เกษตรอินทรีย์2


การทำน้ำหวานหมักจากผลไม้

ต่อ จากครั้งก่อนครับ

การทำน้ำหวานหมักจากผลไม้ (น้ำพ่อ) สูตร 2

 ส่วนประกอบที่ใช้หลัก

 

 1.   กล้วยน้ำว้าสุก                                              2        กิโลกรัม

2.   มะละกอสุก                                                 2        กิโลกรัม

3.   ฟักทองแก่                                                  2        กิโลกรัม

4.   น้ำตาลทรายอ้อยหรือกากน้ำตาล                         20      กิโลกรัม

5.   สารเร่ง พ.ด. 2                                             1        ซอง

6.   ต่อถังหมัก                                                  100     ลิตร

7.   หัวเชื้อจุลินทรีย์                                            1000   CC.

 วิธีหมัก

 

1.   ใช้ผลไม้ทั้งหมด ไม่ต้องล้าง ไม่ต้องปลอกเปลือก หั่นหรือฝานตามขวางหนา 3-5 ซม.

2.   การหมักทำเช่นเดียวกับการหมักน้ำหมักจากพืชสดสีเขียว

 ประโยชน์ของน้ำหวานหมักจากผลไม้

 

1.   ปรับปรุงโครงสร้างของดิน

2.   ใช้เป็นหัวเชื้อทำปุ๋ยหมัก

3.   ใช้บำบัดน้ำเสีย กลิ่นเหม็น

4.   ใช้เร่งใช้พืชออกดอกออกผล

5.   ใช้เร่งผลให้พืชสมบูรณ์ เพิ่มความหวาน

6.   ใช้เร่งราก – หัว ของพืช

 สูตรการใช้น้ำพ่อและน้ำแม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

 ใช้ ฉีด รด ราด อัตราส่วน 1 ต่อน้ำ 500 (3 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร)

1.   ช่วงเร่งการเจริญเติบโต ใช้น้ำแม่ 10 ส่วน + ใช้น้ำพ่อ 1 ส่วน

2.   ช่วงเร่งให้พืชออกดอก ใช้น้ำแม่ 5 ส่วน + ใช้น้ำพอ 5 ส่วน

3.   ช่วงเร่งผล ราก หัว ใช้น้ำแม่ 1 ส่วน + ใช้น้ำพ่อ 10 ส่วน

 วิธีใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมกับน้ำหวานหมัก

 

 การใช้กับพืชไร่พืชผัก

 

            1  เตรียมแปลงเสร็จ หว่านปุ๋ยชีวภาพบนแปลงประมาณ 2 กำมือ หรือ 240 กรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เอาหญ้าหรือฟางคลุมทับ แล้วรดด้วยน้ำหวานหมักในอัตราส่วน 3 ช้อนแกง ต่อน้ำ 10 ลิตร รดแปลงให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 7-15 วัน แล้วปลูกพืช ถ้าหว่านพืชเสร็จแล้วคลุมฟางอย่างเดิม

           2. หลังจากปลูกพืชแล้วประมาณ 10-12 วัน ถ้าพืชไม่เจริญเติบโตตามต้องการ ให้เติมปุ๋ยชีวภาพอีกแล้วฉีดพ่นด้วยน้ำหวานหมัก จากพืชสดสีเขียว  3-7 วัน ต่อ 1 ครั้ง

 ยาเชื้อรา

 

1.   ทองพันช่าง                                         10.  ลูกพิกุล     

2.   ลูกมะพลับ                                           11.  ลูกตะโก

3.   ชุมเห็ดเทศ                                          12.  ลูกมะเกลือ

4.   เปลือกประดู่                                         13.  เถากระดอน

5.   ใบข่อย                                                14.  ใบพลูกินหมาก (เถาพลูสด)

6.   เปลือกมังคุด                                          15.  หัวกระเทียม

7.   ใบมะถุม                                                16.  เปลือกแคกินดอก

8.   ใบยูคาลิปตัส                                          17.   เปลือกคูณ

9.   สารเร่ง พ.ด. 3  1 ซอง

 ส่วนผสมอย่างละ 3 กิโลกรัม หัวเชื้อจุลินทรีย์ (อีเอ็ม) 1000 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร กากน้ำตาลหรือโมราส 25 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

หมายเลขบันทึก: 461561เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2011 16:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 03:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สงสัยครับว่า สับปะรด ทำปุ๋ยหมักได้หรือไม่? อย่างไร?

สับปะรด ทำปุ๋ยหมักได้ครับ โดยใช้เศษ สับปะรด (เปลือกสับปะรดหรือ เนื้อสับปะรด) 5 กก. กากน้ำตาล 1 กก. น้ำ 15 ลิตร หมักไว้ประมาณ 1 เดือน หรืออยากได้เร็วขึ้นใช้สาร พ.ด. 2 หมักประมาณ7 วันก็สามารถใช้ได้ เป็นปุ๋ยน้ำ ถ้าทำปุ๋ยหมักแบบแห้งต้องใช้สับปะรดจำนวนมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท