คนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น



คนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร



พระพุทธเจ้าตรัสว่า   วิริเยน 
ทุกฺขมจฺเจติ 
คนจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
 
ทางออกจากความทุกข์คือ ความเพียร พระองค์ทรงสอนให้มีความเพียร กล่าวคือ    ประการแรก
เพียรพยายามไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นแก่เรา ประการที่สอง เพียรละสิ่งที่เป็นอุปสรรคแก่ความสุขของเรา
ประการที่สาม เพียรพยายามทำสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์แก่เรา และประการที่สี่ เพียรพยายามทำความดีสิ่งที่ดีที่มีอยู่ในตัวของเราแล้วให้คงอยู่ต่อไป  นี้คือทางที่จะแก้ความทุกข์   ทางที่จะพ้นจากความทุกข์  ความเพียรสี่ประการนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถที่จะทำได้
เพราะว่ามนุษย์เป็นผู้มีความคิดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าสัตว์ทั้งหลาย 



พระอรรถกถาจารย์กล่าวถึงเหตุ
11 ประการ ที่ทำให้เกิดความเพียรไว้   ดังนี้       1) ถ้าไม่รีบทำความดีเสียในวันนี้
พรุ่งนี้เราอาจจะตาย เลยหมดโอกาสทำความดี 2) งานจะเสร็จได้ก็ต่อเมื่อลงมือทำอย่างจริงจัง
ถ้ามัวนอนอยู่งานก็ไม่มีวันเสร็จ              3) เราจะเดินไปตามทางที่พระพุทธเจ้า พระสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ มหาเศรษฐี
หรือบุคคลผู้ประสบความสำเร็จอื่นๆ ได้เสด็จดำเนินและเดินไปแล้ว
แต่ทางนั้นคนเกียจคร้านไม่อาจจะเดินไปได้  
4) ถ้าเรามัวเกียจคร้าน ดีแต่แบมือขอจากพ่อแม่ญาติพี่น้องเราไม่อายเขาบ้างหรือ  5) ถ้าเรามัวเกียจคร้าน
ก็ไม่อาจรักษามรดกที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษไว้ได้ ตายแล้วจะไปพบหน้าท่านได้อย่างไร  6) เราเกิดมาในตระกูลที่มีชื่อเสียงและฐานะถึงเพียงนี้
ถ้ามัวเกียจคร้านอยู่ จะสมควรหรือ 7) เขาก็คน เราก็คน
เมื่อเขาทำดีได้ เราก็ต้องทำดีให้ได้อย่างเขาหรือดีกว่า 8) แม้แต่สัตว์ตัวเล็กๆ
เช่น มด ยังรู้จักขยันหากินและสร้างรังถ้ามัวนอนอยู่เราไม่อายสัตว์มันบ้าง



ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต
พระพุทธเจ้าตรัสว่า              “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปเหมือนการปรารภความเพียร เมื่อบุคคลเป็นผู้ปรารภความเพียร
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไป”
  พระพุทธดำรัสนี้แสดงให้เห็นถึงอานุภาพความเพียร
หลักเรื่องความเพียรเป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของพุทธศาสนา คำสอนใดเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
คำสอนนั้นไม่ใช่พุทธศาสนา ความเพียรเป็นองค์ประกอบในหมวดธรรมะที่สำคัญต่างๆ มากมาย
เช่น อิทธิบาท (ธรรมที่ทำให้สำเร็จความประสงค์) โพชฌงค์
(ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) นาถกรณธรรม (ธรรมที่เป็นที่พึ่งของตน) เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า
หมวดธรรมะที่กล่าวถึงความเพียร มักจะมีปัญญากำกับอยู่ด้วย เพราะความเพียรที่ไม่ประกอบด้วยปัญญา
เป็นความเพียรที่ผิดพลาด ไร้อานุภาพ ไม่สำเร็จประโยชน์อันใด เช่น การรีดนมจากเขาโค
เป็นการกระทำที่โง่เขลา เป็นความเพียรที่ผิดอย่างมหันต์
แม้จะพยายามอย่างไรก็เหนื่อยเปล่า ไม่มีทางสำเร็จได้เลย
ความเพียรจะสำเร็จประโยชน์ได้ ก็ต่อเมื่อมีปัญญาคอยนำทางหรือชี้แนะ
ความเพียรจะมีอานุภาพหรือมีผลมากยิ่งขึ้น    ในชีวิตของเราขอให้มีความตั้งใจเท่านั้นและความเพียรพยายามเท่านั้น  ไม่ว่าจะทำสิ่งใดจะประสบความสำเร็จ  แม้ไม่ได้รับความสำเร็จในตอนแรกก็อย่าท้อแท้หรือยอมแพ้ง่ายๆ
เราควรดีใจที่มีโอกาสพบอุปสรรคในชีวิตมากกว่าที่จะเสียใจหรือกลุ้มใจ เช่น
เรากำลังเดินไปบนถนนสายหนึ่งและพบกำแพงสูงขวางหน้ากั้นทางเดินของเรา  ถ้าเราเกิดความท้อแท้
เห็นว่ากำแพงสูงเกินกว่าจะปีนได้แล้วยอมแพ้ง่ายๆด้วยการเดินหันหลังกลับไปทางเดิม
เราก็ไม่สามารถเดินทางไปจุดหมายที่ต้องการได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราพยายามหาทางข้ามกำแพงด้วยวิธีต่างๆ
เช่น ตัดไม้มาต่อเป็นบันไดก็เท่ากับเราหาทางฟันฝ่าอุปสรรคในชีวิต เมื่อทำสำเร็จเราก็จะภูมิใจ คงเหมือนกับว่าคนเราเกิดขึ้นมาแล้วเจอปัญหามากมาย
มันคงไม่มีประโยชน์ที่จะมาถามตัวเองว่าเกิดมาทำไม เพราะถ้าจะย้อนเวลากลับไปไม่ยอมเกิดเพื่อมาเจอปัญหามากมายแบบนี้ก็คงไม่ได้อยู่ดี
แต่น่าจะถามตนเองต่อไปว่าจะพัฒนาชีวิตที่เกิดขึ้นมาแล้วให้ดีขึ้นต่อไปเรื่อย ๆ อย่างไรมากกว่า
ตลอดชีวิตของผู้คน เราคงจะหนีทุกข์ไปไม่ได้ตลอดเวลา
ดังนั้นคงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหนีทุกข์ให้วุ่นวายใจแต่ควรจะอยู่กับทุกข์นั้นอย่างไรโดยไม่เป็นทุกข์ต่างหาก

หมายเลขบันทึก: 460445เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2011 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท