แนวทางลดค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ให้เป็น 0 บาท ทำได้จริงหรือ?


ใช้คอมพิวตอร์เดิมนั่นแหละ ทำเป็น thin client ตัดค่าลิขสิทธิ์ให้เป็นศูนย์ไปเลย

คุณผู้อ่าน... ท่านที่เคารพ

จากประสบการณ์ที่่ผมได้เข้าไป implement ระบบให้กับบริษัทต่าง ๆ ด้วย thin client นั้น พบว่าแต่ละบริษัทที่ใช้ thin client นั้นมีเป้าหมายที่แตกต่างกันบ้าง แต่มีเป้าหมายอย่างหนึ่งที่เหมือนกันทุกบริษัท คือ "ความต้องการลดค่าลิขสิทธิ์ ของเครื่่องพีซี" ซึ่งอาจจะทำให้ลดค่าลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวกับ OS (Windows) ลงไปได้สักครึ่งหนึ่งถ้าซื้อเป็นรุ่น XPe หรือ WinCE แต่หากรุ่นที่เป็น Linux ก็จะลดค่าลิขสิทธิ์ OS ได้ 100%

แต่ดูเหมือนว่าได้อย่าง ก็จะเสียอย่าง เหมือนคำโบราณไทยจริง ๆ สำหรับบริษัทที่มีคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว การนำ thin client เข้าไปใช้งาน ก็จะเสียเครื่องพีซีซึ่งใช้งานได้ดีอยู่แล้ว เกือบจะ 70% ของบริษัทที่ผมพบ จะนำ thin client ไปแทนพีซีเครื่องที่เสีย หรือในโปรเจคการซื้อเครื่องพีซีใหม่ ก็เปลี่ยนเป็นซื้อเครื่อง thin client แทน ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ ยังไม่ตอบโจทก์เรื่องเป้าหมายลดค่าลิขสิทธิ์ได้อย่างทันที ต้องรอให้มีเหตุการณ์เครื่องพีซีเสีย หรือโปรเจคใหม่เกิดขึ้นก่อน เมื่อถึงวันนั้น กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้เสียแล้ว ทั้งคนอนุมัติงบประมาณอาจจเปลี่ยนใจ หรืองบประมาณไม่มีแล้วก็ได้

ตัว thin client เองก็ยังมี OS ติดมาด้วยถ้าเป็น WindowsCE และ WindowsXPe จะมีค่าลิขสิทธิ์เช่นกัน การลดค่าลิขสิทธิ์ได้จริง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับ OS จึงเป็นไปได้เพียง 50% เท่านั้น ( ไม่ได้พูดถึง feature อื่น ๆ ที่่เป็นส่วนดีของ thin client ซึ่งอาจจะเทียบไม่ได้กับค่าไลเซนต์ ความเห็นในบทความนี้ พูดเฉพาะส่วนที่เป็นลิขสิทธิ์เท่านั้น เผื่อท่านเจ้าของ product thin client ทั้งหลายจะแย้งเอาได้ )

ถ้า solution ออกมาเป็นว่า "ใช้คอมพิวเตอร์เดิมที่มีอยู่แล้ว เป็น thin client เสียเอง" จะทำได้ไหม
เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่เดิม และลดค่าไลเซนต์ไปพร้อมกันโดยเลียนแบบ thin client ที่เป็น Linux OS เสีย

คำตอบก็คือ "ทำได้ครับ" และได้ผลเกินคาดเสียด้วย ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานของแต่ละบริษัทด้วย
ผมมั่นใจที่ตอบว่า "ได้" เพราะได้ implement ระบบ thin client โดยใช้เครือง pc มาแล้วหลายบริษัท หลายปี มีการทำ MA น้อยมากทั้งการดูแลรักษากันเองภายในบริษัท ก็ทำได้ง่ายใช้เวลาสั้น ๆ

อย่างตัวอย่างล่าสุดที่่ใช้ pc ทำเป็น thin client ก็คือบริษัทผลิตนมแห่งหนึ่งแถวปราจีน

ที่นั้นใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักในการ input ข้อมูลทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต ที่ดำเนินการผลิตตลอด 24 ชั่วโมง การ input ต้องมีความรวดเร็วแม่นยำ เนื่องจากกระบวนใหลของข้อมูลนั้นเป็นลักษณะเรียลทามน์ หน่วยงานถัดไปต้องได้รับข้อมูลก่อน จึงจะดำเนินกิจกรรมการผลิตได้อย่างถูกต้อง เป็นวงเวียนอยู่กับคอมพิวเตอร์อย่างนี้

หัวใจที่สำคัญก็คือคอมพิวเตอร์ต้องไม่เสียง่ายและรวดเร็วในการทำงานทั้ง input และ ประมวลผล
คอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็น Acer Emachine ที่ใช้ CPU เป็น Atom มีแรมอยู่ 512 MB. ใช้ Windows XP เป็น OS

คอมพิวเตอร์เหล่านี้เมื่อประจำอยู่ในโรงงาน ไกลหูไกลตาผู้ดูแล พนักงานที่ใช้ติดตั้งโปรแกรมใหม่ก็ได้ ใช้ flashdrive ก็ได้และเอาไปใช้ทางด้าน entertrain ต่าง ๆ คอมพิวเตอร์ติดไวรัส และเสียบ่อย ๆ ต้องโยกคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ เข้าไปประจำแทน เพื่อให้การ input ข้อมูลเป็นไปได้ตามปกติ

และคอมพิวเตอร์เหล่านี้ต้องจัดงบประมาณในการซื้อซอฟต์แวร์ไลเซนต์ที่ถูกต้องด้วย
เป็นงบประมาณทั้งโรงงานเกือบล้านบาท
ถ้าเป็น thin client ก็ต้องใช้เงินเกือบล้านบาท เช่นกัน และยังต้องเสียคอมพิวเตอร์เดิมด้วย

เราได้เริ่มเปลี่ยน Acer Emachine ให้เป็น Thin Client ด้วย CCOS ตอนแรกทำไป 13 เครื่องก่อน แต่ละเครื่องนี้นอยู่ใน process ที่สำคัญในกระบวนการผลิตด้วย เพื่อทดสอบการ input การพิมพ์ และความรวดเร็ว ในเดือนแรกไม่มีปัญหาใด ๆ เกิดขึ้นเลยกับ process ต่าง ๆ ที่ได้จาก Emachine ที่เป็น ThinPC ไปแล้ว เดือนที่สองต่อมาผู้บริหารได้จัดทำเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็น thin client เพิ่มขึ้นอีก 20 เครื่อง โดยให้เจ้าหน้าที่ไอทีของตนเองเป็นผู้ดำเนินการ ( ด้วยขั้นตอนที่ง่ายมาก ที่เราแนะนำ ) และในเดือนที่สาม ก็สามารถจัดคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องให้เป็น ThinPC ได้หมด โดยไม่มีผลกระทบต่อ process ใด ๆ เลย

ThinPC นั้นใช้ CCOS ซึ่งเป็น Linux อยู่แล้ว จึงไม่เสียค่าลิขสิทธิ์ใด ๆ เพิ่ม ทำให้คอมพิวเตอร์นั้นมีค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เป็น 0 บาทในทันที และยังใช้โปรแกรมเดิม ๆ ที่รันบนวินโดว์สได้อีก...

ถือว่าได้ลดค่าไลเซนต์ให้กับคอมพิวเตอร์ทั้งโรงงานได้เป็นศูนย์บาท คือลดได้ 100% จริง ๆ

ในตอนที่สองผมจะเริ่มบอกให้ท่านได้ทราบแล้วครับว่า CCOS นั้นคืออะไร ?
เหมาะต่อการใช้งานแบบไหน?

คอยติดตามตอนต่อไปครับ...


ตัวอย่าง Cloud Client OS (CCOS) ที่ใช้งาน site งานหนึ่ง

หรือติดตามรายละเอียดได้ที่

www.thinsolutionpartner.com

หมายเลขบันทึก: 462360เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2011 07:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท