ขั้นตอนการประเมินความต้องการจำเป็น


อเริ่มจากเรื่องที่เป็นประเด็นที่ตนเองสนใจก่อน แล้วค่อยๆปีนไต่ไปในขั้นที่สูงยิ่งๆขึ้น

จริงๆ แล้วท่านอาจารย์มอบหมายให้เขียนเรื่อง Advance Research  แต่นิสิตโข่งอย่างผู้เขียน ก็เขียนไม่ค่อยจะออก และไม่มีความสุขกับการเค้นสมองน้อยๆ ของตัวเอง  เลยต้องขอเริ่มจากเรื่องที่เป็นประเด็นที่ตนเองสนใจก่อน  แล้วค่อยๆปีนไต่ไปในขั้นที่สูงยิ่งๆขึ้น (วิธีนี้ไม่สงวนสิทธิ สามารถลอกเลียนแบบได้เลยนะคะ)  ความเดิม คือ เราทราบแล้วว่า ประเมินคืออะไร  ทำไปทำไม มีเทคนิคอะไรบ้าง ต่อไปนี้เราจะมาดูกันว่ามีขั้นตอนอะไรบ้างค่ะ 

 ขั้นตอนการประเมินความต้องการจำเป็น 

     ขั้นตอนของการประเมินความต้องการจำเป็น ซึ่งนำมาใช้ในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรสรุปได้เป็น 3 ตอนดังนี้ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546: 18-21)

    ขั้นที่ 1 ขั้นก่อนการประเมิน (Pre-assessment) ในขั้นนี้เป็นขั้นตอนของการสำรวจ (exploration) ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้

1.       วางแผนสำหรับการประเมินความต้องการจำเป็น

2.       นิยามหรือกำหนดจุดประสงค์ทั่วไปสำหรับการประเมินความต้องการจำเป็น

3.       กำหนดขอบเขตของการประเมินความต้องการจำเป็นหลักและ/หรือประเด็นที่

ต้องการประเมิน

4.       กำหนดรายละเอียดและข้อมูลความต้องการตามขอบเขตที่จะประเมิน                               

ซึ่งรวมถึงกลุ่มเป้าหมายในการประเมิน

5.       ตัดสินใจกำหนดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูล แหล่งข้อมูล วิธีการเก็บ

รวบรวมข้อมูล และการใช้ประโยชน์จากข้อมูล

ผลที่ได้จากขั้นตอนนี้ คือ แผนเบื้องต้นสำหรับการประเมินความต้องการจำเป็นและการนำไปใช้ในขั้นที่ 2 และ 3

      ขั้นที่ 2  ขั้นการประเมิน (Assessment) หลังจากการสำรวจความต้องการจำเป็นต่างๆ แล้วในขั้นนี้เป็นขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูล (data gathering) ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยๆ ดังนี้

                1. สรุปตัดสินใจกำหนดเกี่ยวกับบริบท ขอบเขต และสิ่งที่เกี่ยวข้องในการประเมินความต้องการจำเป็น

                2. เก็บรวบรวมข้อมูลของความต้องการ ซึ่งในขั้นตอนนี้ย่อมทำให้ทราบ                ความต้องการของผู้รับบริการหรือกลุ่มเป้าหมาย

                  3. หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว นำข้อมูลที่ได้มาจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นในเบื้องต้นระยะแรก

                 4. วิเคราะห์หาสาเหตุของความต้องการหรือประเด็นปัญหา

                 5. วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด

                ผลที่ได้จากขั้นตอนนี้ คือ ความต้องการจำเป็นหรือปัญหาที่ต้องการการแก้ไขตามลำดับความสำคัญในระยะแรก

    ขั้นที่ 3 ขั้นหลังการประเมิน (Post Assessment) เมื่อได้ผลการประเมินความต้องการจำเป็นแล้วในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่ง คือ การนำผลการประเมินไปใช้ (utilization) ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

                1. จัดเรียงลำดับ (Set priority) ความสำคัญของความต้องการจำเป็น  เทคนิคที่ใช้ในการจัดเรียงลำดับ เช่น การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (mean difference analysis) การวิเคราะห์ข้อมูลหลายมิติ (multi component data analysis) การกำหนดดัชนีความต้องการจำเป็นที่มีการถ่วงน้ำหนัก (weighted needs index)

                2. พิจารณาหาทางเลือกสำหรับการแก้ไขปัญหา   จากข้อที่ 1 การจัดเรียงลำดับทำให้ทราบปัญหาที่สำคัญเร่งด่วนที่สุด ถ้าหากไม่นำมาแก้ปัญหาก็จะสูญเปล่าในการทำการประเมิน ดังนั้นจึงต้องช่วยกันพิจารณาหาทางเลือกในการแก้ปัญหา

                3. พัฒนาแผนการปฏิบัติ เพื่อใช้ในการดำเนินการต่อไป

                4. ประเมินผล ของการประเมินความต้องการจำเป็น

                5. รายงานผล การประเมินความต้องการจำเป็น

หมายเลขบันทึก: 462404เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2011 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 20:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้ เพื่อจะใช้เป็นแนวทางในงานวิจัยซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ จากเนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจง่าย มองเห็นโครงสร้างในการทำงานวิจัยแนวนี้ ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท