10 กฎทอง Entrepreneur


10 กฎทอง Entrepreneur

 

10 กฎทอง Entrepreneur

ตั้งใจจะทิ้งชีวิต "มืออาชีพ" สิ้นเดือนก็ได้รับเงินเดือน สิ้นปีก็ได้โบนัส ได้ขึ้นเงินเดือน ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินทองมาเป็นเจ้าของกิจการ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : แต่...มีวิถีที่ตรงข้ามกับมนุษย์สิ้นเดือนสิ้นเชิง สิ้นเดือนก็ต้องจ่ายเงินเดือน สิ้นปีให้โบนัส ขึ้นเงินเดือนให้ลูกน้อง วันๆ ต้องกังวลว่าจะมีเงินจ่ายค่าน้ํา ค่าไฟ จ่ายเงินเดือนหรือเปล่า ก็ต้องทําให้รุ่ง ทําให้สําเร็จ ไม่ทําอะไรครึ่งๆ กลางๆ ยักแย้ยักยันจนหมดเวลา หมดแรงฉะนั้นผู้ที่จะมาเป็นเจ้าของกิจการ จะต้องมีแรงขับเคลื่อนที่สตาร์ทเอง ไม่ต้องให้ใครมาเข็น ทั้งนี้ต้องยึดถือกฎทองทั้ง 10 ข้อต่อไปนี้

กฎข้อที่ 1 ชัดเจนใน DOs and DON'Ts

ผู้ที่จะริเริ่มทําธุรกิจใหม่ ต้องการความสําเร็จ ไม่ใช่เพียงแค่หาเงินเลี้ยงชีพไปวันๆ จะต้องมองให้ขาด ตีโจทย ให้แตกว่าเงื่อนไขที่ Must กับเงื่อนไข Sufficient มีอะไรบ้าง
เงื่อนไขแบบที่เรียกว่า Must นั้น คือเงื่อนไขจําเป็นในการเริ่มตนธุรกิจ นั่นคือ เป็นธุรกิจที่มีความต้องการในตลาด หรือเป็นปัญหาที่คนยังแก้ได้ไม่ดี หรือแก้ไม่ได้ ขณะเดียวกันก็เป็นความต้องการที่ตัวคุณเองสามารถ ตอบสนองได้ดีกว่าคนอื่น แก้ปัญหาได้เก่งกว่าคนอื่น ทั้งสองประการนี้รวมกันก็เท่ากับว่าตลาดจําเป็นต้องมี คุณจึงจะแก้ปัญหานั้นได้ มีความเป็นเอกลักษณ์ที่คนอื่นเอาอย่างได้ยาก
คุณต้องมองเห็นสิ่งที่คนอื่นเขามองไม่เห็น คนพบสิ่งที่สามารถบอกตัวเองได้อย่างเต็มปากว่า "ข้าฯ เจอแล้ว เจอสิ่งที่ตลาดต้องการอย่างแท้จริง" การเป็นเพียง Me-Too Product เลียนแบบคนอื่น ทําสิ่งของให้เหมือนกัน แต่ขายในราคาต่ํากว่า เท่านั้นจะไม่ยั่งยืน ไม่นานก็ล้มหายตายจากโลกนี้ไป
โอกาสธุรกิจมีอยู่เกลื่อนกลาด แต่ต้องเข้าให้ถึง "แก่นแท้" ของความต้องการตลาดอย่างแท้จริง คนที่เข้าถึง ตลาดไม่เคยมีใครล้มเหลว ตอบตัวเองให้ได้ว่า "ลูกค้า" ของคุณต้องการอะไร คนส่วนใหญ่มักจะลําดับ ความคิดไม่ถูกต้อง หลายคนมองแต่คู่แข่งว่าเขาทําอะไร หรือมองแต่ตัวเองว่าทําอะไรได้ แต่ลืมว่าคนที่ต้องเข้าใจให้ดีที่สุดคือลูกค้า ตราบใดที่ไม่ลืมความคิดอันนี้ ไอเดียธุรกิจใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เพราะลูกค้าเป็นมนุษย์ที่มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด มีกิเลส ไม่รู้จักพอ สิ่งที่ลูกค้ายังไม่พอใจอยู่ ยังมีอยู่มากมายรอบตัวตลาดจึงเกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด
คุณจะต้องหัดตั้งคําถามให้ถูกต้อง "ถ้าเกิดมีผลิตภัณฑ์แบบนี้ คุณคิดว่าอย่างไร" หรือ "ถ้าเรื่องนั้นเป็นไปได้ คุณจะทําอย่างไร" "ถ้าเกิด......คุณคิดว่าอย่างไร".......คําถามทํานองนี้แหละจะทําไปสู่ไอเดียอันบรรเจิดซึ่งจะต่อเนื่องไปสู่ธุรกิจที่สําเร็จได้ คนที่ตั้งคําถามเป็นกับคนถามไม่เป็น ลงไปภาคสนามจะเห็นความแตกต่างราวฟ้ากับดิน

ยิ่งเรื่องไอเดียผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วยแล้ว ต้องมองให้เห็นถึงปัญหาอยู่เสมอ ถามตัวเองและคนรอบขางให้ได้ว่า"ปัญหามันคืออะไร" "อะไรคือสิ่งที่ไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น" ตอบคําถามนี้ได้เมื่อไร จะมองออกเลยว่าโลกเรามีผลิตภัณฑ์อะไรที่ยังขาดการพัฒนาอีกบ้าง

กฎข้อที่ 2 เมื่อโอกาสมาถึงต้องกดคันเร่ง

ในระยะแรกนั้นอาจจะระมัดระวัง คอยควบคุมให้โอกาสล้มเหลวน้อยที่สุด เมื่อสําเร็จแล้วหนึ่ง สําเร็จอีกหนึ่ง เมื่อเห็นจังหวะเหมาะต้องเหยียบคันเร่งให้เต็มที่
คนยุคนี้เลียนแบบเก่งมาก ทําอะไรดีๆ เดี๋ยวของปลอม เดี๋ยวของคลายคลึง ของใกล้เคียงโผล่มาเพียบขณะเดียวกัน วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ก็สั้นลงอย่างน่าใจหาย เผลอแป็บเดียวก็ตกต่ําไปฉิบธุรกิจในสมัยนี้ มีปัจจัยความสําเร็จอยู่ที่การสร้างความแตกต่างความแตกต่างสมัยนี้มีเพียง 2 ประการเท่านั้น คือความเร็วและคุณค่า (Customers and Value) เดี๋ยวไม่มีใคร ทําอะไรได้ถูกกว่าคนอื่นเท่าไรแล้ว ความเร็วเป็นปัจจัยหนึ่งที่นํามาซึ่งความสําเร็จ เพราะรุกตลาดเร็วกว่าคู่แข่งเล็กน้อย ถอยได้เร็วกว่าอีกหน่อย เท่านี้คุณก็ได้หัวกะทิของตลาดไปแล้ว ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมกฎข้อที่ 1 คือสนองความต้องการของลูกค้าให้ถึงกึ๋น เข้าให้ถึงปัญหาของลูกค้า ให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุณทําได้ดีกว่า คู่แข่งของคุณ (ทางเลือกอื่นของลูกค้า) เล็กน้อยอยู่เสมอ
ลองมามองจากสายตาลูกค้าดู ถ้ามีใครที่คุณรู้สึกว่า "ไอ้นี่มันดีกว่า ต้องการเมื่อไรก็มาถึงก่อนทุกที" แล้วลูกค้าจะไปเลือกคนอื่นทําไมกัน
เพราะฉะนั้น ถ้าคุณมีอะไรเหมือนๆ กับคู่แข่ง มุ่งแต่จะขายราคาต่ํากว่าเท่านั้น ยอดขายคุณจะเติบโตได้มากขนาดไหนก็ไม่ยั่งยืน และถ้าทําอะไรเหมือนๆ กับคนอื่น ด้วยความเร็วเท่าคนอื่น ก็ไม่ต้องหวังว่าจะชนะได้คุณต้องมองหาทางที่จะไปถึงจุดมุ่งหมายได้เร็วกว่าคู่แข่ง อาจจะด้วยวิธีการที่แตกต่าง หรือด้วยอะไรก็แล้วแต่
อย่างไรก็ดี คําว่า Economies of Speed ก็ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ความว่องไวช่วงสั้นๆ เท่านั้น การทําธุรกิจเป็นเรื่องระยะยาว คุณต้องซ่อมให้มี footwork ดีอยู่เสมอ เร็วอยู่ตลอดเวลา รักษาระดับอยู่ตลอดเวลา เหมือนกับการวิ่ง มาราธอน ไม่ได้เร่งในช่วงสุดท้าย แต่ความเร็วต้องไม่ตกจึง จะเป็นผู้ชนะในที่สุดเมื่อสามารถนําเสนอคุณภาพที่ดีกว่าด้วยความเร็วที่เหนือกว่า สิ่งต่อมาที่จะสร้างความยั่งยืนของ ความรวดเร็วและคุณค่า นั่นก็คือ ความสามารถที่จะรักษาสิ่งเหล่านี้ไม่ให้ถูกลอกเลียนแบบได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการ lock in ลูกค้า หรือการจดทะเบียนสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ เพื่อให้กฎหมายคุ้มครองเอกสิทธิ์เหนือความรู้ที่อุตส่าห์สร้างมา หรือหาเทคนิคที่ใครก็ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้

คำสำคัญ (Tags): #บริหาร 5
หมายเลขบันทึก: 461120เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2011 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท