การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือการอับเฉา : บทบาทเชิงกลยุทธ์ของการเปลี่ยนแปลง


การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือการอับเฉา : บทบาทเชิงกลยุทธ์ของการเปลี่ยนแปลง  

การ เปลี่ยนแปลงคือการเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุดจากสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีที่ เกิดขึ้น องค์การต่าง ๆ ต้องตระหนักและเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น องค์การขนาดใหญ่ต้องค้นหาแนวทางต่าง ๆ ที่จะบริหารงานดั่งองค์การขนาดเล็ก ที่ยืดหยุ่น โดยมีปัจจัยที่สำคัญ คือ ความก้าวหน้า การเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การอิ่มตัวของตลาดภายในประเทศ และกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม

ประเภทของการเปลี่ยนแปลง มี 2 ประเภท คือ  

1.  การเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป (incremental change) เป็น การก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง จะมีผลกระทบต่อส่วนใดส่วนหนึ่งขององค์การเท่านั้น เปลี่ยนแปลงโดยผ่านโครงสร้างและกระบวนการบริหารเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีและ ผลิตภัณฑ์

2.  การเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง (radical change) เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์การทั้งหมด จากโครงสร้างแนวตั้งไปสู่โครงสร้างแนวนอน เป็นการสร้างโครงสร้างและกระบวนการบริหารใหม่

ประเภทของการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ มี 4 ประเภท ดังนี้

  • ผลิตภัณฑ์และการบริการ
  • กลยุทธ์และโครงสร้าง
  • วัฒนธรรม
  • เทคโนโลยี

องค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ประสบความสำเร็จ ประกอบไปด้วย

  • แนวคิด (ideals)
  • ความต้องการ (need)
  • การนำไปใช้ (adoption)
  • การดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้บังเกิดผล (implementation)
  • ทรัพยากร (resource)

การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี

เป็นเรื่องของการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ องค์การที่เน้นนวัตกรรมจะมีความยืดหยุ่น เมื่อองค์การมีการเปลี่ยนแปลงจะนำโครงสร้างแบบอินทรีย์มา ใช้ เพื่อการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่วุ่นวาย ซึ่งโครงสร้างจักรกลไม่สนับสนุนให้มีการสร้างนวัตกรรมแต่เพื่อให้องค์การ บรรลุทั้งนวัตกรรมและประสิทธิภาพ ดังนั้น ในการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี องค์การต่าง ๆ จะใช้โครงสร้างแบบอินทรีย์และโครงสร้างแบบจักรกลรวมเข้าด้วยกัน

เทคนิคเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี  เป็น การใช้องค์การแบบอินทรีย์และแบบจักรกลรวมกัน ซึ่งได้แก่ 1) การสับเปลี่ยนโครงสร้าง 2) แยกให้มีแผนกความคิดสร้างสรรค์ 3) ทีมร่วมทุนกัน 4) ความเป็นผู้ประกอบการของบริษัท

ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่

ผลิตภัณฑ์ใหม่จะประสบความสำเร็จอยู่ในตลาดได้ต้องผ่านพัฒนาการ 3 ขั้นตอน คือ

  1. ผลิตภัณฑ์นั้นมีความสมบูรณ์ทางเทคนิค
  2. ผลิตภัณฑ์นั้นสามารถทำให้เป็นการค้า
  3. ความสำเร็จทางการตลาด

 

 

 

และใช้โมเดลการเชื่อมโยงในแนวนอน ที่มี 3 องค์ประกอบ ดังนี้

  1. ความชำนาญเฉพาะด้านของแผนกงาน
  2. ความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม
  3. การเชื่อมโยงแนวนอน โดยองค์การต่าง ๆ ใช้ทีมจากแผนกงานตามหน้าที่ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

            การบรรลุข้อได้เปรียบในการแข่งขันโดยมีนวัตกรรมด้านผลิตภุณฑ์อย่างรวดเร็วนั้นได้เปลี่ยนแปลงจากกระบวนทัศน์เก่าที่ว่า “ให้สิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดโดยมีต้นทุนน้อยที่สุด” เป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่ว่า “ให้สิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดโดยมีต้นทุนน้อยที่สุดในเวลาที่ใช้น้อยที่สุด”

การเปลี่ยนแปลงด้านกลยุทธ์และโครงสร้าง

เป็น การเน้นลดสายการบังคับบัญชาให้สั้นลง โดยองค์การต่าง ๆ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้าง เช่น การลดขั้นตอนการบริหารและกระจายอำนาจในการตัดสินใจ การใช้โครงสร้างแนวนอนให้มากขึ้น การใช้โครงสร้างแบบเครือข่าย และมีการใช้ Internet มากขึ้นในการทำงาน ปัจจัยที่ทำให้องค์การต้องเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์และโครงสร้างคือ การนำ e-commerce มาใช้และต้องใช้โครงสร้างแบบจักรกล

แนวการศึกษาแกนด้านการบริหารและแกนด้านเทคนิค (the dual-core approach) ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางการบริหาร (ใช้โครงสร้างแบบจักรกล) และการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิค (ใช้โครงสร้างแบบอินทรีย์)

การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรม

เป็น การเปลี่ยนแปลงที่ยากที่สุดเพราะเกิดขึ้นจากคน โดยคนในองค์การเป็นผู้กระทำการเปลี่ยนแปลง และต้องเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การที่สำคัญคือ reengineering เป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบการจัดองค์การในแนวนอน โดยเน้นการทำงานเป็นทีม และการบริหารคุณภาพโดยรวมทั้งหมด (TQM) เน้นการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารในเรื่องคุณภาพ โดยเน้นไปที่ลูกค้าทั้งภายนอกและภายใน  

องค์การ แห่งการเรียนรู้ เป็นการแบ่งปันความรู้ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง เน้นการเปลี่ยนแปลงค่านิยมวัฒนธรรมองค์การแบบเก่าไปสู่แนวทางของการคิดแบบ ใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงองค์การอย่างเป็นระบบทั้งหมดซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ ยากที่สุด

กลยุทธ์เพื่อนำการเปลี่ยนแปลงไปใช้

ผู้นำต้องเป็นผู้ให้การสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลง สร้างความผูกพันทั่วทั้งองค์การเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

อุปสรรค ของการเปลี่ยนแปลง คือ เน้นในเรื่องค่าใช้จ่ายมากเกินไป ไม่เห็นประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลง ขาดการประสานงานและความร่วมมือ กลัวความไม่แน่นอน และกลัวการสูญเสีย

แนวคิดเพื่อทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ เป็นการนำองค์ประกอบความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงมากำหนดความจำเป็นที่แท้ จริงว่าต้องเปลี่ยนแปลง ค้นหาแนวคิดว่ามีอะไรบ้าง ฝ่ายบริหารระดับสูงให้การสนับสนุนในการเปลื่ยนแปลง งบประมาณ การออกแบบการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เตรียมแผนไว้ล่วงหน้าเพื่อเอาชนะการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง สร้างทีมการเปลี่ยนแปลง และ สนับสนุนคนที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ที่มา///http://masterclub.multiply.com/journal

หมายเลขบันทึก: 460765เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2011 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 01:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท