่ไม่ใช่ตัวแปรอิสระ ซึ่งเป็นตัวแปรหลักที่ใช้ในการวิจัย แต่ตัวแปรกลางนั้นเป็นเพียงตัวแปรที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาเพิ่มเติมเท่านั้น 4 ตัวแปรควบคุม เป็นตัวแปรที่เกินมา ซึ่งผู้วิจัยต้องพยายามขจัดอิทธิพลออก ไม่ให้ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม 5 ตัวแปรแทรกซ้อน เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่ได้จัดกระทำและไม่ต้องการให้เกิดขึ้น คือ อยู่นอกเหนือขอบเขตของการวิจัย เป็นตัวแปรที่เกินหรือพิเศษ ที่เข้ามาในการวิจัยและเป็นตัวแปรที่มีผลต่อตัวแปรตาม 6 ตัวแปรสอดแทรก เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่ได้จัดกระทำและไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตการวิจัย เป็นตัวแปรทางจิตวิทยาซึ่งอยู่ในตัวบุคคล ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถจัดกระทำหรือควบคุมได้

สมมุติฐาน คือ ข้อความที่เสนอคำอธิบายปรากฏการณ์

สมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์มาจากการสังเกตในครั้งก่อนๆที่ยังไม่สามารถอธิบายได้ดีพอด้วยทฤษฎีที่มีอยู่แล้ว

สมมุติฐานและทฤษฎีจะใช้แทนกันได้ในบางครั้งแต่สมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์ก็ไม่เหมือนกับทฤษฎีเชิงวิทยาศาสตร์

สมมุติฐานทางวิทยาศาสตร์ต้องสามารถใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถทดสอบได้

ชนิดสมมุติฐาน
1 สมมุติฐานการวิจัย
2 สมมุติฐานทางสถิติ

ตัวแปร คือ คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ที่มีค่าหรือลักษณะแปรเปลี่ยนแตกต่างกันไปตามแต่ละหน่วยของสิ่งนั้นๆ โดยค่าการวัดที่ได้หรือลักษณะของสิ่งเหล่านั้นจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวิจัย

ประเภทของตัวแปร
แบ่งตามลักษณะ
1 ตัวแปรไม่ต่อเนื่อง คือตัวแปรที่มีค่าเป็นจำนวนเต็มไม่ต่อเนื่องกัน แบ่งแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน เมื่อใช้เครื่องมือวัดไม่สามารถแสดงในรูปของกลุ่มย่อยๆ ได้
2 ตัวแปรต่อเนื่อง คือ ตัวแปรที่มีค่าการวัดออกมาเป็นตัวเลข ออกมาเป็น Scale หรือ degree เช่น ผลการเรียนรู้ น้ำหนัก ส่วนสูง

แบ่งตามลักษณะของตัวแปร
1 ตัวแปรเชิงปริมาณ เป็นตัวแปรที่มีคุณลักษณะที่แสดงออกมาเป็นหน่วยการวัด เป็นปริมาณ เช่น รายได้ อายุ คะแนน
2 ตัวแปรเชิงคุณภาพ เป็นตัวแปรที่มีคุณลักษณะที่วัดในเชิงปริมาณไม่ได้ แต่ระบุความแตกต่างของคุณลักษณะได้

แบ่งตามการจัดกระทำตัวแปร
1 ตัวแปรมีลักษณะกายภาพ เป็นตัวแปรที่มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่เกิดขึ้นอยู่แล้วตามธรรมชาติหรือที่ติดตัวมาแต่เกิด เป็นสิ่งที่ผู้วิจัยไม่สามารถจัดกระทำได้
2 ตัวแปรจัดกระทำ เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยสร้างหรือกำหนดคุณลักษณะต่างๆ ที่สนใจจัดกระทำขึ้นมาเอง แล้วศึกษาผลที่เกิดขึ้น ส่วนมากพบในการวิจัยเชิงทดลอง

แบ่งตามการทดลอง
1 ตัวแปรที่กำหนดขึ้นหรือจัดให้มีขึ้น เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยจัดขึ้นในการทดลอง
2 ตัวแปรที่กำหนดขึ้นเพื่อวัดผล เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัย

แบ่งตามความสัมพันธ์ของตัวแปร หรือแบบแผนการวิจัย
1 ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรต้น เป็นตัวแปรที่เกิดขึ้นก่อน เป็นตัวเหตุทำให้เกิดผล เมื่อตัวแปรอิสระเปลี่ยนค่าทำให้เกิดการเปลี่ยนค่าในอีกตัวแปรหนึ่ง คือ ถ้า X เกิดแล้ว Y จึงเกิดขึ้น
2 ตัวแปรตาม เป็นตัวแปรที่เป็นผลตามมาเกิดขึ้นจากตัวแปรอิสระ
3 ตัวแปรกลาง เป็นตัวแปรอิสระอีกตัวแปรหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาในการวิจัย แต่ไม่ใช่ตัวแปรอิสระ ซึ่งเป็นตัวแปรหลักที่ใช้ในการวิจัย แต่ตัวแปรกลางนั้นเป็นเพียงตัวแปรที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาเพิ่มเติมเท่านั้น
4 ตัวแปรควบคุม เป็นตัวแปรที่เกินมา ซึ่งผู้วิจัยต้องพยายามขจัดอิทธิพลออก ไม่ให้ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม
5 ตัวแปรแทรกซ้อน เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่ได้จัดกระทำและไม่ต้องการให้เกิดขึ้น คือ อยู่นอกเหนือขอบเขตของการวิจัย เป็นตัวแปรที่เกินหรือพิเศษ ที่เข้ามาในการวิจัยและเป็นตัวแปรที่มีผลต่อตัวแปรตาม
6 ตัวแปรสอดแทรก เป็นตัวแปรที่ผู้วิจัยไม่ได้จัดกระทำและไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขตการวิจัย เป็นตัวแปรทางจิตวิทยาซึ่งอยู่ในตัวบุคคล ซึ่งผู้วิจัยไม่สามารถจัดกระทำหรือควบคุมได้

คำสำคัญ (Tags): #สมมุติฐาน คือ
หมายเลขบันทึก: 462496เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2011 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท