KMay
นางสาว สุเมษา จำรูญศิริ

การพัฒนาห้องสมุดให้มีชีวิตตามนโยบายห้องสมุด 3 ดี โดยใช้หลัก 6 Es (ตอน 2)


3.  กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนการดำเนินงาน

 

เป้าหมาย

กรอบมาตรฐาน

หลักการปฏิบัติ 

วิธีการดำเนินงาน

ห้องสมุดมีชีวิต 

หนังสือ/สื่อดี

Economical (ประหยัด) คือ การใช้งบประมาณอย่างประหยัด

- หาแหล่งซื้อหนังสือที่ให้ส่วนลดในการจัดซื้อ ให้บริการจัดส่ง ให้เครดิตโรงเรียนในการจัดซื้อ โดยเป็นแหล่งที่เชื่อถือได้ มีหนังสือให้เลือกครอบคลุม น่าสนใจ มีคุณภาพ โดยปัจจุบันห้องสมุดท่าลี่วิทยาใช้บริการกับ บริษัทนานมี, ศูนย์หนังสือจุฬา, สำนักพิมพ์ไฮเอ็ด และบริษัทซีเอ็ด (ได้ส่วนลดประมาณ ร้อยละ 10-30)

Enough (เพียงพอ) คือ การจัดหาทรัพยากรห้องสมุดให้เพียงพอต่อความต้องการ

- สำรวจปริมาณหนังสือแต่ละหมวดหมู่

- วิเคราะห์สถิติการยืม หนังสือที่ถูกยืมมากที่สุด

- สังเกตพฤติกรรมการอ่าน และการยืมหนังสือของผู้ใช้บริการ

- สำรวจหนังสือที่ผู้ใช้บริการต้องการ

- วิเคราะห์ปริมาณหนังสือ และจำนวนผู้ใช้บริการ (ร้อยละ 5-10 ต่อคน)

เป้าหมาย

กรอบมาตรฐาน

หลักการปฏิบัติ 

วิธีการดำเนินงาน

 

บรรยากาศ/ภูมิทัศน์ดี 

Easy (สะดวก) คือ มีอาคารสถานที่ ครุภัณฑ์ และการใช้บริการที่สะดวกสบาย

- จัดบรรยากาศห้องสมุดให้สะดวกในการใช้บริการ มีความเป็นเอกเทศ ไม่มีเสียงดังรบกวน เดินทางมาใช้บริการได้สะดวก อากาศเย็นสบาย แสงสว่างเพียงพอ มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอใช้สะดวก แสงสว่างเพียงพอ

- สามารถปรับเปลี่ยนเคลื่อนย้ายได้ง่าย

- สามารถทำความสะอาดได้ง่าย

- มีโปรแกรมบริหารงานห้องสมุดเพื่อให้บริการได้ง่าย (ท่าลี่วิทยาใช้โปรแกรม PLS ซึ่งเป็นโปรแกรมฟรีที่ครอบคลุมการดำเนินงานพอสมควร)

Encourage (เร้าใจ) คือ มีบรรยากาศห้องสมุดที่มีสีสัน เร้าใจให้อยากเข้ามาใช้บริการ

- จัดหาเฟอร์นิเจอร์ที่มีสีสัน

- ปรับปรุงครุภัณฑ์เดิมให้ดูทันสมัยด้วยการจัดวางและเพิ่มสีสัน

- มีการจัดตกแต่งด้วยสีสันที่จัดจ้านมากยิ่งขึ้น เพื่อกระจายสีสันเผื่อครุภัณฑ์เก่า

- มีการจัดห้องสมุดใหม่อยู่เสมอ มีการเคลื่อนย้าย และจัดตกแต่งมุมใหม่ๆ

- นำผลงานนักเรียนมาจัดแสดงผลัดเปลี่ยนเวียนไป เพื่อเร้าความสนใจจากเจ้าของผลงานและเพื่อนๆ ตลอดจนเป็นการแบ่งปันองค์ความรู้

 

เป้าหมาย

กรอบมาตรฐาน

หลักการปฏิบัติ 

วิธีการดำเนินงาน

 

บรรณารักษ์/กิจกรรมดี

Expert (เชี่ยวชาญ) คือ บรรณารักษ์มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญในการดำเนินงานห้องสมุด เพื่อให้ทำงานได้รวดเร็ว ตลอดจนมีความรอบรู้ เชี่ยวชาญในการแสวงหาความรู้

- ครูบรรณารักษ์ควรมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานห้องสมุดทั้งงานบริหาร งานเทคนิค งานบริการ และงานประชาสัมพันธ์ (ครูที่จบบรรณารักษ์โดยตรงจะสามารถทำงานเทคนิคได้เร็วกว่า สามารถนำเวลาในการทำงานเทคนิคไปให้บริการ จัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ห้องสมุด)

- ครูบรรณารักษ์มีความสามารถในการแสวงหาความรู้ สามารถแนะนำเทคนิคการหาข้อมูลทั้งจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้

- ครูบรรณารักษ์รักในวิชาชีพบรรณารักษ์

 

Enjoy (สนุก) คือ มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และสร้างนิสัยรักการเรียนรู้ที่สนุกสนาน หลากหลาย และสม่ำเสมอ

- กิจกรรมบันทึกการอ่าน

- กิจกรรมที่คาดหนังสือ

- กิจกรรมที่คั่นหนังสือ

- กิจกรรมหนังสือเล่มเล็ก

- กิจกรรมออกแบบปกหนังสือที่ชอบ

- กิจกรรมเพิ่มปัญญา 5 นาที

- กิจกรรมเล่าเรื่อง 1 เล่มใน 1 รูป

- กิจกรรมอ่านแล้วคิด (หมวก 6 ใบ)

- กิจกรรม face book คิดรอบด้าน

- กิจกรรมละครคุณธรรม

- กิจกรรมประกวดเรียงความ

- กิจกรรมประกวดบันทึกการอ่าน

- กิจกรรมประกวดวาดภาพห้องสมุดในฝัน

 

หมายเลขบันทึก: 461731เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2011 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท