ภาษาบาลีสำคัญไฉน


ภาษาซึ่งให้ความหมายถึง "ปรมัตถสัจจะ" อย่างถ่องแท้และไม่คลาดเคลื่อน

นี้เป็นบันทึกแรกที่ข้าพเจ้าได้เริ่มต้น หลังจากสมัครมานาน (มาก) ก็ขอเริ่มต้นที่เรื่อง ภาษา"บาลี" สำคัญไฉน ?  ใยเราต้องศึกษาด้วย

ภาษาที่เป็นรากฐาน แก่นแท้ภาษาของโลกนั้นก็คือภาษา "บาลี" หรือ "ปาลี" (Pali) และหากท่านผู้อ่านต้องการศึกษาให้ถ่องแท้แล้ว ท่านอาจจะหาเรียนได้จากวัดที่สอน หรือสถาบันทางพระพุทธศาสนา เช่น มหามกุฏราชวิทยาลัย , มหาจุฬาราชวิทยาลัย เป็นต้น แต่ในบันทึกนี้อยากชี้เฉพาะลงไปว่า ภาษานี้สำคัญอย่างไรมากกว่าที่จะอธิบายความเป็นมาของภาษา (ซึ่งท่านก็สามารถค้นหาข้อมูลได้ทั่วไปใน internet)

ในอรรถกถาจารย์ท่านได้กล่าวว่า ภาษาบาลี เรียกว่า เป็นภาษาแห่งพระพุทธเจ้า แปลเป็นอรรถไว้ว่าเป็น "ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพุทธวจนะ" นั่นเอง    นั้นหมายถึง ถ้าในโลกนี้ว่างจากพระพุทธเจ้า ภาษาบาลีก็จะไม่แพร่หลาย  ไม่นิยม  เสื่อมไป เพราะเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้ตรัสสอน  คนที่เกิดในยุคที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ ก็จะได้เรียน หรือพูดภาษานี้จนคล่องกันอยู่แล้ว ทำให้ดูเหมือนไม่ยากนัก

คำว่า รักษาไว้ซึ่งพุทธวจนะ นั้น แปลว่า พระพุทธเจ้าจะตรัสสอนอะไรก็ตาม ก็จะใช้ภาษาบาลีเท่านั้น  เพราะศัพท์ของภาษานี้สามารถอธิบาย แก่นแท้ของปรมัตถ์สัจจะ   (ความเป็นจริงอันยิ่ง) ได้อย่างถูกต้องแม่นยำที่สุดไม่คลาดเคลื่อน  ซึ่งไม่มีภาษาไหนที่อธิบายปรมัตถสัจจะได้ถูกต้องเท่าอีกแล้ว  นั่นเป็นความสำคัญของภาษาเป็นที่สุด  

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสสอน ศัพท์บางคำเป็นคำสั้นๆ แต่ให้ความหมายได้ลึกซึ้งถึงสัจธรรมทีเดียว ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้แจ้งแทงตลอดได้โดยง่าย

เช่น  ศัพท์ที่ชื่อว่า รูปา  ถ้าเป็นภาษาไทยก็คือรูปหรือภาพที่เรามองเห็น  แต่ในบาลีแปลความโดยย่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นขณะหนึ่งแล้วสามารถเสื่อมสลายได้

ศัพท์ที่ชื่อว่า จิตตะ  ถ้าเป็นภาษาไทยก็คือ ใจ หรือสิ่งที่เรานึกเราคิด แต่ในบาลีแปลความว่า  ธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ ,ธรรมชาติที่เกิดขึ้นรับกระทบอารมณ์ ,ธรรมชาติที่กักเก็บอารมณ์ ฯลฯ (แปลไปคนละความหมายกับภาษาอื่นเลย)

ดังที่ได้ยกตัวอย่างมาแล้วนั้น หากบัณฑิตหรือพระภิกษุ ที่ต้องการศึกษาความหมายอันถ่องแท้ของพุทธวจนะตามพระไตรปิฎก ก็จำเป็นต้องเรียนภาษาบาลี เราเรียกว่า เรียนเป็น "เปรียญ" (ปะ-เรียน) มีตั้งแต่ประโยคหนึ่งถึงประโยคเก้า  จุดประสงค์ก็เพื่อให้ทราบทันว่าพระพุทธเจ้าตรัสนั้นน่ะ ท่านหมายถึงอะไรกันแน่  นี่แหละเป็นแก่นแท้ของภาษาบาลีทีเดียว

หมายเลขบันทึก: 458523เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท