การบัญชี


การบัญชี

1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

สาระสำคัญ

1.       ภาษีมูลค่าเพิ่มคือภาษีที่ถูกจัดเก็บจากสัดส่วนของมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ

2.       ภาษีมูลค่าเพิ่มถูกนำมาใช้ในปี พ.ศ. 2535 เนื่องจากสามารถขจัดปัญหาภาษีซ้ำซ้อน มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ เอื้ออำนวยต่อการลงทุนและการส่งออก และมีกลไกป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี

3.       บุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือ ผู้ประกอบการ และผู้นำเข้า ซึ่งรวมไปถึงผู้ผลิต ผู้ให้บริการผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีก ส่งออก ผู้นำเข้า ซึ่งมีฐานภาษาของกิจการขนาดย่อมขึ้นไป (รายได้เกิน 1,200,000 บาท ขึ้นไป) ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองมรดก องค์การของรัฐบาล หรือหน่วยงานอื่นได้

4.       กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่กิจการที่ปรากฏตามมาตรา 81

5.        กิจกรรมเกี่ยวกับการขายสินค้าหรือบริการมีขั้นตอน เช่น การส่งมอบสินค้า การชำระเงินทั้งหมด การชำระเพียงบางส่วน ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจน โดยแยกตามประเภทของกิจการ เช่น กิจการขายสินค้า การใช้บริการ การนำเข้า และการขายหรือการให้บริการบางประเภท

6.        ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการที่จะนำไปคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งสามารถแบ่งประเภทตามลักษณะของสินค้าและบริการ

7.        อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มแบ่งได้ 2 อัตราคือ อัตราร้อยละ 10 ซึ่งปัจจุบันใช้อัตราร้อยละ 7 และอัตราร้อยละ 0

8.        การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้จาก ภาษีขาย – ภาษีซื้อ

9.        ใบกำกับภาษี คือ เอกสารหลักฐานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ และต้องจัดทำอย่างช้าในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บจากการขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละครั้ง

10.    ใบเพิ่มหนี้ ถือเป็นใบกำกับภาษีอย่างหนึ่ง กิจการจะออกใบลดหนี้เมื่อได้ขายสินค้า บริการไปแล้วและได้นำส่งภาษีขายไปแล้ว แต่ต่อมาอาจจะต้องมีการเพิ่มราคาสินค้าที่ขาย ซึ่งอาจเนื่องมาจาก คำนวณราคาผิดต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นเหตุให้ภาษีขายต่ำไป เป็นต้น

11.    ใบลดหนี้ ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีอย่างหนึ่ง กิจการจะออกใบลดหนี้เมื่อได้ขายสินค้าหรือบริการและได้นำส่งภาษีขายไปแล้ว แต่ต่อมาต้องลดราคาสินค้าที่ขายหรือค่าบริการ ทำให้ภาษีขายมีจำนวนลดลง โดยออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ

12.    ภาษีต้องห้ามหมายถึง ภาษีซื้อที่ไม่สามารถนำไปหักจากภาษีขายไม่ได้ตามาตรา 82/5 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 42 และฉบับที่ 29

1.1 ความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.2 ประวัติความเป็นมา เหตุผลและความจำเป็นที่นำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้

1.3 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.4 กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.5 ความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.6 ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม

โปรแกรมบัญชีแยกประเภท PDP General Ledger

โปรแกรมบัญชีแยกประเภทคือโปรแกรมที่ทำหน้าที่รวบรวมขอมูลต่างๆจากระบบงานอื่นๆ และแยกประเภทของเอกสารทางบัญชีเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกในการวิเคราะห์และจัดทำงบการเงิน โปรแกรมยังสามารถพิมพ์รายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย ภาษีหัก ณ. ที่จ่าย กระดาษทำการ และ ภงด. ต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด…

ตัวอย่างรูปภาพโปรแกรมบัญชีแยกประเภท
คำสำคัญ (Tags): #วิชาการบัญชี
หมายเลขบันทึก: 460240เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2011 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณคร๊ ^^

สำหรับความรู้ดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท