เทคนิคการบริหารจัดการให้เกิดความสำเร็จ


เทคนิคการบริหารจัดการให้เกิดความสำเร็จ

เทคนิคการบริหารจัดการให้เกิดความสำเร็จ

            ในการบริหารจัดการเชิงระบบ  เป็นสิ่งที่ไม่ยากดังที่ทุกคนเข้าใจ  ทั้งนี้เนื่องจากระบบคุณภาพแต่ละระบบมีคู่มือที่แสดงขั้นตอนกระบวนการทำงาน  วิธีการปฏิบัติงาน  และบันทึกมาตรฐานไว้อย่างชัดเจน  สามารถนำไปสู่การปฏิบัติงาน  และพร้อมตรวจสอบได้ตลอดเวลา  เปิดเผยและทุกคนยอมรับ  พร้อมแก้ไขและปรับปรุงระบบ  จนกว่าจะค้นพบ  Best Practice ของตนเอง    เป็นการทำงานที่ครบวงจรคุณภาพ  PDCA  แต่กว่าที่โรงเรียนจะพัฒนางานระบบต่างๆ  จนมาถึงจุดนี้ได้นั้น  ต้องผ่านความยากลำบากมาไม่น้อย  โดยเฉพาะในขั้นตอนของการสร้างความตระหนัก  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรร่วมมือกันปฏิบัติงานเป็นทีม  และทำงานร่วมกันได้โดยไม่เหน็ดเหนื่อย  ผู้บริหารจึงต้องมีเทคนิคในการสื่อสาร  การวางตัวบุคคลลงปฏิบัติงาน  รวมทั้งการประสานใจบุคลากรทุกคนทุกฝ่ายได้อย่างแท้จริง  และที่สำคัญต้องเข้าใจงานของระบบทุกระบบ  รู้ว่างานนี้อยู่ที่ไหนระบบใด  และพร้อมให้การส่งเสริม  สนับสนุนได้อย่างถูกต้อง  นอกจากยังมีเทคนิคอื่นที่นำมาประกอบการบริหารจัดการเชิงระบบให้เกิดผลสำเร็จได้ดังนี้

๑.     เทคนิคการพัฒนาองค์กร แบบ  AIC    ของ  อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และคุณหมอประเวศ วะสี

            A                     =                      Appreciate
            I                       =                      Influence
            C                     =                      Control

            เป็นการพัฒนาองค์กรโดยเริ่มต้นจากการสร้างความประทับใจก่อน แล้วค่อยๆ ไล่ไปหาจุดบกพร่อง   แล้วแก้ไขทีละจุด

 

ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ

ความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบคุณภาพจะเกิดขึ้นไม่ได้  ถ้าขาดความร่วมมือของคณะครูในโรงเรียน  แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่าเพียงคุณครูให้ความร่วมมือแล้ว  จะทำให้บรรลุผลสำเร็จได้เสมอไป ทั้งนี้เพราะการทำงานในระบบคุณภาพนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ อย่าง  ดังต่อไปนี้

๑.    ผู้บริหาร   ต้องมีความเข้าใจ  ตระหนักและเริ่มต้น  ดูแลให้ความช่วยเหลือ  ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกฝ่ายปฏิบัติตามคู่มือระบบ

๒.   ครู    ตระหนักและเข้าใจระบบงานที่ตนเองปฏิบัติ  ทำงานด้วยความรับผิดชอบ  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  พัฒนาและปรับปรุงตลอดเวลา

๓.   นักเรียน  ให้ความร่วมมือกับคุณครูและโรงเรียน  ช่วยกันพัฒนาโรงเรียน  เกิดความรักและศรัทธาสถาบันของตนเอง

๔.   ชุมชน  ให้ความร่วมมือ  ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษา  เชื่อมั่นและศรัทธาโรงเรียน  ส่งบุตร-หลานเข้ารับการศึกษา

๕.  การบริหารจัดการเชิงระบบ    ทำงานเชิงรุก  เข้าใจและแก้ไขงานที่บกพร่อง  พร้อมพัฒนาตลอดเวลา

หมายเลขบันทึก: 460704เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2011 00:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท