ศาสตร์คืออะไร


ศาสตร์มีลักษณะ มีองค์ความรู้ มีศัพท์เฉพาะตัว มีวิธีการค้นคว้าความรู้เฉพาะตัว

ศาสตร์คืออะไร
คำว่า ”ศาสตร์” หรือ “วิทยาศาสตร์” มีความหมาย 3 ลักษณะ
1 ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงและกฎที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ 2 สาขาวิชาหรือสาขาความรู้ต่าง ๆ อาทิ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ และ ดาราศาสตร์ ซึ่งจัดเป็นวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เศรษฐศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เกษตรและวิศวกรรมจัดเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 3 กระบวนการที่เป็นกิจกรรมของมนุษย์ทีทำได้ความรู้ที่สามารถทดสอบได้ ประกอบด้วย การสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้วกำหนดปัญหา การตั้งสมมุติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การสรุป
“ศาสตร์” นั้นจะต้องมีลักษณะ
1 มีองค์ความรู้ หมายถึงมวลเนื้อสาระที่จัดไว้อย่างเป็นระบบ เป็นหมวดหมู่ จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมหรือจัดอย่างง่าย ๆ ไปสู่ซับซ้อนเรียงตามลำดับ ประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นข้อเท็จจริง มโนทัศน์ ข้อเสนอ สัจพจน์ ทฤษฎีและกฎ
2 มีศัพท์เฉพาะตัว คำศัพท์เฉพาะมีประโยชน์ทั้งในแง่การใช้สื่อความในหมู่นักวิชาการ การคิดค้นบัญญัติศัพท์เฉพาะตนมากเท่าใด ก็ยิ่งแสดงถึงความก้าวหน้าพอกพูนความรู้ของศาสตร์ดังกล่าวมากตามไปด้วย
3 มีวิธีการค้นคว้าความรู้เฉพาะตัว วิธีการที่จะนำมาใช้เพื่อค้นคว้า สั่งสมความรู้ในศาสตร์ของตน วิธีการที่ใช้ก็อาจจะมีบางส่วนที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้ เป็นอัตนัย ขาดความตรง ขาดความเที่ยง เป็นปรนัย มีความตรง และมีความเที่ยง
เป้าหมายของศาสตร์
ศาสตร์มีเป้าหมายสำคัญ 4 ประการ 1 บรรยายหรือพรรณนา ปรากฏการณ์หมายถึงการบอกเล่าตอบคำถามว่าใครหรือสิ่งใด ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ และอย่างไร ซึ่งได้จากการสังเกตปรากฏการณ์อย่างรอบคอบแล้วนำสิ่งที่ได้สังเกตมาเรียบเรียงนำเสนออย่างตรงไปตรงมา
2 อธิบายปรากฏการณ์นั้นๆ เกิดขึ้นเพราะสาเหตุใด การตอบคำถามทำไม หรือการบอกเชิงสาเหตุ หรือผลของปรากฏการณ์นั้นๆ ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร
3 ทำนาย หมายความว่าการบอกหรือคาดคะเนได้ว่าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแล้วจะมีปรากฏการณ์ใดเกิดขึ้นตามมา คือ (IF….Then) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนเป็นสาเหตุ และปรากฏการณ์ที่เกิดทีหลังเป็นผล
4 การควบคุม หมายถึงการทำให้เกิดหรือไม่เกิดปรากฏการณ์ใดๆตามที่มนุษย์ต้องการ การที่ทำให้หรือไม่เกิดปรากฏการณ์ใดๆก็โดการทำให้ปรากฏการณ์ที่เป็นเหตุมีขึ้น มีปรากฏการณ์ที่เป็นเหตุก็ย่อมจะมีปรากฏการณ์ที่เป็นผลตามมา
ทฤษฎี (Theory)
องค์ประกอบของทฤษฎี (Theory)
คือข้อเท็จจริงของปรากฏการณ์ที่ผ่านการสัมผัสรับรู้หรือสังเกตเห็นซึ่งหรือรวบรวมได้ จากนั้นข้อเท็จจริงจะถูกสร้างหรือกำหนดมโนทัศน์ มีลักษณะเป็นนามกว่าข้อเท็จจริงทั้งหมด มโนทัศน์หลายๆ มโนทัศน์จะได้รับการนำมาเชื่อมโยงกันโดยอาศัยตรรกะ (Logic)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท