ปิยะพงษ์
พระมหา ปิยะพงษ์ ธีรปญโญ สิงห์ศิริ

ลักษณะของวรรณคดีบาลี


ลักษณะของวรรณคดีบาลี

วรรณคดีบาลี เป็นหนังสือหรือเรื่องราวที่วางอยู่บนพื้นฐานของความจริง ความงาม และความดี อันมีคำอธิบายที่ประกอบด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง และส่วนหนึ่งอาจแสดงอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความบันดาลใจ และจินตนาการที่สะท้อนถ่ายความชัดเจนของชีวิตและโลก หลักคำสอนหรือหลักพุทธธรรม จึงเป็นเนื้อหาสาระโดยเปิดเผยหรือที่พึงประสงค์ในการรวบรวมและเรียบเรียงเป็นคัมภีร์ต่างๆ เป็นประมวลหลักบัญญัติธรรม คำวิเคราะห์ แจกแจงให้ปรากฏ

ในสมัยพุทธกาล พระอานนท์รวบรวมไว้แล้วนำเสนอในที่ประชุมสังคีติกาจารย์ในคราวทำปฐมสังคายนาหลังจากพุทธปรินิพพาน ซึ่งในครั้งแรกและครั้งที่ ๒ นั้นยังใช้คาว่า “ธรรมวินัย” พอถึงคราวสังคายนาครั้งที่ ๓ จึงปรากฏว่าคำว่า ติปิฏก หรือ ปิฏกตฺตย เป็นพระไตรปิฎก การสังคายนาครั้งนี้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญคือพระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระธรรมทูตออกประกาศพระพุทธศาสนา ๙ สาย สังคายนาครั้งที่ ๔ – ๕ ก็ยังใช้คำพระไตรปิฎก แต่ครั้งที่ ๕ เกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญคือมีการจารึกลงในใบลาน ดังนั้น จึงเห็นลงตัวว่า การสังคายนาครั้งที่ ๑-๔ ยังใช้ภาษาพูด ครั้งที่ ๕ จึงมีภาษาอักษร ซึ่งทำให้นักการศึกษาบางท่านเห็นว่าพระไตรปิฎกเริ่มต้นที่เกาะลังกา เพราะหลักฐานปรากฏว่า การสังคายนาครั้งที่ ๑-๓ ทำที่ชมพูทวีป ครั้งที่ ๔ และ ๕ ทำที่ประเทศศรีลังกา

หมายเลขบันทึก: 461371เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2011 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท