ปรัชญา (Philosophy)


วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และหลักแห่งความจริง

ปรัชญา (Philosophy)

มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ

รากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นคำศัพท์บัญญัติของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

Philosophy

มีรากศัพท์มาจากคำว่า philo-sophia Philo แปลว่าความรัก และ  Sophia รวมกันมีความหมายว่า “การรักความรู้” หรือ ปรารถนาจะเข้าถึงความรู้หรือปัญญา

ปรัชญา

พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และหลักแห่งความจริง ความรู้ของมนุษยชาติแบ่งได้เป็นสองเรื่องใหญ่ ๆเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ และเรื่องเกี่ยวกับสังคม

เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ

ฟิสิกส์ มีเป้าหมายในการศึกษาสสารและพลังงาน ชีววิทยา มีเป้าหมายในการศึกษาสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย เคมี มีเป้าหมายในการศึกษาธาตุและองค์ประกอบของธาตุ

เรื่องเกี่ยวกับสังคม

เศรษฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาระบบเศรษฐกิจของสังคม รัฐศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาระบบการเมืองการปกครองของสังคม นิติศาสตร์ มีเป้าหมายในการศึกษาระบบกฎหมายของสังคม

เป้าหมายในการศึกษาปรัชญา

ครอบคลุมความรู้และความจริง ในทุกศาสตร์และในทุกสาขาความรู้ของมนุษย์ ผลจากการศึกษาปรัชญา นำเอาไปใช้อ้างอิงได้ในทุกศาสตร์และในทุกสาขาความรู้ของมนุษย์ ปรัชญา จึงเป็น ความรู้ที่เป็นหลักแห่งความรู้ และเป็น ความรู้ที่เป็นหลักแห่งความจริงด้วย ผู้ที่ศึกษาและเข้าใจปรัชญาแล้วย่อมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ในศาสตร์ทั้งปวงและในทุกเรื่องรวมทั้งในเรื่องที่เกิดขึ้นชีวิตประจำวันของตนด้วย

ญาณวิทยา

ซึ่งญาณวิทยาจะอธิบายถึงปัญหาเกี่ยวกับที่มาของความรู้ แหล่งเกิดของความรู้ ธรรมชาติของความรู้ และเหตุแห่งความรู้ที่แท้จริง

อภิปรัชญา

อภิปรัชญาเป็นการศึกษาปรัชญาที่เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากการเห็นทั่ว ๆ ไป แต่สามารถรู้และเข้าใจด้วยเหตุผล

จริยศาสตร์

จริยศาสตร์ เป็นการศึกษาถึงเป้าหมายสูงสุดของมนุษย์เราว่าคืออะไร อะไรควรทำหรืออะไรไม่ควรทำเพื่อจะไปถึงเป้าหมายสูงสุดนั้นจะใช้เกณฑ์อะไรมามาตัดสินว่า สิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดี ดังนั้น เป้าหมายของชีวิต คือ ตัวที่จะกำหนดการกระทำของมนุษย์ว่าจะเป็นไปในแนวทางใดและเป้าหมายชีวิตของมนุษย์แต่ละคนนั้นก็แตกต่างกันออกไปหลายแนวคิด

สุนทรียศาสตร์

นักปราชญ์สมัยกรีก เพลโตและอริสโตเติลกล่าวถึง ความงามกับสิ่งที่งามสัมพันธ์กันอย่างไร มีมาตรการตายตัวหรือไม่ที่ทำให้ตัดสินใจว่าสิ่งนั้นงามหรือไม่งาม

ตรรกวิทยา

หมายถึง การอธิบาย การให้รายละเอียด มีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องมือในการคิดทางปรัชญา เพื่อค้นหาเหตุผลและความถูกผิดในการโต้แยงที่ต่างกัน

หมายเลขบันทึก: 462468เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2011 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท