ปัจจัยและองค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ


ปัจจัยและองค์ประกอบของนโยบายสาธารณะ

 

     1. ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อการกำหนดนโยบาย

        1.1.ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐาน(Fundamental Factors) ประกอบด้วย

             1.1.1 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ เป็นปัจจัยอันดับหนึ่งเสมอสำหรับผลประโยชน์จะ

เน้นผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญสำหรับนโยบายสาธารณะ

             1.1.2.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้กำหนดนโยบาย มองว่าใครคือผู้กำหนดนโยบายมีความรู้ความสามารถและเหตุผลในเรื่องนั้นมากน้อยแค่ไหน จะมองว่ากลุ่มของผู้นำจะมีอิทธิมากในการกำหนดนโยบาย

             1.1.3.ปัจจัยที่เกี่ยวกับข้อมูลเอกสารต่างๆ ถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญ สถิติข้อมูลต่างๆที่ใช้ประกอบการตัดสินในกำหนดนโยบายสาธารณะจะมาจากข้อมูลเอกสาร(ทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ)

        1.2 ปัจจัยที่เป็นสภาพแวดล้อม (Environment Factors) สภาพแวดล้อม จะมีอิทธิพล มีปฏิสัมพันธ์ต่อการทำงานและองค์การและการทำงานและองค์การ ก็จะมีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมด้วย ต่างก็จะมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

              1.2.1 ปัจจัยทางการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมือง การเมืองจะเป็นแหล่งสนับสนุนและได้รับผลกระทบจากนโยบาย มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการกำหนดนโยบาย ถ้ามองในแง่ของวัฒนธรรมทางการเมืองแล้วจะขึ้นอยู่กับค่านิยมของคนในสังคมที่มีต่อการเมืองอย่างไร เช่นการชูประเด็นหาเสียงของพรรคการเมืองเพื่อให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง เป็นตัวสะท้อนในการกำหนดนโยบาย

             1.2.2. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนดความต้องการของประชาชน การดำเนินนโยบายของรัฐบาลก็ต้องเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้กับประชาชน

             1.2.3 ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางสังคมจะมีมาก เช่น ค่านิยม วัฒนธรรม ครอบครัว จำนวนประชากร เช่นถ้ามีประชากรในวัยเด็กมาก นโยบายสาธารณะก็จะออกไปทางการจัดการศึกษา หรือคนชรามากก็จะมีนโยบายสงเคราะห์คนชราเป็นต้น

             1.2.4. ปัจจัยทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ เป็นตัวสะท้อนในการแก้ไขปัญหาในอดีต เป็นข้อมูลในการกำหนดโยบาย

             1.2.5 ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี มีความสำคัญในการกำหนดนโยบาย
แบ่งตาม Cost &Benefits
1. Broad Costs / Broad Benefits หมายถึง นโยบายที่ค่าใช้จ่ายครอบคลุมคนของสังคม ขณะเดียวกันผลประโยชน์ก็ตกอยู่อย่างทั่วถึงทุกคนในสังคม เช่น นโยบายความมั่นคง, ภาษี, “การทหาร” เงินที่ซื้อก็ยกมาจากคนทั้งสังคม ผลประโยชน์ก็ได้ต่อคนทุกคน “นโยบายการศึกษา” เงินที่ใช้ลงทุนก็มาจากคนส่วนใหญ่ ผลประโยชน์ก็ได้กับคนส่วนใหญ่ “นโยบายสาธารณะสุข” เงินที่ใช้ลงทุนก็มาจากคนส่วนใหญ่ ผลประโยชน์ก็ได้กับคนส่วนใหญ่

2. Broad Costs / Narrow Benefits หมายถึง ค่าใช้จ่ายมาจากคนส่วนใหญ่ ผู้ได้ประโยชน์ตกกับคนส่วนน้อย “นโยบายการสร้างทางด่วน/ถนนหนทาง” คนได้ประโยชน์คือ คนที่มีรถยนต์ คนจ่ายเงินมากจากภาษีอากรของคนส่วนใหญ่ “นโยบายด้านให้สวัสดิการต่อทหารผ่านศึก” “นโยบายการให้ทุนการศึกษาต่อนักเรียนไปเรียนเมืองนอก”

3. Narrow Costs / Broad Benefits หมายถึง ค่าใช้จ่ายน้อยมาก (เงินที่ได้ มาจากคนส่วนน้อย) แต่ประโยชน์ตกกับคนส่วนใหญ่ การรักษาสิ่งแวดล้อม/มลภาวะเป็นพิษ โรงงานต้องจ่าย การเก็บภาษีสูงๆ 70-80% จากเศรษฐี (ภาษีอัตราก้าวหน้า)และนำรายได้ส่วนนี้ไปสร้างประโยชน์ให้คนส่วนใหญ่

4. Narrow Costs / Narrow Benefits หมายถึงค่าใช้จ่ายเสียโดยคนส่วนน้อย แต่ประโยชน์ก็ตกอยู่กับคนส่วนน้อย การเก็บภาษีส่งออก 0.1% เข้าบัญชีกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และผู้ส่งออกสามารถนำดอกผลมาใช้ดำเนินการด้านการส่งออก แก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาการกีดกันทางการค้า/ การเจรจากนโยบายต่างๆ 
เป็น System Politics หรือเป็น Sub System Politics

          1. System Politics – เป็นนโยบายระดับชาติ

          2. Sub System Politics – เป็นนโยบายที่เกิดในระดับท้องถิ่น
แบ่งตามประเภทตามขอบข่ายผลกระทบของนโยบาย Ira Sharkansky เป็นการจำแนกประเภทของนโยบายโดยรวมนโยบายที่ส่งผลกระทบอย่างเดียวกันไว้เป็นประเภทเดียวกัน เช่น รวมเอานโยบายใดๆ ที่ส่งผลกระทบทำให้ประชาชนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์ และมีชีวิตยืนยาวนานเข้าไว้เป็นนโยบายสาธารณสุข เป็นต้น

        1. นโยบายทางการศึกษา

        2. นโยบายทางหลวง

        3. นโยบายสวัสดิภาพสาธารณะ

        4. นโยบายสาธารณสุข

        5. นโยบายทรัพยากรธรรมชาติ

        6. นโยบายความปลอดภัยสาธารณะ 
แบ่งตามเนื้อหา และวัตถุประสงค์ของนโยบาย Theodore Lowi ( USA )

   1. Regulative Policy ออกมาเพื่อควบคุม เช่นนโยบายควบคุมเกี่ยวกับการใช้สารพิษ/ยาเสพติด การควบคุมคนเข้าเมือง การควบคุมควันดำ

   2. Self-Regulative Policy นโยบายที่มุ่งเน้นให้กำกับตัวเอง โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับวิชาชีพเฉพาะ เพื่อส่งเสริมให้แต่ละกลุ่มมีบทบาทในการควบคุมดูแลตนเอง เช่น พรบ.ทนายความ พรบ.วิชาชีพเภสัชกรรม พรบ.วิศวกรรม พรบ.หอการค้า

   3. Distributive Policy เป็นลักษณะการจัดสรรทรัพยากร เช่นการปฏิรูปที่ดิน การจ้างงานในชนบท นโยบายแก้ปัญหาอสังหาริมทรัพย์
4. Redistributive Policy เป็นนโยบายที่เรามาจัดสรรทรัพยากรกันใหม่ เช่นภาษีมรดก, รัฐเวนคืนที่ดินแล้วนำมาจัดสรรใหม่, ประเทศคอมมิวนิสต์ เมื่อปกครองก็ยึดทรัพย์สมบัติเข้าหลวงแล้วนำมาจัดสรรใหม่
แบ่งตามประเภทตามลักษณะกิจกรรมหรือภารกิจของรัฐบาล Thomas R. Dye ( USA )

        1. นโยบายการป้องกันประเทศ

        2. นโยบายต่างประเทศ

        3. นโยบายการศึกษา

        4. นโยบายสวัสดิการ

        5. นโยบายการรักษาความสงบภายใน

        6. นโยบายทางหลวง

        7. นโยบายภาษีอากร

        8. นโยบายเคหะสงเคราะห์

        9. นโยบายการประกันสังคม

        10. นโยบายสาธารณสุข

        11. นโยบายพัฒนาชุมชนตัวเมือง

        12. นโยบายทางเศรษฐกิจ

อ้างอิงจาก  :  แหล่งที่มา

http://reportdd.com/%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%B0-public-

 

หมายเลขบันทึก: 458545เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2011 07:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท