ทำไมต้องAHA


 ทำไมต้องAHA ปัจจุบันถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่า มีเครื่องสำอางหลายชนิดที่โฆษณาว่ามีส่วนผสมของ AHA มีความเข้มข้นที่มากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป

 เครื่องสำอางค์ที่มี AHA เป็นส่วนประกอบถูกจัดในอยู่กลุ่มเดียวกับสารเคมีสำหรับลอกผิว ซึ่งใช้งานกันในหมู่แพทย์ผิวหนังและศัลยกรรมพลาสติก AHA ที่ใช้กันมากคือ (Glycolic Acid) กรดไกลโคลิก และ (Lactic Acid) กรดแลกติก กลไกการออกฤทธิ์ของ AHA จะเป็นตัวการสำคัญในการควบคุมสมดุลของความชุ่มชื้นของผิวให้เป็นปกติ ซึ่งโดยปกติผิวหนังของคนเรานั้นจะมีกลไกควบคุมสมดุลของความชุ่มชื้น
และถ้าความสมดุลเหล่านี้เสียไปจะเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นขึ้นมาได้ (ความแก่) 555แต่ข้อเสียของ AHA คือเวลาใช้อาจเกิดการระคายเคือง รู้สึกตึงหรือคันยิบๆ ได้ ต้องจำไว้เสมอว่าหลัง AHAควรทาครีมกันแดด หลีกเลี่ยงแสงแดด หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีต่างๆ หรือสบู่ชนิดแรงบริเวณผิวหน้า 4-5 วัน เพราะอาจทำให้ผิวลอกมากและไหม้ได้ และหลังจากนั้นก็สามารถใช้เครื่องสำอางค์และยาอื่นได้ตามความปกติ Glycolic Acid เป็นตัวที่นิยมมากที่สุด เพราะมี Molecule ที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดา AHAs ทั้งหมด ซึ่่งสามารถซึมเข้าไปถึงผิวหนังชั้นกลาง ช่วยในการสร้างCollagenและจะทำให้ผิวหนา แข็งแรงขึ้น ผิวก็จะดีและริ้วรอยต่างๆก็จะลดลง AHA ที่มี Molecule เล็ก และเชื่อว่า สามารถแทรกซึมลงสู่ชั้นผิวหนังได้ง่ายที่สุดคือ Glycolic acid ซึ่ง AHA นี้จะไปมีผลลดแรงยึดเหนี่ยวของเซลล์ในชั้นบนของหนังกำพร้า ซึ่งเป็นเซลล์ที่ตายแล้วมีการทับถมกันของเซลล์ ให้หลุดออกไปง่ายขึ้นและขณะเดียวกันก็สามารถกระตุ้นให้สร้างเซลล์ผิวหนังใหม่ๆ ที่แข็งแรงกว่าแทนที่ อีกทั้งยังเชื่อว่า AHA ในความเข้มข้นที่พอเหมาะ จะสามารถกระตุ้นให้สร้างสารในชั้นหนังแท้ได้ โดยรวมแล้ว ผลที่ได้คือ ทำให้ผิวดูสดใสขึ้น ขาวเนียนขึ้น ผิวหนังมีความยืดหยุ่น แข็งแรงมากขึ้น ริ้วรอยตื้นๆ ลดลง ซึ่งจริงๆ แล้วในวงการแพทย์ใช้AHA ในความเข้มข้นที่สูง เพื่อใช้ในการรักษาโรคทางผิวหนังบางอย่าง เช่น หูด ติ่งเนื้อ เป็นต้น

 AHA ควรเลือกใช้ ที่มีความเข้มข้น ประมาณ 8%-10% แต่อย่าต่ำกว่า 5% เพราะมันไม่ได้ผล เห็นผลช้าและค่า pH ประมาณ 3-4 (ดีที่สุด 3.5)ค่า pH ห้ามต่ำกว่า 3 มีกรดมากเกินไป ทำให้ระคายเคืองต่อผิวและห้ามเกินกว่า 4.5 มีประสิทธิภาพน้อยในการผลัดเซลล์ผิว ไม่ได้ผลหรือบางคนใช้แล้วอาจจะไม่เห็นผล อาจจะเพิ่ม % ขึ้นเป็น 15% หรือ 20% สูงสุด ไม่ควรเกินกว่านี้ถ้าเกินกว่านี้ ต้องทำโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเท่านั้น


หมายเลขบันทึก: 459044เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2011 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท