การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Startegic Management)


การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Startegic Management)

การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Startegic Management)

การบริหารเชิงกลยุทธ์ ถือเป็นแนวทางการบริหารที่เป็นระบบ โดยแต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์กันในเชิงการสร้างมูลค่า (Value Added) มุ่งสู่เป้าหมายที่มีการกำหนดไว้ในกรอบของทิศทางเชิงกลยุทธ์ หรือที่เรียกว่า “ภารกิจ” (Mission)

การบริหารเชิงกลยุทธ์ (Startegic Management) นั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
• ส่วนที่ว่าด้วยการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning)
• ส่วนที่ว่าด้วยการดำเนินการ (Implementation) เพื่อให้แผนดังกล่าวสำเร็จลุล่วง

ในการดำเนินการดังกล่าว ทรัพยากรจะถูกจัดสรรเพื่อให้มีการใช้ในกรอบที่มีทิศทางที่แน่นอน ทั้งเงื่อนไขเวลาในทุกอณูก็จะถูกกำหนดเพื่อให้มีความสัมพันธ์ต่อกันในการผลักดันองค์กรไปสู่ทิศทางที่มีการวางกรอบไว้

ความจริงนั้น แม้การบริหารเชิงกลยุทธ์จะมีกรอบกำหนดไว้อย่างเป็นระบบเพื่อให้มีการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเอื้ออำนวยต่อกันก็จริง แต่ก็ได้เปิดโอกาสให้มีความยืดหยุ่นในการบริหารเพื่อปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ดังจะเห็นได้ว่า ภารกิจ (Mission) ที่ถูกต้องจะกำหนดไว้ในลักษณะที่เป็นนามธรรมเพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตระยะยาวได้ การบริการเชิงกลยุทธ์จึงมีลักษณะเป็นการบริหารบนพื้นฐานของการมีดุลยภาพ (Balance) ระหว่างกรอบทิศทางและความยืดหยุ่นในการปรับตัว

การบริหารเชิงกลยุทธ์ หากมีการดำเนินการอย่างถูกต้องและเป็นระบบแล้ว จะเป็นการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง เพราะเป็นการบริหารที่มีลักษณะเป็นการป้องปราม ปัญหาโดยมมีแผนทิศทางรองรับ และมีความคล่องตัวในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เนื่องจากเป็นลักษณะการบริหารอย่างเป็นระบบ (Systemic Management)

การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ฯลฯ ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับภายในประเทศ บนพื้นฐานของเศรษฐกิจยุคดิจิตอน (Digital Economy) อันมีความเร็ว (Speed) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งนั้น องค์กรไม่ว่าจะเป็นในระดับมหัสภาค เช่น ประเทศหรือองค์กรในระดับจุลภาค อันได้แก่ หน่วยภาครัฐ และธุรกิจภาคเอกชน จำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับกับการแข่งขันในระดับโลก (Global Competition) ที่ทวีความเข้มข้นขึ้นตลอดเวลา โลกในยุคสังคมสารสนเทศนั้น องค์กรต่าง ๆ จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในด้านความสามารถในการแข่งขัน (Compettiveness) อันเป็นผลจากการเปิดเสรีในยุคโลกาภิวัตน์ (Goballization) การขยายตัวของประเทศเกิดใหม่ (Emerging Economies) และการรวมกลุ่มในภูมิภาคต่าง ๆ (Reginationalism) องค์ประกอบหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันก็คือ แนวทางการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management)

แนวทางดังกล่าวนี้ นับวันจะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นต่อการบริการขององค์กรและต่อธุรกิจของไทย ซึ่งยังอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง วิกฤตเศรษฐกิจไทยที่เกิดขึ้นเป็นเพียงภาพฉายของปรากฏการณ์ของช่องว่างที่เรียกว่า “ช่องว่างเชิงกลยุทธ์” (Strategic Gap) ระหว่างการบริหารของธุรกิจไทยกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม และนับวันช่องว่างเชิงกลยุทธ์ดังกล่าวนี้จะขยายห่างกันขึ้นทุกที องค์กรภาครัฐและธุรกิจของไทยจึงมีความจำเป็นในการปรับโครงสร้างการบริหารขนานใหญ่ (Major Restructuring) ในอนาคตเพื่อลดช่องว่างดังกล่าว และขยายขีดความสามารถเพื่อเผชิญกับการแข่งขันในระดับโลก (Gabal Competition) ในบริบทนี้ การบริหารเชิงกลยุทธ์จะกลายเป็นเครื่องมือในการบริหารการจัดการขององค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนไทยไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่ กลาง และขนาดเล็กก็ตาม

องค์ประกอบของการบริหารองค์กรทั้งภาครัฐและธุรกิจส่วนหนึ่งนั้นขึ้นอยู่กับระบบการจัดการ อีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นส่วนสำคัญมาก ขึ้นอยู่กับทัศนคติหรือวัฒนธรรมในการบริหาร องค์กรหรือธุรกิจที่ประสบความสำเร็จนั้น ปัจจัยสำคัญก็คือ คุณภาพทรัพยากรมนุษย์ (คุณภาพของคน) หัวใจของการบริหารเชิงกลยุทธ์จึงมิใช่อยู่ที่การสร้างแผนกลยุทธ์ที่ดี หรือสร้างระบบการบริหารที่ดี แต่ขึ้นอยู่กับ องค์ประกอบของการสร้างบุคลากรให้มีวัฒนธรรมในการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) จึงถือเป็นองค์ประกอบของการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เพราะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับคุณภาพของบุคลากร อันเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการบริหารการจัดการ

ประเทศหรือองค์กรใดที่ประกอบด้วยบุคลากรที่เป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinker) เป็นจำนวนมาก ย่อมมีความได้เปรียบองค์กรอื่น ๆ ที่ขาดแคลนบุคลากรประเภทนี้ การสร้างทัศนคติของคนไทยในองค์กรให้เกิดวิธีการคิดในเชิงกลยุทธ์ที่เรียกว่า “จิตวิญญาณนักกลยุทธ์” (Mind of Strategic) จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร จะถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในการบริหารเชิงกลยุทธ์ และจะเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor) ของการพัฒนาองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในอนาคต

สังคมไทยกำลังเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิตอน (Digital Economy) ที่เกิดจากการแข่งขันที่ไร้พรมแดน (Borderless World) ด้วยระบบความรวดเร็ว (Speed) แห่งการเปลี่ยนแปลง (Change) การบริหารเพื่อความอยู่รอดขององค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนก็คือ การสร้างศักยภาพขององค์กรที่เป็นมาตรฐานโลก (World Class)

องค์ประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่งในการสร้างศักยภาพในการแข่งขัน (Competitiveness) ดังกล่าว ก็คือ การทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในศาสตร์และศิลป์ของการบริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Manegement )

..................................

หมายเลขบันทึก: 458387เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท