management by objective


MBO

MBO  =  management  by  objective    หมายถืง   “ การบริหารตามวัตถุประสงค์  เป็นกุศโลบายใน
การจัดการที่มุ่งผลสำเร็จของงานเป็นหลักโดยอาศัยการกำหนดวัตถุประสงค์การทำงาน  และมาตรฐานที่ใช้ในการประเมินความก้าวหน้า หรือความสำเร็จของงานร่วมกันระหว่างผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น”

         เพราะฉะนั้น   MBO  จะต้องทำอย่างไร    (หมายเหตุ : ตรงที่ขีดเส้นใต้  คือ  ที่อาจารย์บรรยายในห้อง ส่วนที่ไม่ได้ขีด เป็นข้อมูลที่ Search หามาจากใน  Internet) 

          1.   ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ออกมาให้ชัดเจน วิธีที่ดีที่สุดคือ คิดว่าตัวเองไม่มีวัตถุประสงค์ดีกว่า เพราะไม่งั้นเราจะไปติดกับดักของวัตถุประสงค์อันเดิมตลอดเวลา เช่น มหาวิทยาลัยควรจะทำวิจัยก่อนสอน เพราะผลงานวิจัยคือ by product ที่จะเอามาสอนนักศึกษาต่อไป ถ้าสอนก่อน ก็สอนอย่างเดิม ซ้ำซาก ไม่พัฒนา

วัตถุประสงค์ที่ดีต้องมี 2 ลักษณะ

1.1   เป็นรูปธรรม

1.2   วัดได้ (measurable)

              เพราะฉะนั้น อะไรวัดไม่ได้ จับต้องไม่ได้ ไม่ถือเป็นวัตถุประสงค์ แต่จะเป็นเพียงเจตนารมณ์อันดีเท่านั้น   นักบริหารมักจะพลาดตรงนี้เยอะ เพราะชอบพูดลอยๆ

              หลังจากนั้น เอาวัตถุประสงค์มาดู บ่อยครั้งที่มีวัตถุประสงค์มากเกินไป และเกิดความสับสนว่าหน่วยงานเราต้องการอะไรแน่ ตัวไหนสำคัญ เอาวัตถุประสงค์นั้นก่อน

      การกำหนดวัตถุประสงค์ กับการวางแผนเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์นั้นจะต้องดำเนินการควบคู่กัน  นอกจากนั้นวัตถุประสงค์ของแต่ละฝ่ายในองค์กรนั้นจะต้องประสานสอดคล้องกันด้วย

2.   Clear strategy    

Strategy จะตอบคำว่า how to achieve เราจะไปถึงจุดนั้นได้โดยวิธีใด  ในการบริหารหนึ่งๆ อาจมีหลายกลยุทธ์  วิเคราะห์กลยุทธ์ให้ออก  ผู้บริหารในระดับต่างๆ  ควรจะต้องมีทัศนคติ   และความรู้   ความสามารถในด้านการบริหารอย่างกว้างขวาง 

          3.   กระจายกลยุทธ์เป็นกิจกรรม  (activity)  แต่ละฝ่ายจะกำหนดกิจกรรมว่าจะต้องทำอะไรแค่ไหน

และพยายามให้สมาชิกของกลุ่มได้เข้ามามีส่วนร่วม  โดยคำนึงถึง Teamwork

4.   ทำการ monitoring   ว่ากิจกรรมในข้อ  3   ได้ผลตามที่เราต้องการหรือไม่    การจัดให้มีระบบข้อมูลย้อนกลับ  เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน หรือความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับผลงาน

 

**  จุดเด่นของ MBO  คือ  ทุกขั้นตอนจะต้องมีการปรึกษา  หารือพนักงานเพื่อให้ทุกฝ่าย ทุกคนได้รู้บทบาทของตัวเองและเข้าใจสภาพของหน่วยงาน   MBO ต้องชัดเจน ว่าจะทำอะไร ทำแค่ไหน

          จุดอ่อนของการดำเนินงานภาครัฐฯ  ในปัจจุบัน  คือ หน่วยงานไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน  ทุกคนมุ่งแต่ทำงานตามระเบียบ

          หลังจากนั้น ดรักเกอร์ก็เขียนบทความอีกเป็นจำนวนมาก   ส่วนใหญ่เน้นเรื่องเกี่ยวกับเอกชน  แต่ก็เขียนเรื่องรัฐบาลบ้าง  ได้แก่ The sickness of government  โดยตั้งโจทย์ว่า  จำเป็นหรือไม่ที่ประชาชนต้องมีรัฐบาล  ในเมื่อภาคเศรษฐกิจก็เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว  รัฐบาลควรถอนตัวดีหรือไม่ (เป็นคำถามแนวรัฐประศาสนศาสตร์)

          ประกอบกับตอนหลัง รัฐชอบเลี้ยงไข้  โครงการใหม่ๆ  ต่อเนื่องไม่จบสิ้น เลี้ยงข้าราชการไว้เยอะ
ยิ่งเลี้ยงคนมากยิ่งอ่อนแอ ถ้าเรารักมัน อย่าให้มันสุขสบาย   ดรักเกอร์  จึงคิดคำว่า Privatization ขึ้นมา คือ การให้เอากลไกของเอกชนเข้ามาจับหน่วยราชการ กลไกของเอกชน ที่ว่าได้แก่

          1. การแข่งขัน

          2. อย่าให้สิทธิพิเศษใดๆ แก่หน่วยงานเหล่านี้ เพราะถ้ามีสิทธิพิเศษ จะเอาเปรียบ

           Privatization   มีหลายระดับ   ตั้งแต่ระดับอ่อนๆ ไปจนถึงระดับสุดท้าย  คือ   โอนกิจการให้เอกชนไปทำ หรือที่หน่วยงานราชการมีการให้โบนัสก็ถือว่าเป็นการให้สิทธิพิเศษอย่างหนึ่ง  ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบหน่วยงานเอกชน  (New Deal  =  ถึงเวลาเศรษฐกิจตกต่ำ รัฐบาลจะอัดเงินเข้าไปให้เต็มที่  มีการให้โบนัส เงินเพิ่มค่าครองชีพ ฯลฯ  เพื่อก่อให้เกิดอำนาจการซื้อ  เช่น  กองทุนหมู่บ้าน  การจ้างงานชนบท  ฯลฯ  
พอชาวบ้านเริ่มมีเงินก็เริ่มมีการใช้จ่าย   มีเงินหมุนเวียนในตลาด  วงจรเศรษฐกิจก็สามารถดำเนินการต่อไปได้  เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจได้)

          เกิดมีคำถาม ใน  USA  รัฐจะไม่ช่วยเหลือกิจการธุรกิจใดๆ  แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งที่รัฐช่วยไครสเลอร์ เป็นครั้งแรกที่อเมริกาเอางบประมาณไปสนับสนุนบริษัทที่กำลังจะเจ๊ง เพราะไม่งั้นคนจะตกงานสามหมื่นคน

           ดังนั้น  หลักการของดรักเกอร์จึงใช้ได้อย่างมากในอเมริกา แต่เมืองไทยไม่แน่ใจ เช่น อาจมีการปรับระบบเงินเดือนให้ใกล้เคียงเอกชนมากยิ่งขึ้น

 

ดรักเกอร์บอกว่า  “ รัฐบาลมีปัญหาอะไรบ้างตอนนี้ ”  -  How to guarantee non performance?  -

1.  รัฐชอบวางวัตถุประสงค์เลื่อนลอย , เพ้อเจ้อ

2.  ชอบทำหลายๆ  อย่างพร้อมกัน

3.  ชอบทำอะไรใหญ่โต

4.  ไม่ชอบทำ pilot project  (โครงการนำร่อง) คือ  ไม่เคยทดลองงานกันก่อนว่าโครงการนี้ใช้ได้หรือไม่ได้

5.  ผู้บริหารเมื่อทำผิดพลาดก็ชอบปกปิด  ไม่บอก ดังนั้น คนใหม่เข้ามาก็ไม่รู้  จึงทำผิดซ้ำซาก เด็กรุ่นใหม่ไม่อยากเรียนรู้จากผู้ใหญ่เพราะเสียศักดิ์ศรี   ผู้ใหญ่ก็ไม่อยากบอกเด็กเพราะกลัวเด็กได้ดีกว่า

6.  ชอบทำตัวเป็นอมตะ  ตั้งแล้วเลิกไม่ได้ทั้งๆ ที่พันธกิจหน้าที่หมดแล้ว

คำสำคัญ (Tags): #management by objective
หมายเลขบันทึก: 460679เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2011 23:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 06:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท