ปิยะพงษ์
พระมหา ปิยะพงษ์ ธีรปญโญ สิงห์ศิริ

คำนำ


        อนุพุทธประวัติ  คือ  ประวัติของพระสาวกที่รับฟังคำสั่งสอนจากพระศาสดาแล้วเพียรพยายามปฏิบัติฝึกหัดกาย วาจา และใจตามนั้น จนได้บรรลุผลสูงสุดในพระพุทธศาสนา  คือ  พระอรหัตผล  พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้รวบรวมประวัติของท่านเหล่านั้นไว้ในพระบาลีโดยย่อ ๓ ด้าน  คือ

          ๑. อปาทาน  ว่าด้วยการสร้างสมความดี  ตั่งแต่ได้รับการพยากรณ์จากสำนักพระพุทธเจ้า  ในปางก่อนจนถึงชาติสุดท้าย  แต่ละรูปใช้เวลาอย่างน้อยที่สุด  ๑  แสนกัป

          ๒. เอตทัคคะ  คือความเป็นผู้เลิศเพราะมีความชำนาญในด้านนั้น ๆ เช่น

 พระสารีบุตรเถระเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายด้านมีปัญญามาก 

          ๓. เถรคาถา  รวบรวมคำพูดที่พระเถระเหล่านั้น  ได้กล่าวไว้ในโอกาสต่าง ๆ  ซึ่งเป็นข้อคิดคติธรรมสำหรับ  ปัจฉิมมาชนตาชน  จะได้นำไปประพฤติปฏิบัติตามกุศลฉันทะของแต่ละบุคคล

          ครั้นต่อมา  พระอรรถกถาจารย์  ได้อธิบายบาลีเหล่านั้นให้กว้างขวางออกไป 

จึงทำให้ได้ประวัติความเป็นมา  ของพระสาวกเหล่านั้นชัดเจนยิ่งขึ้น  ซึ่งในที่นี้ได้กำหนด

เป็น  ๙  หัวข้อด้วยกัน  คือ

          ๑. สถานะเดิม หมายถึง ชื่อเดิมของแต่ละท่าน ชื่อบิดามารดา วรรณะ ประเทศที่เกิด

          ๒. ชีวิตก่อนบวช หมายถึง การศึกษา การประกอบอาชีพ การแต่งงาน และการดำเนินชีวิตอื่นๆ เช่น เป็นนักบวช นักพรต เป็นต้น

          ๓. มูลเหตุของการบวชในพระพุทธศาสนา  หมายถึง  เหตุจูงใจที่จะทำให้ท่านเหล่านั้นทิ้งอาชีพการงาน  และลัทธิเดิมเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา

          ๔. การบรรลุธรรม  หมายถึง  การที่ท่านเหล่านั้นได้บรรลุธรรมในพระพุทธศาสนา  ตั้งแต่โสดาปัตติผลจนถึงอรหัตผล  ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง  อันจะทำให้ผู้ศึกษาเห็นว่าการบรรลุธรรมในพระพุทธศาสนานั้นมีหลายวิธี  จะทำให้คลายความยึดมั่น 

          ๕. การประกาศพระพุทธศาสนา  หมายถึง  พระเถระเหล่านั้นได้เป็นกำลังในการช่วยพระศาสนา  ประกาศ  ศาสนาอย่างไรบ้าง  ซึ่งจะทำให้เห็นได้ว่า  การประกาศพระศาสนาของพระเถระแต่ละรูปนั้น  แบ่งออกเป็น  ๒  ภาค  คือ

          ๑. ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่  เช่น  พระสารีบุตรเถระ  สามารถนำคนเข้ามานับถือพระพุทธศาสนาได้มากมาย  จนพระศาสดายกย่องว่า  “ เหมือนมารดาผู้ให้กำเนิดบุตร “ 

          ๒.  หลังจากท่านปรินิพพานแล้ว  ประกาศด้วยปฏิปทาของท่าน  เช่น  พระมหากัสสปเถระ  มีคนเลื่อมใสในปฏิปทาของท่าน  แล้วบวชตามอย่างท่าน  ตามตำนานกล่าวว่ามีหลายแสนรูป

          ๖. เอตทัคคะ  หมายถึง  ตำแหน่งอันเลิศกว่าภิกษุรูปอื่นในด้านต่าง ๆ  เช่น  มีปัญญามาก  มีฤทธิ์มาก  มีศรัทธามาก  เป็นต้น  อันพระศาสดาทรงยกย่องแต่ละท่าน  ตามความเชี่ยวชาญที่ได้บำเพ็ญมาเป็นเวลานาน

          ๗. บุญญาธิการ  หมายถึง  ความดีอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพาน  และที่อุดหนุนเกื้อกูลความปรารถนาตำแหน่งนั้น ๆ  ที่แต่ละท่านได้ว่างเอาไว้  ซึ่งต้องบำเพ็ญเป็นเวลายาวนาน  หลังจากได้รับการพยากรณ์แล้ว  ต้องใช้เวลาถึง  ๑  แสนกัปเป็นอย่างน้อย

          ๘. ธรรมวาทะ  หมายถึง  คำพูดที่พระเถระแต่ละรูปได้กล่าวไว้ในโอกาสต่าง ๆ  อันจะก่อให้เกิดความรู้สึก  ถึงบาปบุญคุณโทษ  และผิดชอบชั่วดี  แก่ผู้ที่ได้อ่านและได้ยินได้ฟัง

          ๙. ปรินิพพาน  หมายถึง  การที่พระเถระเหล่านั้น  ได้จากโลกนี้ไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  ที่ไหน  เมื่อไร  และโดยวิธีใด

หมายเลขบันทึก: 461579เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2011 17:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท