ความรู้เกี่ยวกับบัญชี


โปรแกรมขายผ่อนชำระ
โปรแกรมธุรกิจเช่าซื้อ และผ่อนชำระ

 

วัตถุประสงค์
1.ด้านข้อมูลลูกค้า โปรแกรมจะเก็บข้อมูลลูกค้าโดยละเอียด ทั้งข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่ รูปภาพ แผนที่
2.ด้านทำการเช่าซื้อ โปรแกรมสามารถคำนวณค่างวดให้อัตโนมัติ คำนวณจำนวนเงินเช่าซื้อทั้งหมด ดอกผลเช่าซื้อต่องวด ดอกผลเช่าซื้อรอตัดบัญชี ค่าสินค้าต่องวด และค่าสินค้าคงเหลือ ประเภทการผ่อนมีให้เลือก
2 แบบ คือผ่อนแบบระยะชำระค่างวด และผ่อนแบบกำหนดวันที่ชำระของแต่ละงวดเอง ระบุอัตราดอกเบี้ย อัตราส่วนลด
3.ด้านรับชำระเงิน แบ่งเป็น เงินดาวน์ เงินประกันสัญญา ค่างวด เบี้ยปรับ ปิดสัญญา สามารถชำระได้ทั้ง เงินสด เงินโอน เช๊ค หรือส่วนลด
4.ด้านการดำเนินการ เอกสารติดต่อทวงหนี้ การล็อคสัญญาเพราะการชำระล่าช้า การเลื่อนกำหนดชำระ การตัดยอดเช่าซื้อ การบอกเลิกสัญญา การยึดคืน การฟ้อง การรับเงินหลังยกเลิกสัญญา การตัดหนี้สูญ ทะเบียน/ประกันภัย
5.ด้านใบกำกับภาษี ภาษีค่างวด เงินดาวน์ เงินประกันสัญญา การออกใบลดหนี้/เพิ่มหนี้
6.ด้านคิดค่าคอมมิชชั่น คิดจากยอดขาย กำไร
7.ด้านการเรียกรายงาน การวิเคราะห์ต่างๆ


ข้อแตกต่างระหว่างการขายผ่อนชำระ และการให้เช่าซื้อมีดังนี้
การขายผ่อนชำระ หมายถึง การที่ผู้ขายส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้ซื้อ โดยยินยอมให้ผู้ซื้อจ่ายชำระเงินค่าสินค้าหรือ บริการบางส่วน ซึ่งเรียกว่า เงินวางเริ่มแรก หรือ เงินดาวน์ ส่วนที่เหลือจ่ายชำระเป็นงวด ๆ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
การเช่าซื้อ หมายถึง การที่เจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว และที่สำคัญ การเช่าซื้อต้องทำสัญญาและสัญญาเช่า ซื้อถ้าไม่ทำเป็นหนังสือ ถือว่าเป็นโมฆะ
ในทางกฎหมาย แล้ว การขายผ่อนชำระใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย เอกเทศสัญญา ลักษณะ ๑ การซื้อขาย ส่วนการเช่าซื้อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย เอกเทศสัญญา ลักษณะ ๕ การเช่าซื้อ เป็นเกณฑ์บังคับในการปฏิบัติ นอกจากนี้ที่สำคัญ ในทางกฎหมาย การขายผ่อนชำระ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะโอนไปให้ผู้ซื้อทันทีที่มีการตกลงซื้อขาย ส่วน การเช่าซื้อ นั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่าอยู่
ในทางการบัญชี อนุโลมให้ผู้ขายใช้หลักการบัญชีเดียวกัน สำหรับการขายผ่อนชำระและการเช่าซื้อ ทั้งนี้เนื่องจาก นักบัญชี พิจารณาจากเจตนา กล่าวคือ ผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ทรัพย์สินนั้นแล้วนับแต่วันที่ตกลงซื้อขายกัน กระบวนการก่อให้เกิดรายได้สำเร็จแล้ว สามารถรับรู้ กำไรขั้นต้น ในงวดที่มีการขาย แต่เนื่องจากการขายผ่อนชำระหรือการให้เช่าซื้อมีระยะเวลาการผ่อนชำระยาวนาน เกินกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี การรับรู้กำไรขั้นต้น จึงอาจรับรู้โดยวิธีที่ถือว่า กำไรขั้นต้นเกิดขึ้นตามส่วนของเงินสดที่ได้รับชำระ

ตัวอย่างการบันทึกบัญชี
บริษัท เอ เอส ไซน์ จำกัด ได้ดำเนินการโดยขายคอมพิวเตอร์ Notebook ผ่อนชำระ ซึ่งมีผลการดำเนินงานปี 2553 ดังนี้
01/12/2553 ซื้อ คอมพิวเตอร์ Notebook Sony โดยชำระเป็นสด จำนวน 42,000 บาท
12/12/2553 ขายสินค้าโดยผ่อนชำระ เป็นเงินจำนวน 50,000 บาท โดยรับชำระค่าเงินดาวน์ 10% ส่วนที่เหลือให้ผ่อนชำระเป็นงวด 10 งวด
31/12/2553 บันทึกรับชำระเงินค่างวดสินค้า งวดที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 4,500 บาท
การเตรียมข้อมูลเบื้องต้น
1. กำหนดเลขที่บัญชีที่จะต้องใช้ในการทำรายการที่ระบบ Enterprise Manager > GL setup > กำหนดรหัสบัญชี

ชื่อบัญชี หมวดบัญชี รหัสบัญชี
กำไรขั้นต้น-รอตัดบัญชี หนี้สิน 23200-00
รายได้รอเรียกเก็บเงิน รายได้ 43000-06

2. ทำการแก้ไขโครงสร้างงบการเงินที่ระบบ General Ledger > GL Financial Statements > สร้างงบการเงิน

3. กำหนดรายละเอียดเจ้าหนี้ที่ระบบ Enterprise Manager > AP Setup > กำหนดรหัสเจ้าหนี้

4. กำหนดรายละเอียดลูกหนี้ที่ระบบ Enterprise Manager > AR Setup > กำหนดรหัสลูกหนี้

5. กำหนดรหัสสินค้าที่ระบบ Enterprise Manager > IC Setup > กำหนดรหัสสินค้า



6. กำหนดคลังสินค้า ที่ระบบ Enterprise Manager > IC Setup > กำหนดรหัสคลังสินค้า

7. กำหนดที่เก็บสินค้า ที่ระบบ Enterprise Manager > IC Setup > กำหนดรหัสที่เก็บสินค้า

ขั้นตอนการบันทึกรายการวันธุรกิจเช่าซื้อ

จากตัวอย่าง : วันที่ 01/12/2553 ซื้อ คอมพิวเตอร์ Notebook Sony โดยชำระเป็นสด จำนวน 42,000 บาท

1. การบันทึกรายการซื้อ (สด) ที่ระบบ Purchase Order >PO Data Entry





จากตัวอย่าง : วันที่ 12/12/2553 ขายสินค้าโดยผ่อนชำระ เป็นเงินจำนวน 50,000 บาท โดยรับชำระค่าเงินดาวน์ 10% ส่วนที่เหลือให้ผ่อนชำระเป็นงวด 10 งวด

2. การบันทึกรายการขายเชื่อ พร้อมรับเงินดาวน์ ที่ระบบ Sale Order > SO Data Entry > ขายเชื่อ





3. บันทึกรับเงินดาวน์ ที่ระบบ Account Receivable > AR Data Entry > รับชำระหนี้







จะสังเกตุได้ว่า หลังจากรับเงินดาวน์แล้ว ยอดเงินคงเหลือค้างชำระหนี้จะแสดงให้เป็น 45,000 บาท



จากตัวอย่าง : 31/12/2553 บันทึกรับชำระเงินค่างวดสินค้า งวดที่ 1 เป็นจำนวนเงิน 4,500 บาท
4. การบันทึกรับชำระเงินค่างวด (งวดที่ 1) ที่ระบบ Account Receivable > AR Data Entry > รับชำระหนี้








5. ณ วันสิ้นงวดบัญชี จะต้องบันทึกเกี่ยวกับบัญชีต้นทุนในสมุดรายวันทั่วไป ที่ระบบ General Ledger > GL Data
Entry > รายการรายวัน




6. บันทึกกำไรขั้นต้นรอตัดบัญชี ในสมุดรายวันทั่วไป ที่ระบบ General Ledger > GL Data Entry > รายการรายวัน




7. สามารถตรวจสอบยอดบัญชีรายได้จากการขายและต้นทุนขายได้จากรายงาน งบทดลอง ณ วันสิ้นงวดบัญชี




8. ต้นทุนขาย สามารถตรวจสอบได้ที่ระบบ Inventory Control > IC Analysis Report > รายงานวิเคราะห์กำไรขั้นต้นของสินค้าจากการขาย




และสามารถตรวจสอบยอดขายได้ที่รายงานยอดขายได้



a. บันทึกรายได้ที่เป็นตัวเงินของปี 2553
ชื่อบัญชี
หมวดบัญชี
กำไรขั้นต้น x 100 = อัตรากำไรขั้นต้น
    ยอดขาย

 8,000 x 100 = 16%
    50,000
จำนวนเงินที่ได้รับ x อัตรากำไรขั้นต้น

5,000 + 4,500 x 16% = 1,520




สามารถตรวจสอบยอดบัญชีรายได้จากการขายเชื่อและต้นทุนสินค้าเพื่อขายจากรายงานงบทดลอง ณ วันสิ้นงวดบัญชี



การแสดงข้อมูลในงบการเงิน ที่ระบบ General Ledger > GL Financial Statement > สร้างงบการเงิน

งบดุล :



งบกำไรขาดทุน :

คำสำคัญ (Tags): #Juthamas-Kurasri
หมายเลขบันทึก: 460252เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2011 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 15:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

โดนจัยสุดๆ เนื้อหาจัดเต็ม ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท