chacha2907
ฝ่ายอำนวยการ สพจ.ปทุมธานี CDD Pathum thani

บ้านทางยาว


บ้านทางยาว

ส่วนที่ 1   ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้านทางยาว 1.๑ พื้นที่บ้านทางยาว  มีจำนวน 3,231 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ จด หมู่ที่ 3 ตำบลโคกช้าง อำเภอบางไทร  ทิศใต้ จด หมู่ที่ 7 ตำบลคลองควาย ทิศตะวันออก จด หมู่ที่ 3 ตำบลคลองควาย ทิศตะวันตก จด หมู่ที่ 10 ตำบลบางเตย
๑.2. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน/สภาพภูมิประเทศเดิมสมัยโบราณเมื่อหลายร้อยปีบ้านทางยาวเป็นถิ่นทุรกันดารมาก การสัญจรไปมาค่อนข้างลำบาก การเดินทางมายังบ้านทางยาวนั้นมาได้ทั้งทางเรือและ   ทางเท้า ใช้เวลาในการเดินทางยาวนานมากจึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน          “บ้านทางยาว”  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มในฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมทุกปี มีน้ำทำการเกษตรตลอดปี จึงเป็นแหล่งน้ำสมบูรณ์ และเหมาะสำหรับเป็นพื้นที่เกษตรกรรมเพาะปลูก ทำสวน ทำนา สภาพดินร่วนซุย มีคลองสระไหลผ่านหมู่บ้าน สภาพดินฟ้าอากาศ เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู และอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่วไป เศรษฐกิจโดยรวมของหมู่บ้าน เป็นลักษณะเศรษฐกิจพอเพียงมีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ระหว่างการทำนา การทำสวนผลไม้ การทำสวนผัก การเลี้ยงปลาในบ่อ ในร่องสวน และรับจ้างทั่วไปใช้เวลาเดินทางโดยพาหนะ รกจักรยาน/รถยนต์ ถึงอำเภอ ระยะ 10  กิโลเมตร ใช้เวลา 20 นาที ราษฎรในหมู่บ้านใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เป็นยานพาหนะในการเดินทางคมนาคม ถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน ตำบล ส่วนใหญ่เป็นถนนลาดยางใช้การได้ดีในการใช้สัญจรไปมาสะดวกคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 1 สายถนนลาดยาง จำนวน 2 สายถนนลูกรัง จำนวน 2 สายสะพาน คสล. จำนวน 1 สาย

แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร      บ้านทางยาวมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์         มีลำคลอง ทั้งหมด ๓ สาย ไหลผ่านหล่อเลี้ยงชีวิตชาวบ้านทางยาวในการทำการการเกษตร ดังนี้ 1. คลองพระอุดม2. คลองสระ3. คลองควาย

๑.3 จำนวนครัวเรือน และประชากรแยกตามอายุจำนวนครัวเรือน 187 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 83๗ คน 
ช่วงอายุ ชาย หญิง รวมน้อยกว่า 1 ปีเต็ม ๒1 ปีเต็ม – 2 ปี ๑๐3 ปีเต็ม – 5 ปี ๑๙ ๑๒ ๓๑6 ปีเต็ม – 11 ปี ๓๖ ๒๖ ๖๒12 ปีเต็ม – 14 ปี ๒๒ ๑๕ ๓๗15 ปีเต็ม – 17 ปี ๑๘ ๑๓ ๓๑18 ปีเต็ม – 25 ปี ๕๐ ๓๗ ๘๗26 ปีเต็ม – 49 ปีเต็ม ๑๗๔ ๑๖๖ ๓๔๐50 ปีเต็ม – 60 ปีเต็ม ๕๐ ๘๒ ๑๓๒มากกว่า 60 ปีเต็มขึ้นไป ๔๙ ๕๖ ๑๐๕รวม ๔๒๖ ๔๑๑ ๘๓๗
๑.4 ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นอาชีพหลัก ประกอบอาชีพทำนา/ทำสวน อาชีพรอง อาชีพรับจ้าง / ทำงานทั่วไปมีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนละ   7๕,๐๑๓.๙๓     บาท/คน/ปีจากการที่บ้านทางยาว มีพื้นที่ที่เหมาะกับการเกษตร และประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา  ทำให้เป็นจุดสนใจของหน่วยงานราชการ และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มากมาย  

และในปี 2548  มหาวิทยาลัยรังสิต ได้ให้ความสนใจที่จะเข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้นำ และกลุ่มเกษตรกร   ที่มีอาชีพทำนาในพื้นที่บ้านทางยาว  โดยคิดที่จะทำการเพิ่มมูลค่าข้าวที่ปลูกในพื้นที่ให้มีคุณภาพ และขายได้ราคาสูงกว่าท้องตลาดทั่วไป  จึงได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปช่วยเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า และทำให้ผลผลิตจากข้าวมีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น  คือการทำข้าวมอลต์  ได้ส่งเข้าคัดสรร ปี 2551  จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาว ของอำเภอสามโคก และ จังหวัดปทุมธานี  ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ข้าวมอลต์  นอกจากเอาไปหุงรับประทานแล้ว  สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ได้หลากหลายมากขึ้น  เช่น น้ำข้าวกล้อง โจ๊ก และข้าวมอลต์ ยังเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่ให้คุณค่าทางวิตามินสูง เป็นที่ต้องการของตลาด  ทางกลุ่มสามารถผลิตส่งให้กับทางห้างเดอะมอลล์  ตลาด อตก. ซึ่งมี Order  เป็นประจำทุกเดือนด้วยศักยภาพของหมู่บ้าน และวิสัยทัศน์ของผู้นำที่มีความที่ต้องการจะให้หมู่บ้านพึ่งตนเองได้  จึงได้มีการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมการเรียนรู้และมีกองทุนต่าง ๆ ขึ้นในหมู่บ้านมากมายหลายกิจกรรม เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเฉลิมพระเกียรติบ้านทางยาว(ผลิตข้าวมอลต์)  กลุ่มเลี้ยงเป็ด  กลุ่มเลี้ยงกบ  กลุ่มเลี้ยงปลา  กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ  กองทุนหมู่บ้านฯ  กองทุนแม่ของแผ่นดิน  กองทุนน้ำมัน  กองทุนกลุ่มผู้ใช้น้ำ  กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต  กลุ่มสตรีทำน้ำพริก  โรงสีข้าวชุมชน และโรงไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
๑.๕ ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี เทศกาล ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพลงโนเน  เป็นเพลงแสดงประกอบการทำขนมจีน เพลงโนเนมีการเล่นเพลงประกอบการทำงานอย่างสนุกสนานโดยร้องเป็นบทกลอนโต้ตอบระหว่างชายและหญิง เพื่อเกี้ยวพาราสีกันของพ่อเพลงแม่เพลงและคนที่มาช่วยโขลกขนมจีนก็จะเป็นลูกคู่ร้องรับการแต่งตัวของผู้แสดงเพลงโนเนเป็นลักษณะคนไทยสมัยโบราณคือผู้ชายจะใส่เสื้อลายดอกคอกลมแขนสั้นกางเกงขายาวขาก๊วย คาดผ้าขาวม้าไว้ที่เอว  ผู้หญิงจะนุ่งโจงกระเบน หรือผ้านุ่งผ้าซิ่นมีเชิงลายไทย เสื้อแขนกระบอกสีต่างๆแขนยาวหรือชุดคนทำงานสมัยโบราณการร้องเพลงโนเนพ่อเพลงแม่เพลงต้องมีความสามารถ ในการจำเนื้อเพลงที่ร้องและร้องให้เข้ากับจังหวะของการโขลกแป้ง และใช้ปฏิภาณไหวพริบในการร้องแก้เกี้ยวกัน  ระหว่าง พ่อเพลง กับแม่เพลง สำหรับลูกคู่ก็ต้องร้องรับให้ถูกต้อง ให้กลอนสัมผัสคล้องจองกัน เป็นการสัพยอกหยอกล้อกัน 

การแสดงลิเก เกิดขึ้นจากเงินกองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านทางยาวเป็นหมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง และปลอดยาเสพติด โดยได้รับเงินพระราชทานเงินขวัญถุงกองทุนแม่ของแผ่นดิน ในปี  2551  จำนวน 8,000 บาท  เป็นเงินขวัญถุงที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถมอบให้เป็นเงินขวัญถุงแก่หมู่บ้านที่มีความเข้มแข็ง  และปลอดยาเสพติด  โดยให้หมู่บ้านได้ใช้ปัญญาที่มีอยู่บริหารงาน บริหารงบประมาณเงินขวัญถุงกองทุนแม่ของแผ่นดินให้เกิดดอกออกผล งอกเงย  เรียกแรงศรัทธา จากชาวบ้านให้เห็นความสำคัญในเงินก้อนน้อย ๆ และให้มีการระดมทุน สนับสนุนเพิ่มเติม ให้กองทุนแม่ของแผ่นดินได้ขับเคลื่อน และสนับสนุนการทำงานต่อต้าน รณรงค์ให้หมู่บ้านปลอดยาเสพติดอย่างยั่งยืน   ทำให้เงินกองทุนมีความศักดิ์สิทธิ  โดยใช้แรงศรัทธา  มาร่วมกัน  จนหมู่บ้านทางยาวได้นำเงินที่หามาได้ส่วนหนึ่งสนับสนุนให้กับเยาวชน ลูกหลานบ้านทางยาวให้มีการฝึกลิเก/กลองยาว ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน 

๑.๕ บริการในตำบล/แหล่งท่องเที่ยว/อัตลักษณ์หมู่บ้าน
วัดสหราษฎร์บำรุง  สร้างเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๗๙ โดยมีนายทีและนางนวม  จำพงษ์ บริจาคที่ดินให้ ชาวบ้านเรียกว่า “วัดใหม่ตาที” ต่อมาเห็นว่าที่ดังกล่าวกันดารจึงได้ติดต่อ  ที่ใหม่ติดลำคลอง หมอแก่น นางจำเนียร มอบที่ดินให้เป็นที่สร้างวัดซึ่งเป็นที่อยู่ปัจจุบัน มีพระประธานในอุโบสถนามว่า “หลวงพ่อตรัยรัตน” เป็นศูนย์ร่วมจิตใตของราษฎร์ในหมู่บ้านทางยาว โรงเรียนวัดสหราษฎร์บำรุง  เป็นโรงเรียนระดับประถม มีจุดเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมวัฒนธรรมที่เกิดจากกองทุนแม่ของแผ่นดิน ซี่งมีที่ทำการตั้งอยู่ภายในโรงเรียน ฝึกสอนศิลปลิเก ดนตรีไทยให้กับเยาวชน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ  บ้านทางยาวได้รับคัดเลือกให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “มั่งมี ศรีสุข” ปี ๒๕๕๓ โดยมีจุดเรียนรู้ที่น่าสนใจน่าศึกษา จำนวน ๗ จุด ดังนี้ ๑. ศูนย์เรียนรู้ตามโครงการอันเนื่องมาจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๑ ๒. เศรษฐกิจพอเพียงบ้านยายกุด เป็นการเรียนรู้การพึ่งตนเองโดยการปลูกพืชผักสวนครัว ๓. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม การฝึกสอนการแสดงลิเกและดนตรีไทย ๔. โรงไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นการผลิตไฟฟ้าโดยใช้วัชพืชในการผลิต ๕. สวนลุงตุ้ม  การเรียนรู้ศึกษาการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับต้นไม้ เรียนรู้อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ๖. โรงงานต้นแบบผลิตข้าวมอลต์ โดยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรเฉลิมพระเกียรติบ้านทางยาว ๗. เกษตรผสมสผาน การเรียนรู้เกษตรทฤษฏีใหม่
          อัตลักษณ์บ้านทางยาว หมู่ที่ 8 ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี คือ “ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม นำพาเศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงชีวิตบ้านทางยาว”

ผู้นำหมู่บ้าน1.  นายสมศักดิ์  ฉ่ำศรี ผู้ใหญ่บ้าน2.  นายประเทือง  ทนทะนาน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน4.  นายมนัส  เกิดลาภี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน5.  นางสาวแก้ว ถิ่นพายัพ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านปราชญ์ชาวบ้าน1.  นายเดชา  เครือโชติ ศาสนา/เศรษฐกิจพอเพียง2.  นายสำรวย  ชูทรัพย์ การจัดการเงินทุน3.  นางชม้อย  เครือโชติ ศิลปวัฒนธรรม4.  นายวงศ์  เชิดชู ศาสนา และวัฒนธรรม5.  นางเช้า  อ่างบัว การจักสาน/ทำขนมไทย6. นางดาวเรือง  วุฒิเศรษฐ์ การจักสาน7. นายไพรัตน์  เกษร การทำลอบดักปลา8. นายพยอม  สุขสุมิตร ดนตรีไทย(กลองยาว/ระนาด)9. นายโกมินทร์  คล้ายเชียงราก อุปกรณ์หาปลา (แห)
กลุ่ม/องค์กร ๑. กองทุนแม่ของแผ่นดิน๒. กองทุนหมู่บ้านทางยาว๓. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต๔. กองทุนกลุ่มผู้ใช้น้ำ๕. กองทุนน้ำมัน๖. กลุ่มเลี้ยงเป็ด๗. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรบ้านทางยาว

 


คำสำคัญ (Tags): #บ้านทางยาว
หมายเลขบันทึก: 461581เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2011 17:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท