กรอบแนวคิดของแมคคินซีย์


McKinsey 7-S Framework

กรอบแนวคิดของแมคคินซีย์  (McKinsey 7-S Framework)

แนวคิดนี้ได้รับการเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1980 โดย Robert Waterman , Tom Peter and Julien Phillips  แนวคิดนี้ต้องการนำเสนอว่าประสิทธิภาพขององค์กรธุรกิจเกิดจากความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ  7 ประการ ของธุรกิจว่ามีลักษณะและมีสภาพอย่างไร  จึงเป็นที่มาของศัพท์คำหนึ่งว่า Mckansey’s 7 S

 

แบบจำลอง 7-S  นี้เป็นกรอบการพิจารณาและการวางแผนเพื่อการกำหนดกลยุทธ์ในองค์การโดยการประสานองค์ประกอบทั้ง 7  ตัว  ให้สอดคล้องประสานกัน  ตัวแปรแต่ละตัวมีความสำคัญต่อการบริหารองค์การเริ่มตั้งแต่การกำหนดกลยุทธ์องค์การเกี่ยวข้องกับการพิจารณาโครงสร้างองค์การ  เป้าหมายขององค์การ  ระบบการดำเนินงาน  ทักษะที่ใช้ในการทำงาน  บุคลากร  รูปแบบพฤติกรรมของพนักงานและเป้าหมายที่ต้องการ

 

หลังจากนั้น  กรอบแนวคิดของแมคคินซีย์   (McKinsey 7’s Framework)  ได้ถูกนำมาใช้ในการบริหารเป็นหลักสากล   ประกอบไปด้วย  (หมายเหตุ : ตรงที่ขีดเส้นใต้  คือ  ที่อาจารย์บรรยายในห้อง , ส่วนที่ไม่ได้ขีด เป็นข้อมูลที่ Search หามาจากใน  Internet)

1.  Structure (โครงสร้างองค์กร)   หมายถึง  ลักษณะโครงสร้างขององค์การที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ  รวมถึงขนาดการควบคุม การรวมอำนาจ และ
การกระจายอำนาจของผู้บริหาร  การแบ่งโครงสร้างงานตามหน้าที่ ตามผลิตภัณฑ์ ตามลูกค้า
ตามภูมิภาคได้อย่างเหมาะสม   โครงสร้างองค์กรมีความยืดหยุ่นมากน้อยเพียงไร ถ้าไม่ยืดหยุ่นหรือมีความยืดหยุ่นน้อย โอกาสความสำเร็จก็มีน้อย

2.  Strategy  (กลยุทธ์)  หมายถึง การวางแผนเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
การพิจารณา จุดแข็ง จุดอ่อนของกิจการ โดยพิจารณาว่าองค์กรมีการกำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจนหรือไม่ และกลยุทธ์นั้นกระจายออกไปใน  sector  ต่างๆ หรือไม่  เอา strategy กระจายออกมาเป็น  BSC เลย

3.  Staff (การจัดการบุคคลเข้าทำงาน)  หมายถึง การคัดเลือกบุคลากรที่มีความสามารถ การพัฒนาบุคคลากรอย่างต่อเนื่อง  พนักงานมีคุณภาพไหม มาโดยระบบเส้นสายหรือไม่

4.  (Managerial) style   (รูปแบบ)    หมายถึง การจัดการที่มีรูปแบบวิธีที่เหมาะสมกับลักษณะองค์การ เช่น การสั่งการ  การควบคุม การจูงใจ สะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์การ  สไตล์การบริหารเป็นอย่างไร ถ้ามีพิธีการ ไม่สำเร็จ เช่น คุณชุมพล ณ ลำเลียง  มีสโลแกนว่า Come with solution , don’t come with problem

5.  System (ระบบ)  หมายถึง กระบวนการและลำดับขั้นการปฎิบัติงานทุกอย่าง  ที่เป็นระบบที่ต่อเนื่องสอดคล้องประสานกันทุกระดับ   การวางระบบงาน

6.  Shared value  (ค่านิยมร่วม)  หมายถึง ค่านิยมร่วมกันระหว่างคนในองค์การ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน   ความเชื่อร่วมกันในหน่วยงาน

7.  Skill  (ทักษะ)  หมายถึง  ความโดดเด่น  ความเชี่ยวชาญในการผลิต  การขาย  การให้บริการ  พนักงานมีทักษะในการทำงานหรือไม่ (อะไรความแตกต่างระหว่าง knowledge (รู้เฉยๆ) กับ skill (รู้แล้วทำให้คนอื่นเชื่อด้วย  และนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานได้ด้วย)

 

หลายบริษัทที่ได้รับรางวัล TQA*** and TQM***  จากการใช้  7-S เป็นสูตรทางการบริหาร  อีกทั้ง  ได้มีการนำ  7-S   มาใช้ในการประเมินผลงานของหน่วยงาน  เพราะถือว่าเป็นตัววัดที่ดีที่สุด

 

ต่อมา ได้มีการตั้งข้อสังเกตว่า องค์ประกอบของ 7-S มีลักษณะที่แตกต่างกัน โดยสามารถ
แบ่งออกได้เป็น   2  ลักษณะ   ดังนี้คือ

1.  ส่วนที่จับต้องได้   (hardware : strategic / staff ฯลฯ)  สามารถนำมาลอกเลียนแบบ  และประยุกต์ใช้ได้ง่าย

2.  ส่วนที่จับต้องไม่ได้ (software : managerial style / shared value / skill ) วิธีคิดของคน วัฒนธรรมของแต่ละแห่ง  และทักษะในการทำงาน

คำสำคัญ (Tags): #McKinsey 7-S Framework
หมายเลขบันทึก: 460676เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2011 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 23:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท