รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

นิทานร้อยบรรทัด ครูที่รักเด็ก : เรื่องที่ ๒"นักเรียนทั้งหมดรักกันฉันพี่น้อง"


หลายปีที่ผ่านมา ฉันมักคัดลอกข้อความจากเว็บต่าง ๆ ที่เพื่อน ๆ นำมาบันทึกไว้ รู้สึกละอายอยู่เหมือนกันที่ไม่ค่อยได้แบ่งปันอะไรไว้ให้คนอื่น ๆ บ้างเลย จึงอยากนำเอานิทานร้อยบรรทัด ซึ่งเป็นหนังสือที่ตัวเองชอบอ่านมากในวัยเด็ก และเป็นแรงบันดาลใจในการแต่งบทกลอนมาจนทุกวันนี้ อีกทั้งปัจจุบัน "นิทานร้อยบรรทัด"ได้รับการคัดเลือกยกย่องให้เป็น ๑๐๐ หนังสือดีที่ควรอ่าน จึงขอนำมาแบ่งปัน ท่านสามารถคัดลอกข้อความไปใช้ดัดแปลงให้สวยงามตามต้องการได้เลยค่ะ

หนังสือนิทานร้อยบรรทัด เล่ม ๓ เรื่อง ครูที่รักเด็ก ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ของ

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วยนิทาน  ๔  เรื่อง  ดังนี้

๑. "ตื่นแต่เช้า พึ่งเท้า ไม่พึ่งรถ"

๒. "นักเรียนทั้งหมด รักกัน ฉันพี่น้อง"

๓. "ทุกคนต้อง  ร่าเริง  ไม่ง่วงเหงา"

๔."เหงื่อไคล  เฝ้าขัดสี  ทุกวี่วัน"

     เรื่อง "นักเรียนทั้งหมด  รักกัน  ฉันพี่น้อง"

อ้อยนำช่อ         เอื้องฟ้า          งามน่ารัก

เข้ามาปัก         ไว้ให้ชม          ดมกันทั่ว

เช้าวันนั้น         เด็กทั้งชั้น       ชื่นชมชัว

ครูยิ้มหัว          ชมอ้อย           พลอยชื่นใจ

"อ้อยน่ารัก       เหมือนเอื้อง     เฟื่องระย้า

เช้าขึ้นมา         ยิ้มแย้ม          ดูแจ่มใส

ยิ้มกับครู          ยิ้มรับ            กับใครใคร

ใครทำได้         เช่นอ้อย         แช่มช้อยนัก

แน่ะ !ดูเอื้อน     เพื่อนของอ้อย  ซิ !หงอยเหงา

ดูหรือทำ          หน้าเศร้า         เหมือนเจ็บหนัก

ยิ้มไม่เป็น         หน้าเหมือนใบ้   ใครจะรัก

เพราะใครใคร    ทึกทัก             ว่าถือตัว

อ้อยบอกหน่อย ได้ไหมหนู         ครูอยากทราบ

ไยดวงหน้า       หนูเอิบอาบ       ช่างยิ้มหัว

หนูอยู่ไหน        เพื่อนอยู่นั่น      คอยพันพัว

ยามเพื่อนยั่ว      อ้อยก็เย้า         ได้เข้าที"

อ้อยดีใจ          ได้รับชม           สมขยัน

รีบขยาย           ให้ทั้งชั้น          ฟังถ้วนถี่

"อ้อยร่าเริง        ทุกเย็นเช้า        เหงาไม่มี

แม้เมื่อหลับ       ก็ฝันดี              ตลอดคืน

ทั้งนี้เพราะ        อ้อยชอบอ่าน    นิทานสนุก

ชอบดอกไม้      ปลอบปลุก       ให้แช่มชื่น

ชอบร้องเพลง    กล่อมใจ          ให้ครึกครื้น

อะไรอื่น           แสลงใจ           อ้อยไม่ทำ

ครูถามว่า         "ใครบ้าง           เอาอย่างอ้อย"

ตุ๊ว่า "ผม          ร้องเพลงบ่อย     ตอนค่ำค่ำ

ยามมีเพื่อน       ก็ร้องเล่น           เป้นประจำ

อยู่คนเดียว       ก็พึมพำ             เพียงเบาเบา"

ตุ้มว่า "ผม        มีดอกไม้            ออกเต็มบ้าน

ทุกเช้าบาน       ชมสบาย           ไม่มีเหงา

ตื่นแต่มืด          หอมตลบ          หายซบเซา

มาโรงเรียน        ได้แต่เช้า          คุณครูชม

อีกทั้งมี             นิทาน              อ่านสนุก

เรื่องนกเขา        จู้กูฮุก               ขันขรม

คูกับแมว           เป็นคู่               สู้คารม

ด้วยถ้อยคำ       ขำคม               ควรใส่ใจ"

ครูว่า "เอื้อน      มีอะไร              อวดไหมล่ะ

คงจะมี             แต่ธุระ             เป็นเรื่องใหญ่

"ไม่ร้องรำ         ทำเพลง           กับใครใคร

 แม้ดอกไม้       ก็ไม่ชม             ดมไม่เป็น"

เอื้อนว่า "งาน    ที่บ้านมี            ไม่มากนัก

พอทำเสร็จ       หนูก็พัก            นั่งเดินเล่น

รับสายลม        โบกสะบัด          พัดเย็นเย็น

คุณครูเห็น        ก็คงชม             ว่าสมควร

ครูว่า "เพียง      พักร่างกาย         เฟื่องระย้า

เช้าขึ้นมา         ยิ้มแย้ม              พอคลายเหนื่อย

ให้หายเมื่อย     ยังไม่ชม             ว่าสมส่วน

เพราะสมอง     ไม่ได้พัก             ซึ่งมักรวน

เป็นต้นเหตุ      ก่อกวน               ให้ซึมเชา

พักสมอง         ต้องร่าเริง            ต้องหัวเราะ

กับเพื่อนเพือน   จึงจะเหมาะ         อย่ามัวเขลา

เอื้อนนั่งรับ        ลมเฉื่อย            เหนื่อยบรรเทา

แต่จิตใจ           ขาดเครื่องเร้า     ไม่ร่าเริง

เอื้อนต้องชม      ดอกไม้งาม        ในยามว่าง

อย่ามัวถ่าง         ตาเหม่อ           ละเมอเหลิง

มองแต่ฟ้า          จิตใจ              จะกระเจิง

ลอยเตลิด          เปิดเปิง           ไปเสียไกล

ตุ้มเขามี            ไม้ดอก             ออกเต็มบ้าน

เอื้อนเสร็จงาน     แวะชมเล่น        เห็นจะได้

ตุ้มว่า "ฉัน         พร้อมเสมอ        ถ้าเธอไป

จะนำให้            เด็ดดม             ชมให้เพลิน"

อ้อยว่า "เอื้อน    ได้ไปเห็น          เป็นต้องชอบ

เขาปลูกไว้         แลรอบ            น่าสรรเสริญ

ทั้งไม้ดอก         ไม้ใบ              ไม่ขาดเกิน

ถ้าพร้อมเพื่อน    ได้ไปเดิน         เหมือนชมดง"

ตุ๊ว่า "ฉัน           ก็เห็น             เช่นอ้อยว่า

ตุ้มเคยพา          เดินดม           ชมแล้วหลง

ใท้งกลิ่นสี         ปลุกปลึ้ม        ลืมไม่ลง

เอื้อนได้ชม        แล้วคง          คนึงนาน

คุณแม่ตุ้ม          ก็ใจดี           ไม่มีสอง

รับพวกเรา          รับรอง          เหมือนลูกหลาน

เลี้ยงขนม          ทึกทัก          ว่าถือตัว

อ้อยบอกหน่อย   เลี้ยงน้ำ         อิ่มสำราญ

คุณพ่อตุ้ม          ก็วางงาน       มาร่วมวง"

อ้อยว่าทั้ง          คุณแม่          แลคุณพ่อ

นั่งหัวร่อ            มีอารมณ์       สมประสงค์

ที่ตุ้มรัก             พวกเรา         เหมือนเผ่าพงศ์

ตุ้มว่า "อ้อย        รู้เรื่องคง       จะดีใจ

ท่านชมอ้อย       ว่าร้องเพลง    เก่งที่หนึ่ง

ฟังหวานซึ้ง       สมชื่อ           ลือไกลใกล้

ข้างข้างบ้าน      ถามหา          ว่าศิษย์ใคร

ช่างร้องเพลง     จับใจ            เสียจริงจริง

ครูว่า"อ้อย         ปล่อยฝีมือ     ชูชื่อเสียง

ของโรงเรียน      ด้วยสำเนียง   น่ารักยิ่ง

ขออภัย            ร้องอีกครา     อย่าประวิง

ครูจะนิ่ง            นั่งฟัง          เสียงกังวาน"

อ้อยเอ่ยเอื้อน      ว่า"โอ้         พวกเราเอ๋ย

เหมือนหนึ่งเคย    แตกรัก       สมัครสมาน

เป็นเตยหอม        หอมฟุ้ง      จรุงฆาน

ใครได้ชม            ชื่นบาน      อิ่มเอมใจ

ด้วยคุณครู           คุณแม่       แลคุณพ่อ

ท่านเติมต่อ          แต่งเรา      เฝ้าแก้ไข

เหมือนปลูกเตย     ทนุถนอม   ให้หอมไกล

ขอเทอดคุณ         ท่านไว้      ไม่ลืมเอย"

ครูว่า "เพราะ        ไหมเอื้อน    เพื่อนเขาร้อง

ถ้อยทำนอง          เพราะทุกอย่าง  ช่างเฉลย

เสียงขานขับ         จับใจ         กระไรเลย

ครูไม่เคย             ฟังเสนาะ     เพราะอย่างนี้

อ้อยจงสอน          เพื่อนเพื่อน  ทั้งเอื้อนด้วย

ให้ร้องเป็น           จะได้ช่วย     ชูศักดิ์ศรี

เข้าที่ไหน           ใครก็ชอบ      มอบไมตรี

เหมือนหนึ่งมี        เสน่ห์ลับ      จับใจคน

หมายเลขบันทึก: 459104เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2011 05:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะครูอิงจันทร์

มารำลึกวัยเด็กค่ะ หนังสือที่สื่อถึงวามสุขที่ยังไงปัจจุบันก็ไม่เป็นอย่างนั้น

อยากให้ครูใกล้ชิดนร. มากยิ่งขึ้น เพราะนร. ตอนนี้ปัญหาขาดความรัก ความอบอุ่น พ่อแม่ทิ้งลูกไปทำงานในเมือง...

ไม่รู้ว่าที่ประจวบเป็นหรือไม่คะ

สวัสดีค่ะคุณแดง

Ico48
  • แบบเดียวกันค่ะ โดยเฉพาะที่โรงเรียนครูอิง
  • เด็ก ๆ มักอยู่กับปู่ ย่า ตา ยาย  บางคนไม่เคยเห็นหน้าพ่อแม่ด้วยซ้ำค่ะ
  • หายากมากครอบครัวที่จะสมบูรณ์
  • ครอบครัวใดที่มีความพร้อมหน่อย ก็จะส่งลูกเรียนโรงเรียนเอกชน
  • ที่โรงเรียนจึงเหลือไว้แต่เด็ก ๆ ที่มีปัญหาครอบครัวเป้นส่วนใหญ่ค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ 

ยังไม่ทันทักทายเลยค่ะบันทึกไปแล้ว

กำลังจะบอกว่าผ่านมานานแสนนาน

พอรื้อฟื้นนิดเดียวก็จำได้ค่ะ นิทานร้อยบรรทัด

นำมาฝึกอ่านให้เด็กรุ่นใหม่อ่านบ้าง น่าจะดีนะคะ

ครูอิงสบายดีนะคะ

สวัสดีค่ะพี่ศน.

Ico48
  • ที่ห้องสมุดของครูอิง คัดเลือกนิทานร้อยบรรทัด 2 เรื่อง
  • พิมพ์เป็นป้ายใหญ่ ๆ ติดไว้ที่กำแพงห้อง เด็ก ๆ ชอบอ่านค่ะ
  • นิทานร้อยบรรทัด นอกจากเด็กจะได้ฝึกอ่านบทร้อยกรองแล้ว
  • เนื้อหาของนิทานยังสอดแทรกคุณธรรมสำหรับเด็กได้เป็นอย่างดี
  • ขอบพระคุณพี่ลำดวนมากค่ะ ที่แวะมาเยี่ยมเยียน มีความสุขเสมอ ๆ นะคะ

คิดถึงสมัยเด็ก ๆ บทกลอนต่าง ๆ รวมทั้งสูตรคูณ ผ่านมาหลายสิบปีก็ยังจำได้ บางเรื่องก็เป็นเรื่องของความสุนทรีย์ด้านจิตใจ บางเรื่องก็นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตได้เสมอไม่ว่าเวลาจะผ่านมานานเท่าไร บทกลอนและการท่องจำจึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากหากรู้จักนำมาใช้ คำตำหนิว่าการท่องเป็นนกแก้วนกขุนทองเกิดจากอคติและอวิชาที่ถูกครอบงำโดยการชี้นำของตะวันตก เด็กเดี่ยวนี้จำอะไรไม่ได้ คิดก็ไม่เป็น ก็เพราะละทิ้งการเรียนการสอนแบบเก่าที่มีคุณค่านั่นเอง

ขอบคุณคุณครูที่อนุรักษ์และส่งเสริมบทกลอน อันทรงคุณค่านานัปการ

บทกลอนดีที่ควรแผ่แลขยาย    ขัดจิตใจให้เด็กดีสร้างนิสัย

รู้เรียนเล่นเห็นชีวิตทุกจิตใจ     มีอะไรในถ้อยคำงดงามจริง

  • สวัสดีครับพี่อิง
  • นิทานเนื้อหาดีครับ  สมัยผมอยู่ประถมนั้นไม่ได้เรียน อาจยังเกิดไม่ทันครับ
  • สมัยนี้หลักสูตรกลุ่มสาระภาษาไทยของนักเรียนประถม ปรับบ่อยจังครับ ลีซออยู่ป.2 ภาษาพาทีปีที่แล้วยังเป็นเรื่อง โรงเรียนต้นไม้ แต่ปีนี้ปรับใหม่อีกแล้ว เด็กเลยไม่ค่อยจำ ไม่ค่อยได้ซาบซึ้งกัน
  • พี่อิงสบายดีนะครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท