ความน่าจะเป็น


หากเราสามารถวัดเป็นตัวเลขอย่างเที่ยงตรง คงมีแต่คนทำอะไรถูกใจกันไปหมด แต่เอาเข้าจริงๆ การไม่รู้อะไรบ้างมันก็เป็นความคลาสสิคอย่างหนึ่งที่ทำให้ชีวิตมีสีสัน

ความน่าจะเป็น คือ จำนวนที่แสดงให้ทราบว่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง มีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน  

 

ลูกเต๋าลูกหนึ่งเมื่อโยนออกไป จะมีค่า Sample Space (เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกของเหตุการณ์ทั้งหมด) = { 1, 2, 3, 4, 5, 6 } ลูกเต๋ามีหกหน้า ดังนั้นความน่าจะเป็นของการออกแต่ละหน้าจะเท่ากับ...

 

จำนวนเหตุการที่สนใจ n(E) หารด้วยจำนวนเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดจากการทดลองสุ่ม n(S) = 1/6

 

นั่นคือคณิตศาสตร์

 

ถ้ามีทางแยกสองทางให้เราเลือกจะไปทางไหน ตามสูตรความน่าจะเป็นโอกาสที่จะเลือกทางใดทางหนึ่งจะ = 1/2 หรือ 50% คณิตศาสตร์คำนวณได้แค่นี้ แต่ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่แบบนั้น เพราะจิตของมนุษย์ที่ซับซ้อนจะเป็นตัวกำหนดว่าเส้นทางไหนน่าไปกว่ากัน สมมติว่าทางหนึ่งขรุขระ ทางหนึ่งราบเรียบ โอกาสในการเลือกจะไม่ใช่ 1/2 หรือ 50% อย่างแน่นอน

 

ปัจจุบันเราเลยเห็นการพยายามดึงจิตของมนุษย์มาวิเคราะห์ในเชิงสังคมศาสตร์ พยายามเอาความรู้สึกออกมาเป็นตัวเลข เช่นความพึงพอใจ ความสนใจ หรือแนวโน้มความชอบไม่ชอบ เหล่านี้ แต่ถึงจะพยายามเท่าไหร่มันก็ยังมีปัจจัยแวดล้อมที่ทำให้เกิดการเบี่ยงเบนของผลลัพธ์ได้อย่างคาดไม่ถึงเสมอ

 

อารมณ์ความรู้สึกเป็นเรื่องสำคัญ หากเราสามารถวัดเป็นตัวเลขอย่างเที่ยงตรง คงมีแต่คนทำอะไรถูกใจกันไปหมด แต่เอาเข้าจริงๆ การไม่รู้อะไรบ้างมันก็เป็นความคลาสสิคอย่างหนึ่งที่ทำให้ชีวิตมีสีสัน เพราะการเข้าถึงแก่นแท้ของจิตคงยากถ้ายังลั่นล้ากันอยู่ในโลกออนไลน์แบบนี้ เพราะฉะนั้นถ้าเราได้มีโอกาสตระหนักถึงความซับซ้อนของสูตรการใช้ชีวิต และดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ก็คงถือเป็นโชคมหาศาลที่ได้เกิดเป็นคนในชาตินี้แล้ว คิดว่านะ

คำสำคัญ (Tags): #ข้อคิดชีวิต
หมายเลขบันทึก: 459824เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2011 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท