การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขององค์การ


การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญขององค์การ

           ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของผู้บริหารที่สำคัญก็คือ ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก เพราะฉะนั้นผู้บริหารจึงต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นแบบลักษณะที่เรียกว่า Time water คือ เป็นได้ทั้งน้ำนิ่งและน้ำที่มีคลื่นลม ซึ่งไม่ได้เป็นแบบใดแบบหนึ่ง แต่มันจะผสมผสานกัน เหตุผลที่สำคัญที่ผู้บริหารจะต้องทำในการเปลี่ยนแปลง เพราะในปัจจุบันถ้าเราไม่เปลี่ยนเราจะอยู่ไม่ได้ คือ แนวคิดแบบเก่าจะมองว่า ถ้าอะไรก็ตามที่มันยังทำงานได้อยู่ (If it’s work, Don’t change it) ก็ไม่จำเป็นที่ต้องไปเปลี่ยนมัน แต่แนวคิดแบบใหม่นั้น ถ้าเราไม่เปลี่ยนเราจะอยู่ไม่ได้ (If you don’t change can’t you survive) เพราะฉะนั้นเราจึงต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ฉะนั้นการบริหารการเปลี่ยนแปลงจึงเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ต่อการจัดการบริหาร จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญนั้น ประกอบด้วย 3 ประเด็นคือ

1.  การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง

เป็นการปรับเปลี่ยนในเรื่องของงานที่เป็นเฉพาะด้าน, เรื่องของการแบ่งกลุ่มงาน, สายงาน

บังคับบัญชา อะไรก็ตามที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้าง เราจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนกับสภาพที่เปลี่ยนไป ที่เรียกว่า Restructure (ปรับโครงสร้าง) ซึ่งสามารถแบ่งสร้างได้ 2 แบบ

-Mechanistic และ Organic

2.  การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี

เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีการในด้านการทำงานและเครื่องมือ เป็นการประยุกต์นำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานและนำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย

3.  การเปลี่ยนคนในองค์กร

เป็นการปรับเปลี่ยนทางลักษณะ Attitude หรือเจตคติ ในลักษณะที่เรียกว่า Change Organization Development (การปรับเปลี่ยนเพื่อพัฒนาองค์กร) ในแง่ทางการคาดหวัง การรับรู้และพฤติกรรมของคนในองค์กร

ในด้านวิธีการ โดยธรรมชาติของคนนั้นเมื่อเกิดการปรับเปลี่ยนก็จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั้น เพราะฉะนั้นจะต้องใช้วิธีการลดการต่อต้านในการเปลี่ยนแปลง คือ

1.  ให้การศึกษา

2.  ให้การรับรู้ในสิ่งที่จะเกิดขึ้น

3.  การให้เข้ามามีส่วนร่วม

4.  อำนวยความสะดวกและให้การสนับสนุนในเวลาต่อต้าน

5.  เจรจาต่อรอง

6.  บิดเบือนข้อมูลและขณะเดียวกันต้องพยามยามเข้าไปมีอิทธิพลเหนือผู้ต่อต้าน

7.  ใช้กำลังบังคับ

         สิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนอีกประการนอกเหนือจาก 3 ประเด็นดังกล่าว คือ วัฒนธรรม  ในปัจจุบันวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญในการปรับเปลี่ยน รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพอยู่อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังต้องประกอบด้วยการบริหารความเครียดกับพนักงาน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้บริหารตองเผชิญหน้ากับมัน เพราะฉะนั้นประเด็นแรกที่จะต้องปรับเปลี่ยน คือ

1.  วัฒนธรรม คือ ธรรมเนียมปฏิบัติ , คำนิยมร่วม ตามเหตุกรณีของ Mckincy จะไม่ใช้คำว่า Culture แต่ใช้คำว่า Share Value แทน เพราะฉะนั้นวิธีการในการเปลี่ยนคนองค์กรอย่างที่เราต้องการ คือ การสร้างวัฒนธรรม เพราะว่าเราเลิกวิธีการบังคับลงโทษ ฉะนั้นในการปรับเปลี่ยนคนนั้นเราจะไม่ปรับเปลี่ยนค่านิยม เพราะค่านิยมเป็นตัวที่เปลี่ยนยาก ตัวค่านิยมคือ ตัวความเชื่อที่ติดฝังแน่น Enduring Believe เราจึงหันมาปรับเปลี่ยน Attitude พฤติกรรมแทน แต่เมื่อมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม เราสามารถปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมได้ในช่วงและโอกาสไหน

      ประการแรก คือ ปรับเปลี่ยนเมื่อวัฒนธรรมเริ่มอ่อนแอไม่ค่อยมีคนยึดถือปฏิบัติ และต่อไปวัฒนธรรมนั้นจะถูกกลืนทำให้วัฒนธรรมนั้นไม่มีความหมาย หรือ การเปลี่ยนผู้นำ เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนผู้นำเมื่อนั้นวัฒนธรรมจะเปลี่ยนตาม เพราะผู้นำมีแนวทางและแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันทำให้มีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมได้

       ประเด็นถัดมา คือ การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้อง จะโยงรวมไปถึงในการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องนั้น เราจะใช้เครื่องมือตัวนึง คือ TQM และมีการทำ Process Engineering ควบคู่กัน นอกเหนือจาก TQM แล้ว เครื่องมืออีกอย่างที่นำมาเปลี่ยนแปลงระบบในองค์กรคือ Reengineering คือ  การปรับรื้อระบบ      ความเป็นมาของการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องเกิดขึ้นจาก เมื่อก่อนผู้ผลิตจะมุ่งการผลิตที่เน้นเป็น Mass Production เป็นการผลิตที่เน้นเชิงปริมาณทำให้ต้นทุนต่ำ พอผลิตปริมาณมากแล้วทำให้ลืมเรื่องคุณภาพ และยุคต่อมาจึงหันมาให้ความสำคัญในด้านคุณภาพควบคู่กันไป จึงมีการปรับรื้อระบบในการผลิต

         และประเด็นสุดท้าย คือ การบริหารความเครียด ในธรรมชาติของมนุษย์นั้น ปกติเคยปฏิบัติอย่างไร ก็จะปฏิบัติเช่นเดิมอย่างนั้น และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นก็จะเกิดมีความเครียดขึ้น ซึ่งองค์กรทั้งหลายจึงต้องปรับตัวรับกับความเครียดของพนักงานในองค์กร และประเด็นการเปลี่ยนแปลงถัดมาที่ทำให้เกิดการพัฒนายิ่งขึ้นในปัจจุบัน นั้นคือ นวัตกรรม (Innovation) การที่จะมีนวัตกรรมขึ้นมาได้นั้น ต้องมีสิ่งต่าง ๆ ประกอบกันทางด้านทรัพยากร , ด้านการสื่อสารติดต่อกันในระหว่างหน่วยงาน

         โครงสร้างขององค์กรในปัจจุบันต้องเป็นโครงสร้างแบบ Organic คือ       เป็นลักษณะโครงสร้างที่ยืดหยุ่น ไม่เป็นทางการมากนัก และทุกอย่างปรับเปลี่ยนได้ ในปัจจุบันเราต้องมีการปรับเปลี่ยนและสำรวจตัวเองที่ทำให้ได้เปรียบในการแข่งขัน ก็คือ ปรับเปลี่ยนให้มันดีขึ้น Change for the better เพราะฉะนั้นผู้บริหารเองต้องเป็นผู้ชักนำหรือ Change Agent ในการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง

         ต่อมาจะพบว่า ก่อนที่ผู้บริหารจะนำไปเป็นแผนปฏิบัติ (Reading) ผู้บริหารต้องมีการศึกษาถึงพฤติกรรมขององค์กร เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผู้บริหารจะชักนำนั้น  ตัว Function หลักมีดังนี้ คือ การจูงใจคือการเข้าไปมีบทบาทเป็นผู้นำผู้บริหารต้องมีความเข้าใจในเรื่องพฤติกรรม   เพราะฉะนั้นพฤติกรรมของคนและองค์กรนั้นเป็นตัวที่จะต้องทำการศึกษา

         ขั้นตอนแรกทำการศึกษาพฤติกรรมบุคคล Individual    จะเป็นพฤติกรรมที่มีบางแง่มุมซ่อนเร้นไม่ให้ผู้อื่นรับรู้ Hidden Aspects ส่วนสิ่งที่เราสามารถมองเห็นได้ เช่น รูปแบบกลยุทธ์ นโยบาย วัตถุประสงค์       สิ่งเหล่านี้สามารถรับรู้และมองเห็นได้ แต่สิ่งที่มองไม่เห็นและซ่อนเร้นนั้น คือพฤติกรรม Attitude , เจตคติ การรับรู้ บรรทัดฐานกลุ่ม เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น แต่มีอิทธิพลในการแสดงออกซึ่งพฤติกรรม และยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

-  พฤติกรรมบุคคล Individual  Behavior : เกิดจากพฤติกรรม, บุคลิกภาพ , การเรียนรู้ และการจูงใจล้วนส่งผลไปยังพฤติกรรมกลุ่ม

-  พฤติกรรมกลุ่ม Group Behavior : เกิดจากกฎเกณฑ์, บทบาท บรรทัดฐาน การสร้างทีมล้วนส่งผลให้พฤติกรรมบุคคลนั้น แตกต่างจากพฤติกรรมในการเข้ากลุ่ม ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องศึกษาเพิ่มเติมในหัวข้อ การชักนำ

Goal of OB

ประกอบด้วย อธิบาย, พยากรณ์ และการเข้าไปมีอิทธิพลต่อพฤตกรรม

เป็นปัจจัยในการศึกษาคนให้รับรู้ถึงพฤติกรรม (Attitude) ประกอบด้วย 3 ปัจจัย

1.  ความเข้าใจ, การรับรู้

2.  ความรู้สึก, อารมณ์

3.  พฤติกรรม , การแสดงออก

เช่น เรารู้ว่า การคอร์รัปชั่นเป็นสิ่งไม่ดี               นั่นแสดงถึงความเข้าใจและการรับรู้ ,

และเราไม่ชอบคนคอร์รัปชั่น เพราะไม่ดี           นั่นแสดงถึงความรู้สึกทางอารมณ์

จากนั้นเราไม่ยุ่งเกี่ยวคบหาคนที่คอร์รัปชั่น นั่นแสดงถึงการแสดงออกทางพฤติกรรม

เราเรียนรู้ Attitude เพื่อไปปรับใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความพึงพอใจในการทำงาน ถ้าสถานที่ทำงานมี Attitude ดีย่อมส่งผลให้ผลงานดีตามมาเช่นกัน

Personality : บุคลิกภาพ เป็นสิ่งที่บ่งชี้ให้เห็นว่าบุคคลนั้น ๆ มีพฤติกรรมอย่างไร ศึกษาเรื่องบุคลิกภาพเพื่อ Put the right man in the right job

Perception : การรับรู้ คนเรามักมีการรับรู้ที่แตกต่างกัน ศึกษาเพื่อให้เกิดทฤษฎีการอ้างเหตุผล สรุปว่าเรื่องราว Perception นั้น เป็นเรื่องมุมมองในแต่ละบุคคล

Learning : การเรียนรู้ เกิดจากประสบการณ์ การทำซ้ำ เหตุการณ์ในอดีตจากการดูผู้อื่น เพราะฉะนั้นก่อนผู้บริหารจะนำไป    Leading นั้นต้องเข้าใจในตัวบุคคล     และต้องรู้ว่าสิ่งที่อยู่เบื้องหลังในแต่ละบุคคลนั้นว่ามีอะไรทำให้เขาคิดหรือทำอย่างไร และเราสามารถอธิบาย คาดเดา และไปมีอิทธิพลในพฤติกรรมของเขาได้

การพิจารณาพฤติกรรมกลุ่ม ประกอบด้วย

-  Role : บทบาทของบุคคลในกลุ่ม

-  Conformity : ความกลมกลืน ซึ่งมองจากบรรทัดฐานของกลุ่ม เช่น ในกลุ่มมีเสื้อรุ่น เราก็ต้องมีด้วย

-  Status : สถานภาพของแต่ละบุคคลในกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมี Position

จากนั้นก็หันมาดูในส่วนของขนาดของกลุ่ม เพื่อไม่ให้ขนาดของกลุ่มใหญ่หรือเล็กไป ถ้าขนาดของกลุ่มใหญ่ไป ก็จะส่งผลให้เกิด Free Rider Frequency (คนอู้งาน) แต่ถ้าน้อยเกินไปก็จะทำให้กลุ่มใช้ทรัพยากรบุคคลได้ไม่เต็มที่ กลุ่มที่เหมาะสมประมาณ 8-12 คน

หมายเลขบันทึก: 460762เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2011 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท