ระดับของการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย


หยิบยกมาพอสะกิดใจ เพราะบางครั้งวิทยานิพนธ์ที่ส่งกันในระดับปริญญาโทหรือเอกนั้น แท้จริงแล้วอยู่ระดับกันแน่ค่

 

ระดับของการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย (Research-based learning)    ท่าน อาจารย์ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์  บุญเติม (2546 หน้า 13)  อธิบายระดับของการสอนแบบ RBL ได้ดังนี้

ระดับที่ 1 ผู้เรียนศึกษาหลักการ ความรู้ จากตำรา เอกสาร สื่อต่าง ๆ หรือจากคำบรรยายของอาจารย์ โดยมีการถกแถลง พูดคุย สนทนากันอย่างนักวิชาการ อ่านแล้วคิดอย่างไร เห็นอย่างไร เพราะเหตุใด ในชั้นนี้ต้องมีตำราพื้นฐาน (basic text) ในสาขาวิชาต่าง ๆ ให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง แล้วมาพูดคุยกันในเชิงวิชาการในชั้นเรียนต่อไป

ระดับที่ 2 เป็นการเรียนรู้ผลวิจัยจากการศึกษาด้วยตนเองหรือคำบอกเล่าของอาจารย์

การเรียนการสอนเริ่มเกี่ยวข้องกับตัวงานวิจัย กล่าวคือ ศึกษาข้อมูลความรู้จากผลงานวิจัยผู้อื่น เป็นระดับทักษะพื้นฐานของกระบวนการวิจัย คือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองแล้วคิดวิเคราะห์วิจารณ์จากเอกสารตำราหลัก ในระดับที่ 2 นี้ จะเป็นการศึกษาจากผลงานวิจัยแล้วคิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ถกแถลง พูดคุย สนทนาอย่างนักวิชาการอีกเช่นเดียวกัน

ระดับที่ 3 เป็นการเรียนรู้โดยศึกษาจากงานวิจัยโดยตรงเป็นการเรียนที่ทำให้เนื้อหาวิชาและกระบวนการวิจัยผสมผสานไปด้วยกัน ผู้เรียนจะได้ศึกษาว่าในศาสตร์ของตนนั้นเขาทำวิจัยหรือมีวิธีการหาความรู้กันอย่างไร วิจัยเรื่องอะไรกันบ้าง ความรู้ในศาสตร์นั้นอยู่ที่ไหน  ผู้เรียนจะได้ศึกษางานวิจัยชั้นเยี่ยมที่อาจารย์คัดสรรทั้งในด้านเนื้อหาสาระและระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง

 ระดับที่ 4 เป็นการทำรายงานเชิงวิจัย เมื่อเรียนรู้กระบวนการวิจัยในศาสตร์ของตน โดยศึกษาจากตัวอย่างงานวิจัยต่างๆ  ในระดับที่ 3 แล้ว ผู้เรียนควรสามารถทำรายงานเชิงวิจัยด้วยตนเองได้ อาจเป็นการทำกรณีศึกษา การสำรวจหรืออย่างน้อยก็เป็นงานวิจัยเอกสาร ซึ่งน่าจะมีคุณค่ามากกว่า รายงานประเภทคัดลอก ตัด แปะ ที่เคยทำกันมา

ระดับที่ 5 เป็นการทำวิจัยเล็ก ๆ หรือทำวิจัยฉบับจิ๋ว (baby research)  เพื่อให้ผู้เรียนได้คุ้นเคยกับกระบวนการวิจัยในลักษณะของการได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งถือเป็นแบบฝึกหัดการทำวิจัย ที่ยังไม่เน้นความใหม่หรือความเป็นประโยชน์ของข้อความรู้จากผลงานวิจัยเท่าใดนัก

ระดับที่ 6  เป็นการทำวิจัยภายใต้การนิเทศและ/ หรือการเป็นผู้ช่วยวิจัยในโครงการวิจัยของอาจารย์ ผู้เรียนจะมีโอกาสสัมผัสกับการทำวิจัยจริง ๆ ภายใต้การนิเทศของอาจารย์เจ้าของโครงการ ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ขั้นตอนการทำวิจัยด้วยการลงมือปฏิบัติ และยังศึกษากระบวนการจัดการโครงการวิจัยอีกด้วย

ระดับที่  7  เป็นการทำวิทยานิพนธ์ หรือทำวิจัยด้วยตนเอง เมื่อผู้เรียนมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยถึงระดับหนึ่งก็ควรที่จะสามารถทำงานวิจัยได้ด้วยตนเอง    ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสูงสุดของการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย

 

  หยิบยกมาพอสะกิดใจ เพราะบางครั้งวิทยานิพนธ์ที่ส่งกันในระดับปริญญาโทหรือเอกนั้น แท้จริงแล้วอยู่ระดับกันแน่ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 462389เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2011 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท