หลักการสร้างตัวชี้วัดที่ดี


การประเมินผลโครงการ

          การสร้างตัวชี้วัดที่ดี จำเป็นจะต้องมีหลักการ ที่ใช้เป็นเป้าหมายในการดำเนินการดังนี้

            1.  เลือกใช้ / สร้างตัวชี้วัดที่เป็นตัวแทนที่สำคัญเท่านั้น

            2.  คำอธิบาย หรือการกำหนดตัวชี้วัดควรเป็นวลีที่มีความชัดเจน

            3.  ตัวชี้วัดอาจจะกำหนดได้ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพก็ได้

            4.  ควรนำจุดประสงค์ของโครงการ หรือประเด็นการประเมินมากำหนดตัวชี้วัด

            5.  การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัดควรรวบรวมข้อมูล ทั้งจากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ

          ขอยกตัวอย่างการจำแนกประเภทของตัวชี้วัดตามลักษณะของสิ่งที่ได้รับการประเมินตามแบบจำลองการประเมินผลตาม  CIPPOI  Model คือ

          8.1 ตัวชี้วัดด้านบริบท ( Context ) : ตัวชี้วัดสามารพิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

                        1.  สภาวะแวดล้อมของ ก่อนมีโครงการ (ปัญหาวิกฤต)

                        2.  ความจำเป็น หรือความต้องการขณะนั้น และอนาคต

                        3.  ความเข้าใจร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

          8.2 ตัวชี้วัดด้านปัจจัยนำเข้า( Input ): ตัวชี้วัดสามารถพิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

                        1.  ความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของโครงการ

                        2. ความพร้อมของทรัพยากร เช่น งบประมาณ คน วัสดุอุปกรณ์ เวลาและ กฎระเบียบ เป็นต้น

                        3. ความเหมาะสมของขั้นตอนระหว่างปัญหา สาเหตุของปัญหา และกิจกรรม

          8.3 ตัวชี้วัดด้านกระบวนการ ( Process ) : ตัวชี้วัดสามารถพิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

                        1.  การตรวจสอบกิจกรรม เวลา และทรัพยากรของโครงการ

                        2.  ความยอมรับของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการในพื้นที่

                        3.  การมีส่วนร่วมของประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

                        4.  ภาวะผู้นำในโครงการ

          8.4 ตัวชี้วัดด้านผลผลิต ( Product ) : ตัวชี้วัดสามารถพิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

                        1.  อัตราการมีงานทำของประชาชนที่ยากจน

                        2.  รายได้ของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ

                        3.  ความพึงพอใจของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ

          8.5 ตัวชี้วัดด้านผลลัพธ์(Outcomes ):ตัวชี้วัดสามารถพิจารณาได้จากสิ่งต่างๆ ดังนี้

                        1.  คุณภาพชีวิตของตนเอง และครอบครัวตามเกณฑ์มาตรฐาน

                        2.  การไม่อพยพย้ายถิ่น

                        3.  การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

          8.6 ตัวชี้วัดด้านผลกระทบ(Impact ):ตัวชี้วัดสามารถพิจารณาได้จากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

                        1.  ผลกระทบทางบวก / เป็นผลที่คาดหวังจากการมีโครงการ

                        2.  ผลกระทบทางลบ / เป็นผลที่ไม่คาดหวังจากโครงการ

          เกณฑ์ และตัวชี้วัดดังกล่าวนี้ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลโครงการได้ดี ซึ่งจะครอบคลุม มิติด้านเศรษฐกิจ สังคม ด้านบริหารจัดการ ด้านทรัพยากร และด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถวัดถึงความสำเร็จ และความล้มเหลวของโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐได้ ซึ่งในทางปฏิบัตินักประเมินผล จะต้องนำเกณฑ์ และตัวชี้วัดดังกล่าวมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะ และบริบทของโครงการด้วย

หมายเลขบันทึก: 460458เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2011 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท