การตรวจอุจาระ


Occult Blood

การตรวจอุจาระ 

การตรวจอุจาระเป็นการตรวจหน้าที่ของระบบย่อยอาหารรวมถึงการดูดซึมอาหารและโรคอื่นๆใการตรวจอุจาระแพทย์จะตรวจดังต่อไปนี้

  • ลักษณะ ดูลักษณะเหลว ก้อน มีมูกหรือไม่ มีเลือดหรือไม่
  • สี ของอุจาระ สีของอุจาระนอกจากจะเกิดจากลักษณะอาหารที่เรารับประทานเข้าไปยังเกิดจาก น้ำดีที่หลั่งออกมาจากถุงน้ำดีและเลือดที่ออกในทางเดินอาหาร อุจาระสีขาวอาจจะเกิดจากท่อน้ำดีอุดตัน อุจาระสีดำหลามถึงมีเลือดออกในกระเพาะ อุจาระมีเลือดสดปนหมายถึงมีเลือดตั้งแต่ลำไส้ใหญ่
  • ดูไข่พยาธิจากกล้องจุลทรรศน์
  • ตรวจ หาเลือดในอุจาระ บางครั้งเลือดที่ออกมีปริมาณน้อยไม่สามารถแยกด้วยตาเปล่าจึงต้องใช้ ปฏิกิริยาทางเคมีเพื่อตรวจหาเลือดในอุจาระถ้าให้ผลบวกแสดงว่าตลอดทางเดิน อาหารมีเลือดออกซึ่งอาจจะเกิดจาก แผลในกระเพาะอาหาร มะเร็งทางเดินอาหาร ริดสีดวงทวารหนัก และเกิดจากยาแก้ปวด ก่อนตรวจควรลดวิตามินซี ผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินซีเนื่องจากทำให้ผลตรวจคลาดเคลื่อน ไม่ควรทานเนื้อแดง เลือด ธาตุเหล็กก่อนตรวจ

การตรวจอุจจาระ
Stool  Examination

  • การตรวจอุจจาระ  เรียกว่า  Stool exการตรวจอุจจาระเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย ๆ แต่มีความสำคัญในทางการแพทย์
  • เป็นตัวช่วยในการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ ได้มากมาย amination หรือ Fecal analysis

ประกอบด้วย

  • การตรวจทางกายภาพ ( Physical examination) 
  • การตรวจหาเชื้อปรสิตโดยกล้องจุลทรรศน์

                ( Microscopic examination )

เป็นการตรวจดูลักษณะทั่ว ๆ ไปของอุจจาระโดยใช้ตาเปล่า

  • ดูสี ( Color ) 
  • ลักษณะของอุจจาระ ( Consistency ) 
  • มูก ( Mucus ) 
  • เลือด ( Blood )
  • สีของอุจจาระปกติคือสีน้ำตาล ( Brown )  เกิดจากสาร Stercobilin  ซึ่งเป็นสารที่ได้มาจากการที่ bacteria ในลำไส้ทำปฏิกิริยากับ bilirubin ที่ถูกขับออกมาในอุจจาระนั้นเอง

 

ลักษณะของอุจจาระ ( Consistency )

  • อุจจาระปกติจะมีลักษณะอ่อนตัว ( Soft )  และ  formed หรือ semiformed คือเป็นก้อนนั้นเอง 
  • การที่อุจจาระมีลักษณะแข็ง ( Hard )  และแห้งเนื่องจากภาวะของผู้ที่มีอาการท้องผูกเนื่องมาจากมีการดูดซึมน้ำกลับมากเกินไปหรืออดื่มน้ำเข้าไปไม่มากพอ  หรือ ลักษณะและรูปร่างของอุจจาระที่เกิดเนื่องจากโรคบางอย่าง

 

มูก ( Mucus )

  • มูกที่อยู่ในอุจจาระของคนปกตินั้นมีจำนวนน้อยและไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้  แต่หากเห็นมูกด้วยตาเปล่าได้ในสิ่งส่งตรวจที่เป็นอุจจาระแล้ว ก็ชี้ให้เห็นว่าเป็นสิ่งผิดปกติ

การรายงานผล

Mucus  :  Positive  =  พบมูกในอุจจาระ

Mucus  :  Negative  =  ไม่พบมูกในอุจจาระ

เลือด ( Blood )

  • ถ้ามีเลือดออกมาปนกับอุจจาระเกินกว่า 3 มล.  ภายใน 24 ชั่วโมงแล้ว  เป็นสัญญาณที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึง gastrointestinal  disease  บางครั้งอาจมี bleeding ใน  upper G.I. tract  มากถึงกับมีเลือดออกมา  75-200 มล.  โดยที่สีหรือลักษณะที่ปรากฏออกมาของอุจจาระไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยก็ได้ 
  • ในทางตรงกันข้าม  bleeding จำนวนเล็กน้อยอันเนื่องมาจาก hemorrhoids , cancer หรืออื่น ๆ อาจมีเลือดออกมามากกว่า 20 – 200 มล. 
  • ความแตกต่างระหว่าง Upper GIT  กับ Lower GIT
    ระบบทางเดินอาหารตอนบน Upper GIT คือส่วนที่เริ่มจาก ปาก ไปจนถึงกระเพาะอาหาร
  • ระบบทางเดินอาหารตอนล่าง Lower GIT คือส่วนที่เริ่มจากส่วนลำไส้ (Duodenum) ไปจนถึงทวารหนัก (Anus)

การมีเลือดออกตอนบน Upper GI Bleeding

 

เม็ดเลือดแดงที่แตกจะปล่อยฮีโมโกลบินออกมา

 

เมื่อมาถึงกระเพาะ
เจอกับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร (Gastric acid)

 

จะเปลี่ยนฮีโมโกลบินให้กลายเป็นฮีม

      


  การมีเลือดออกตอนล่าง Lower GI Bleeding

เม็ดเลือดแดงที่แตกจะปล่อยฮีโมโกลบิน ออกมาปนกับอุจจาระ โดยตรง หรืออาจพบเม็ดเลือดแดงปนกับอุจจาระโดยตรง

การตรวจดูลักษณะของอุจจาระโดยกล้องจุลทรรศน์
( Microscopic examination )

  • จุดประสงค์ในการตรวจดูลักษณะของอุจจาระโดยกล้องจุลทรรศน์นั้น  ก็เพื่อหาพวก ไข่พยาธิ ( eggs )  ,  ปล้องพยาธิ  , หรือพยาธิต่าง ๆ โดยวิธี  Direct method 
  • หา Protozoa
  • หาเซลล์เม็ดเลือด
  • หา yeast

การตรวจอุจจาระโดยวิธี Direct method

  • ใช้ไม้จิ้มอุจจาระให้ได้ขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟ
  • จิ้มลงบนแผ่น glass slide ที่หยด 0.85% NSS ( Normal Saline Solution ) 1 หยด  เตรียมไว้แล้ว
  • จิ้มแล้วกวนให้ผสมเข้ากับ NSS
  • จากนั้นใช้ Cover slip ปิด
  • นำไปดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์

การตรวจหา Occult blood ในอุจจาระ

 

  • การตรวจหาเลือดในอุจจาระ ( Fecal  Occult  Blood Test )
  • เป็นการตรวจหาเลือดในอุจจาระในกรณีที่มีเลือดอยู่น้อยเกินกว่าจะมองเห็นได้

มีการทดสอบ 2  แบบ  คือ

  1. Traditional  Chemical Test

     - COLOSCREEN  Occult Blood Screening Test โคโลสกรีน ชุดตรวจหาภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร แบบ ปฏิกิริยาเคมี

   2. Single Immunoassay Test

       - ชุดตรวจหาภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารแบบ ปฏิกิริยาอิมมูโน

  1. Traditional  Chemical Test

                COLOSCREEN  Occult Blood Screening Test

            โคโลสกรีน ชุดตรวจหาภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร

        แบบ ปฏิกิริยาเคมี

            -  ใช้ไม้ป้ายอุจจาระ เลือกตำแหน่งโดยการสุ่มหลายๆจุด นำไปป้ายบนแถบสำหรับทดสอบ 

            -  หยดน้ำยาสำหรับทดสอบจำนวน 2 หยด
            -
 รอสังเกตสีฟ้าที่เกิดขึ้นบนพื้นกระดาษทดสอบสีขาว แล้ว แปลผลการตรวจ   

การรายงานผลการตรวจวิเคราะห์

  • หากไม่ปรากฏสีฟ้า         Negative   ผลลบ
  • หากปรากฏสีฟ้า             Positive     ผลบวก   (   หรืออาจเป็นผลบวกปลอม  )

 2. วิธีการทำการทดสอบ

  • Single Immunoassay Test
    ชุดตรวจหาภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารแบบ ปฏิกิริยาอิมมูโน
    1. 
    ป้ายอุจจาระมาใส่ลงในหลอดทดสอบ

       2.  ปิดฝาให้สนิทแล้วทำการเขย่าหลอดทดสอบ เพื่อละลายเอาส่วน

          Hemaglobin ออกมา  แล้วตั้งทิ้งไว้

       3. จากหลอดน้ำยาในตอนแรก หยดน้ำยาลงในช่องตัวอย่างของตลับบทดสอบ จำนวน 3-5 หยด

       4. รออ่านเครื่องหมายที่เกิดขึ้นนาน 10 นาที
       5.
แปลผลการตรวจ โดยการสังเกตุแถบสีในช่องอ่าน

การรายงานผลการตรวจวิเคราะห์

หากปรากฏแถบสีม่วงแดงจำนวน 1 แถบที่บริเวณ   C    =   Negative

ผลลบหากปรากฏแถบสีม่วงแดงจำนวน 2 แถบ

ที่บริเวณ   C /T     =   Positive  ผลบวก  

ผลบวกปลอม  ( False positive )

ไม่มีสารนั้นอยู่จริง แต่ให้ผลบวกจากปฏิกิริยาอื่น จึงรายงาน Positive

ผลลบปลอม  ( False negative )

มีสารนั้นอยู่จริง แต่ตรวจว่าไม่มีสารนั้น จึงรายงาน Negative

ข้อควรระวัง

ข้อควรระวังและแนวทางแก้ไขเพื่อป้องกันการเกิดผลบวกปลอม

  1.  Sample ต้องไม่ปนเปื้อนกับปัสสาวะซึ่งอาจมี  RBC ปนเปื้อน ทำให้เกิดผลบวกปลอม

         ผลบวกปลอมอาจเกิดจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์  เนื่องจากในเนื้อสัตว์จะมี  Myoglobin  ซึ่งสามารถ  Peroxidase activity  เช่นเดียวกับ  Hemoglobin  ซึ่งจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยงดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ประมาณ 3 วันแล้วทำการทดสอบซ้ำ

  2. Bacteria ในลำไส้, ผัก และผลไม้บางชนิด เช่น กล้วยหอม, horseradish , turnip ก็จะมี peroxidase activity ทำให้เกิดผลบวกปลอมเช่นกัน

   3. การรักษา ที่มี Iron เป็นส่วนประกอบ จะให้ผลบวกปลอมได้

   4. ผลลบปลอม อาจเกิดจากสารจำพวก Ascorbic acid เมื่อรับประทานวิตามินซี ทุกวันในปริมาณที่มากกว่า 500 mg เนื่องจากเป็น Reducing agent

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #Occult Blood
หมายเลขบันทึก: 461623เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2011 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท