การเสวนาเรื่อง “เมื่อมังกรเหิน..ไทยจะเผชิญและรับมืออย่างไร”


เมื่อมังกรเหิน..ไทยจะเผชิญและรับมืออย่างไร

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร 

การเสวนาเรื่อง “เมื่อมังกรเหิน..ไทยจะเผชิญและรับมืออย่างไร”

วันที่  30  พฤษภาคม  2554 

เวลา 13.00-16.00 น. 

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

                                                                                               

ดำเนินรายการโดย

นางสุทธินีย์ พู่ผกา                    ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

วิทยากร  นายพิษณุ   เหรียญมหาสาร      รองอธิบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

กล่าวถึงใจความสำคัญดังนี้

จีนเริ่มเปิดประเทศจีนในปี 1978  ตามนโยบายสี่ทันสมัยของ เติ้งเสี่ยวผิง

        -เกษตรทันสมัย

        -อุตสาหกรรมทันสมัย

        -วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทันสมัย

        -การปกครองและการทหารทันสมัย

        การพัฒนาที่ในลุ่มแม่น้ำ 3 สาย คือ หวงเหอ ฉางเจียง จูเจียง และชักจูง การลงทุนจากต่างประเทศ โดยใช้เศรษฐกิจพิเศษที่ เซินเจิ้น จูไห่ ซันโถว ฝูเจี้ยน

        เมื่อนโยบายที่ทันสมัยเกิดขึ้น ระบบที่รัฐเป็นเจ้าของก็ต้องเปลี่ยน ในปี ค.ศ. 1982  มีการปรับเข้าสู่ตลาดสังคมนิยม แต่จริงๆ คือระบบนายทุนเป็นการผสมผสานระหว่างคอมมูน และตลาดเสรี มีการผลิตสินค้าแล้วบางส่วนส่งรัฐบาล ที่เหลือขายเอง

        เวินโจว (wenzhou) เป็นเมืองอุตสาหกรรม อยู่ใต้มลฑลเจ้อเจียง ได้รับอิทธิพลมาจากโซเวียต ที่นี่เป็นแหล่งก๊อบปี้สินค้าต่างๆ

        การพัฒนาอุตสาหกรรมของจีน เริ่มจากCopy & Development ต่อมาไปดูตัวอย่างจากไต้หวันจึงมี R&D

        จีนทำของดีได้ ใช้ค่าแรงสูง วัตถุดิบคุณภาพสูง ส่งออกไปสู่ยุโรปก็ได้รับการยอมรับ มีกำไรเยอะจนถึง Break Even Point  แล้วต่อจากนั้นจึงทำสินค้าที่ชาวจีนต้องการ และราคาต่ำเพราะชาวจีนไม่มีเงินซื้อ

 วิทยากร  Li  Renliang

ผู้อำนวยการสถาบันไทย-จีน ศึกษา

มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ

กล่าวถึงใจความสำคัญดังนี้

 รู้จักประเทศจีน โดยคำกล่าวของหูจิ่นเทาประธานาธิบดีจีน  ที่สหประชาชาติ เมื่อ 23 ก.ย. 2010

1.  จีนมี GDP เป็นอันดับ 2 ของโลก

2.  มีปัญหาพลังงาน และสิ่งแวดล้อม

3.  ส่งออกสินค้า แต่อยู่ปลายแถวของห่วงโซ่อุตสาหกรรมการผลิต สินค้ามูลค่าเพิ่มน้อย เทคโนโลยี

สำคัญอาศัยการนำเข้า

4.  ตะวันออกเจริญ ภาคกลางและภาคตะวันตก คิดเป็นพื้นที่ 76% ของจีนยังด้อยพัฒนา

5.  ระบบประกันสังคม ประกันสุขภาพ สวัสดิการสังคมต้องพัฒนา

6.  บรรยากาศทางการเมืองมีความคึกคักมากขึ้น สิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานของประชาชนได้รับการ

คุ้มครองแต่ระบอบประชาธิปไตย นิติรัฐยังไม่สมบูรณ์ ปัญหาอยุติธรรม คอรัปชั่นยังเป็นปัญหาสังคม

15  มีนาคม  2011  ประเทศใช้แผนฉบับที่ 12  (2011-2015) ใช้เวลาทำ 2 ปีครึ่ง

มีการประเมินแผน 11 มีปัญหาอะไร 

สาระสำคัญของแผน 12

1.  ปรับเปลี่ยนรูปแบบวิธีการพัฒนาเศรษฐกิจ

ที่ผ่านมาเน้นการเติบโตอย่างเดียว สร้างคอนโดมิเนียมเยอะ อุตสาหกรรมรถยนต์ มีห่วงโซ่ยาวมาก มีการใช้พลังงานมาก

2.  ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ

ภาคบริการมีน้อย จะเพิ่มสัดส่วนภาคบริการเพิ่มขึ้น  รักษาสถานที่เพาะปลูก  ห้ามสร้างสนาม

กอล์ฟ ห้ามสร้างบ้านเดี่ยว  สินค้าส่งออกต้องเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น เน้นการบริโภคภายในประเทศ

จีนมีเงินตราสำรองระหว่างประเทศมากจึง

- กระจายความเสี่ยงไม่ซื้อดอลล่าร์อย่างเดียว ซื้อสินทรัพย์

- ซื้อสินทรัพย์

- นำเข้าสินค้าคุณภาพ เพื่อประชาชน

3.  ดำเนินการปฏิรูปลึกซึ้ง

     การปฏิรูปอย่างลึกซึ้ง สังคม, การเงินการคลัง, การเมือง เมื่อคนมีการศึกษามากขึ้น ถ้าไม่เป็นประชาธิปไตยก็อึดอัด ถ้าเปิดเร็วเกินไป คนที่ไม่เข้าใจจะเกิดความวุ่นวาย

ภาคการผลิต 7 อุตสาหกรรมใหม่

1. อุตสาหกรรมประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  รถสกูตเตอร์ไฟฟ้า วิ่งช้าๆ ไม่มีศูนย์ซ่อมเพียงพอจึงไม่อาจมาเปิดตลาดในไทย

2. อุตสาหกรรมสารสนเทศรุ่นใหม่ จีนใช้ 3G มานาน ต่อไปใช้ 4G

3. อุตสาหกรรมชีวภาพ

4. อุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูง เครื่องบิน รถไฟความเร็วสูง

5. อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ นิวเคลียร์ แสงอาทิตย์ พลังลม

6. อุตสาหกรรมวัสดุ

7. อุตสาหกรรมรถยนต์พลังงาน

ผู้ดำเนินรายการถาม ไทยต้องเจออะไรบ้าง อะไรเป็นจุดแข็งจุดอ่อน ถ้ายังไม่ปรับตัวจะส่งผลกระทบอย่างไร ทำอย่างไรจะเป็นพันธมิตรกับจีน

นายพิษณุ

        การพัฒนาอุตสาหกรรมของจีน ภาครัฐวางแผนให้มีการฝึกบุคลากร ให้แหล่งทุน ชี้แนวทาง

ตัวอย่างเช่น ทางเหนือมีวัตถุดิบที่จี๋หลิวมีข้าวโพด กว่างซี่ผลิตอ้อย ฉงชิ่งผลิตมอเตอร์ไซค์ วูฮั่นผลิตอะไหล่

รถยนต์

        อุตสาหกรรมที่สำคัญที่จะร่วมกับจีนได้แก่  อุตสาหกรรมอาหาร ไทยได้รับความเชื่อมั่นในการผลิต

อาหาร ไทยต้องรักษาคุณภาพเอาไว้

        อุตสาหกรรมอะไหล่รถยนต์  จีนผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นปีละ 15 ล้านคัน ทำให้มีความต้องการยางพาราไป

ผลิตยางรถยนต์ ขอให้ติดตามข้อมูลให้ทัน

        อุตสาหกรรมแฟชั่น  ปกติไทยแพ้ฮ่องกงมาตลอด ปัจจุบันฮ่องกงขยายการผลิตไปที่เซินเจิ้น ทำให้กลายเป็นทำในจีน

ผู้ดำเนินรายการถาม อาจารย์หลี่ในฐานะทีเป็นคนจีนยังชอบผลิตภัณฑ์ของไทยหรือยังอยากทำธุรกิจไทยไหม อันไหนเป็นธุรกิจดาวรุ่ง

อาจารย์หลี่

1.  ดูจากสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ

อันไหนที่ใช้วัตถุดิบธรรมชาติและใช้มือทำ ขายที่จีนได้เพราะอุตสาหกรรมทั่วไป ผลิตเป็นจำนวน ราคาถูกไทยจะสู้ไม่ได้ ส่งไม้ยางพาราไปผลิตสินค้าที่กวางตุ้ง กระติ๊บข้าวเหนียวก็จะซื้อเพราะไม่มีวัตถุดิบ หรือทำเองก็ไม่คุ้ม ลูกประคบก็ขายได้ อันไหนที่มีเอกลักษณ์ของไทยต้องรักษาไว้

2.  สิ่งที่ไทยได้เปรียบ ไทยเป็นศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการสร้างเส้นทางการคมนาคมของจีน(เมืองซีอาน, คุนหมิง, ฉงชิ่ง, เฉิงตู)ไปพม่า ไปปากบารา ถ้ามีเส้นทางนี้ ถามว่าจะมีคนใช้ไหมทุกคนบอกว่าไม่คุ้มค่า ถ้าช่องแคบมะละกามีปัญหา จีนจะไม่มีทางออกทะเล จึงสร้างทางรถไฟมาไทย  โอกาสนี้มีมากสินค้าไทยไม่ต้องไปย่านเซี่ยงไฮ้ กวางโจว เข้าภาคกลางของจีนได้เลย ไทยมีแนวโน้มเจริญทางเศรษฐกิจมากขึ้น

มุมมองของจีนต่อสินค้าไทย

        แก้วน้ำโอเชียนกลาส, UFC ใช้ชื่อเป็นภาษาจีน ใช้เวลานาน DoubleA น้ำตาลมิตรผล เข้าห้างสรรพสินค้าต้องแต่งตั้งตัวแทนนำเข้า แต่ยังมีความแตกต่างลึกลึก ยังไม่เห็นบริษัทของจีนแต่ประสบความสำเร็จในไทย

แนวทางการดำเนินงานกสอ.

        กสอ. ควรส่งเสริมการพัฒนา SME ในสาขาอุตสาหกรรมใหม่ที่จีนจะเน้น เช่น

        - อุตสาหกรรมประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

        - อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ นิวเคลียร์ แสงอาทิตย์ พลังลม

         - อุตสาหกรรมวัสดุใหม่

          - อุตสาหกรรมรถยนต์พลังงานใหม่

ทั้งนี้เพื่อจะได้เป็นหุ้นส่วนกับจีนและพัฒนาไปด้วยกัน

 

          รายงานโดย

                                                                                               

 

    (นายวัชรา  ขนิษฐบุตร)

    วิศวกรชำนาญการพิเศษ

    ผู้อำนวยการส่วนเทคโนโลยีการผลิตพื้นฐาน

หมายเลขบันทึก: 459845เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2011 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท